Fitch ปรับลดเครดิตสหรัฐ ถึงเวลาตื่นตระหนก? 

Fitch ปรับลดเครดิตสหรัฐ ถึงเวลาตื่นตระหนก? 

หลังจากที่มีข่าวเรื่อง Fitch Ratings ปรับลดอันดับเครดิตระยะยาวของสหรัฐาก AAA เป็น AA+ เมื่อวันที่ 1 ส.ค.2023 ทำให้เกิดการวิจารณ์เป็นวงกว้างในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางการเงินระหว่างประเทศและในสังคมทั่วไป

ขณะนี้เหลือเพียง 9 ประเทศเท่านั้นที่มีเครดิตระดับ AAA โดย S&P Global Ratings, Fitch และ Moody's Investors Service ได้แก่ เยอรมนี เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ สวีเดน นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก สิงคโปร์ และออสเตรเลีย (แคนาดาได้รับการจัดอันดับ AAA โดยบริษัทจัดอันดับสองแห่ง)

ทำไม Fitch จึงปรับลดเครดิตสหรัฐ?

  1. สหรัฐมีมาตรฐานการกํากับดูแลที่ทรุดโทรมอย่างต่อเนื่องในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา 

  2. ความขัดแย้งทางการเมืองเรื่องเพดานหนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า  ซึ่งได้กัดเซาะความเชื่อมั่นในการจัดการการคลัง

  3. เหตุการณ์วุ่นวายโจมตีรัฐสภาเมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 2021  ทําให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ 

  4. รวมทั้งการแบ่งขั้วด้านการเมืองที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐ ทําให้รัฐบาลและสภาตกลงประเด็นนโยบายที่สําคัญได้ยากขึ้น

 

ฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีไบเดน ตำหนิว่าการปรับลดเครดิตของฟิทช์ทำโดยพลการ และไม่สมเหตุสมผล นายJamie Dimon, CEO of JPMorgan Chase ก็ออกมาตำหนิFitchอย่างรุนแรงเช่นกันว่าทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ 

การปรับลดอันดับเครดิตของ Fitch จะส่งผลเสียต่อสหรัฐอย่างไร?

  1. รัฐบาลสหรัฐฯจะยืมเงินในราคาแพงขึ้น เพราะการกู้ยืมต้องคำนวณถึงความเสี่ยง สิ่งนี้อาจนํา ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ทําให้กิจการเอกชนต่างๆและผู้บริโภคต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงขึ้น เช่นค่าผ่อนบ้าน เป็นต้น

  2. ความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจสหรัฐฯอาจลดลง เนื่องจากนักลงทุนอาจกังวลมากขึ้นกับความสามารถของประเทศในการจัดการการเงิน สิ่งนี้อาจทําให้การลงทุนและการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลง

  3. แรงกดดันทางการเมืองที่เพิ่มขึ้น การปรับลดเครดิตจะเพิ่มแรงกดดันทางการเมืองต่อรัฐบาลสหรัฐฯ ในการจัดการกับความท้าทายทางการคลังในระยะยาว สิ่งนี้อาจนําไปสู่การเจรจาที่ยากลําบากเกี่ยวกับการเพิ่มภาษีและการลดการใช้จ่าย ซึ่งอาจทําให้เศรษฐกิจไม่ราบรื่นอีก

 

โลกจะได้รับผลกระทบอย่างไร? 

  1. การปรับลดสินเชื่อของ Fitch มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบ 'อย่างจํากัดต่อเศรษฐกิจโลกในระยะเวลาอันใกล้'  อย่างไรก็ตามอาจมีผลกระทบระยะยาวบางอย่าง ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลสหรัฐฯจะตอบสนองอย่างไร

  2. หากอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นในสหรัฐ ต้นทุนของบริษัทเอกชนก็จะสูงขึ้น และผู้บริโภคต้องจ่ายมากขึ้น อาจนําไปสู่การชะลอตัวของการเติบโตทางเศรษฐกิจในสหรัฐ ซึ่งอาจส่งผลกระทบเป็นระลอกคลื่นผ่านเศรษฐกิจโลก

  3. ความต้องการสินทรัพย์ของสหรัฐฯน้อยลง เช่นพันธบัตรกระทรวงการคลัง อาจทําให้รัฐบาลสหรัฐฯยืมเงินได้ยากขึ้น และอาจทําให้มูลค่าของดอลลาร์ลดลง

  4. อาจทําให้ธุรกิจระดมทุนทำได้ยากขึ้นและอาจนําไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

อย่างไรก็ตามการปรับลดสินเชื่อของ Fitch ไม่น่าจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อเศรษฐกิจโลกในระยะเวลาอันใกล้ 

รัฐบาลสหรัฐฯยังคงมีอันดับความน่าเชื่อถือที่แข็งแกร่งมาก และนักลงทุนยังคงเต็มใจที่จะซื้อหนี้สหรัฐฯ 

การปรับลดเป็นสัญญาณเตือนว่ารัฐบาลสหรัฐฯจะต้องไม่ประมาท และต้องดําเนินการเพื่อจัดการกับความท้าทายทางการคลังในระยะยาว

หากรัฐบาลสหรัฐฯไม่ดําเนินการดังกล่าว การปรับลดของ Fitch อาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อเศรษฐกิจโลกในระยะยาว อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ความต้องการสินทรัพย์ของสหรัฐฯที่น้อยลงและความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น อาจทําให้การเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัว และมูลค่าของดอลลาร์ลดลง สิ่งนี้อาจส่งผลเสียต่อธุรกิจและผู้บริโภคทั่วโลก

การตื่นตระหนกในระยะแรกอาจเป็นเรื่องธรรมดาเพราะผู้ถูกเขย่าคือสหรัฐ ซึ่งเป็นผู้กำกับการใหญ่ของการเงินและการธนาคารของโลก 

แต่ความเชื่อมั่นในตลาดการลงทุนในสหรัฐและทั่วโลกก็น่าจะปรับตัวเข้าที่ได้ในเวลาอีกไม่กี่วัน ดูจากเหตุการณ์เช่นนี้ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อตอนปีค.ศ. 2011 เมื่อ S & P ลดเครดิตของสหรัฐฯเช่นกัน และในวันนั้นดัชนีหุ้นดาวโจนส์ร่วงลงกว่า 600 จุด แต่ต่อมาสถานการณ์ก็ดีขึ้นเรื่อยเรื่อย จนกลับมาปกติภายในปีค.ศ. 2013 

และครั้งนี้ปีค.ศ. 2023 วันที่ถูกปรับลดอันดับเครดิตดัชนีดาวโจนส์ร่วงเกือบ 300 จุด แต่วันถัดมาก็แทบไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง

เราควรติดตามผลกระทบจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ซึ่งถึงแม้ว่ายังดูเหมือนเป็นอุปสรรคเพียงเล็กน้อยต่อเศรษฐกิจสหรัฐ แต่สถานการณ์โลกด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจที่เปราะบาง โดยเฉพาะปัญหาลูกโซ่ช่วงโควิดต่อเนื่องมา ย้ำให้เห็นถึงความไม่ปกติ

มหาอำนาจทางเศรษฐกิจอื่นๆและกลุ่มประเทศบางส่วนอยู่ในระหว่างการพยายามปฏิรูประเบียบโลกโดยเฉพาะการเงินการธนาคารระหว่างประเทศให้เกิดความยุติธรรมมากขึ้น เหตุการณ์ครั้งนี้ซึ่งเกิดขึ้นกับสหรัฐาก็น่าจะเป็นจังหวะที่ดีให้เกิดความกระตือรือร้น หาทางเลือกขึ้นมาแข่งขันกับระบบปัจจุบันโดยเร็วที่สุด 

ระบบการเงินการธนาคารที่ทางตะวันตกเป็นผู้วางโครงสร้างไว้และได้เปรียบมาตลอด โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมานั้น กำลังอยู่ในระหว่างการถูกทดสอบและท้าทาย 

หากการแข่งขันไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้จากมหาอำนาจที่กำลังพัฒนา เราก็อาจจะต้องพิจารณาอย่างจริงจังว่า ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่จะนำเทคโนโลยีฟินเทคและการคำนวณระดับสูงมาเป็นเครื่องมือ ให้รัฐบาลและธุรกิจเอกชนรวมทั้งผู้บริโภคทั่วโลกใช้เคียงคู่กับระบบปัจจุบันครับ