ธปท.เปิดจดหมายเปิดผนึก แจง ‘เงินเฟ้อ’12เดือนสูงกว่าเป้าหมาย

ธปท.เปิดจดหมายเปิดผนึก แจง ‘เงินเฟ้อ’12เดือนสูงกว่าเป้าหมาย

ธปท.เปิดจดหมายเปิดผนึก เงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12เดือน เม.ย.-มี.ค.66 อยู่ที่ 5.86% ซึ่งสูงกว่าขอบบนของกรอบเป้าหมายนโยบายการเงินในปัจจุบัน คาดเงินเฟ้อ12 เดือนข้างหน้า ไตรมาส2 ถึง ไตรมาสแรกปีหน้า เงินเฟ้อจะกลับมาสู่กรอบที่ 2.6%

        ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดจดหมายเปิดผนึก เพื่อชี้แจงการเคลื่อนไหวของอัตราเงินเฟ้อทั่วไป เฉลี่ย 12 เดือนที่ผ่านมาสูงกว่าขอบบนของกรอบเป้าหมายนโยบายการเงิน ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีข้อตกลงร่วมกัน เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 

        โดยกำหนดให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ 1-3 เป็นเป้าหมายนโยบายการเงินด้านเสถียรภาพราคาสำหรับระยะปานกลาง และเป็นเป้าหมายสำหรับปี 2566

        รวมถึงระบุให้ กนง. มีจดหมายเปิดผนึกหากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนที่ผ่านมาหรือประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนข้างหน้าเคลื่อนไหวออกนอกกรอบเป้าหมาย นั้น

       เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2566 กระทรวงพาณิชย์ได้เผยแพร่ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของ เดือนมีนาคม 2566 อยู่ที่ร้อยละ 2.83 ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนที่ผ่านมา (เมษายน 2565 -มีนาคม 2566) อยู่ที่ร้อยละ 5.86 ซึ่งสูงกว่าขอบบนของกรอบเป้าหมายนโยบายการเงินในปัจจุบัน 

       อย่างไรก็ดีจากการประชุมวันที่ 29 มีนาคม 2566 กนง. ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนข้างหน้า(ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 ถึง ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 จะอยู่ที่ร้อยละ 2.6 ซึ่งอยู่ในกรอบเป้าหมาย

       ดังนั้นกนง. จึงขอเรียนชี้แจงถึง (1) ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนที่ผ่านมาสูงกว่า กรอบเป้าหมายนโยบายการเงิน (2) ระยะเวลาที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมาย

      และ (3) การดำเนินนโยบายการเงินเพื่อดูแลให้อัตราเงินเอทั่วไปกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในระยะเวลาที่เหมาะสม โดยมีรายละเอียด ดังนี้

      ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนที่ผ่านมาสูงกว่ากรอบเป้าหมายนโยบายการเงิน

       อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนที่ผ่านมาสูงกว่ากรอบเป้าหมายจากแรงกดดันด้านอุปทาน (cost-push inflation) เป็นสำคัญ โดยราคาพลังงานในประเทศปรับเพิ่มขึ้นตามราคาพลังงานและราคาสินค้โภคภัณฑ์โลกที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน 

       ทำให้อัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงานเฉลี่ย 12 เดือนที่ผ่านมาอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 20.06 ขณะเดียวกัน ราคาอาหารสดได้ปรับเพิ่มขึ้นทั้งจากราคาเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อสุกรที่มีราคาสูงขึ้นตามอุปทานที่ลดลงมากจากการเกิด

       โรคระบาดในช่วงต้นปี 2565 และราคาผักผลไม้ที่เพิ่มขึ้นตามอุปทานที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่แปรปรวน

        รวมถึงต้นทุนอาหารสัตว์และปุยที่อยู่ในระดับสูง ทำให้อัตราเงินเอหมวดอาหารสดเฉลี่ย 12 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ร้อยละ 7.74 ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ (demand-pull inflation) ปรับเพิ่มขึ้นบ้างตามเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัว ส่งผลให้การส่งผ่านต้นทุนไปยังราคาสินค้าและบริการอื่น ๆทำได้มากขึ้นแม้จะยังไม่สามารถส่งผ่านได้เต็มที่ โดยเป็นการส่งผ่านไปยังราคาอาหารสำเร็จรูปเป็นหลัก

        ทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ย 12 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ร้อยละ 2.70 

ระยะเวลาที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมาย

         จากการประชุมวันที่ 29 มีนาคม 2566 กนง. ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปได้ผ่านจุดสูงสุดในไตรมาส 3 ปี 2565 โดยได้ทยอยลดลงต่อเนื่องตามที่ประเมินไว้ และคาดว่าจะเริ่มกลับมาเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบเป้าหมายในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 จากแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปทานที่มีแนวโน้มลดลงตาม 

       (1) ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์โลกที่ปรับลดลง ประกอบกับฐานราคาพลังานที่สูงในปีก่อนหน้า และ (2) ราคาอาหารสดที่คาดว่าจะปรับลดลงตามต้นทุนอาหารสัตว์และราคาปุยที่ลดลงจากปัญหาด้านอุปทานที่มีแนวโน้มคลี่คลาย ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะทรงตัวอยู่ในระดับสูงอีกระยะหนึ่งตามการทยอยส่งผ่านต้นทุนที่อยู่ในระดับสูงในช่วงก่อนหน้าที่อาจทำได้มากขึ้นเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวในระยะต่อไป ก่อนทยอยปรับลดลงจากแนวโน้มต้นทุนที่ลดลง 

       นอกจากนี้ การทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายของอัตราเงินเฟ้อในระยะข้างหน้า สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางที่ยังคงยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมาย แสดงถึงความเชื่อมั่นว่านโยบายการเงินจะสามารถรักษาเสถียรภาพด้านราคาในระยะปานกลางได้

       อย่างไรก็ดี กนง. จะติดตามพัฒนาการของปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ อาทิ (1) แรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ที่อาจเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ซึ่งอาจเอื้อให้ผู้ประกอบการส่งผ่านต้นทุน

ได้มากขึ้นหรือเร็วขึ้น

      และ (2) การทยอยลดมาตรการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศ เพื่อรักษาเสถียรภาพ

ของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่รับภาระค่าไฟฟ้าแทนประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง

       ซึ่งจะส่งผลให้ราคาพลังงานในประเทศปรับลดลงช้ากว่าราคาพลังงนในตลาดโลก

      ทั้งนี้ กนง.จะติดตามและวิเคราะห์ความเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินนโยบายการเงินเป็นไปอย่างเหมาะสมและทันการณ์

การดำเนินนโยบายการเงินเพื่อดูแลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในระยะเวลาที่เหมาะสม

       ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายเพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคา

       ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน กนง. ประเมินว่า การทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังมีความเหมาะสมในบริบทปัจจุบัน เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มพื้นตัวได้ต่อเนื่อง ขณะที่เงินเฟ้อยังมีความเสี่ยงที่ต้องติดตามโดยเฉพาะจากแรงกดดันด้านอุปสงค์ที่อาจเพิ่มขึ้น 

       โดย กนง. พร้อมปรับขนาดและเงื่อนเวลาของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยหากแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อเปลี่ยนไปจากที่ประเมินไว้ นอกจากนี้ กนง. เห็นว่าควรดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้อย่างต่อเนื่อง

        รวมทั้งเห็นความสำคัญของการมีมาตรการเฉพาะจุดและแนวทางแก้ปัญหาหนี้อย่างยั่งยืน

       สำหรับกลุ่มเปราะบาง เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพระบบการเงินและไม่เป็นปัจจัยฉุดรั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า 

       ทั้งนี้ กนง. จะติดตามปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด เพื่อให้การดำเนินนโยบายการเงินสามารถสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

       ควบคู่กับการดูแลเสถียรภาพด้านราคาและเสถียรภาพระบบการเงินได้อย่างเหมาะสมตามข้อตกลงร่วมกันระหว่าง กนง. และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่30 พฤศจิกายน 2565 กนง. จะมีจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอีกครั้งใน 6 เดือนข้างหน้า หาก ณ เวลานั้นอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนที่ผ่านมาหรือประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนข้างหน้ายังคงเคลื่อนไหวออกนอกกรอบเป้าหมาย 

       ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับสาธารณชนเป็นการทั่วไป กนง. จะเผยแพร่สาระของหนังสือชี้แจงฉบับนี้ต่อสาธารณชนผ่านทาง website ของธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย