แบงก์ชาติ จับมือคลัง ‘ไกล่เกลี่ย’หนี้รายย่อย สกัดหนี้ครัวเรือนพุ่ง

แบงก์ชาติ จับมือคลัง ‘ไกล่เกลี่ย’หนี้รายย่อย สกัดหนี้ครัวเรือนพุ่ง

แบงก์ชาติ ร่วมกระทรวงการคลัง เปิดโครงการมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้รายย่อย หวังสกัดหนี้ครัวเรือน ช่วยช้อนลูกหนี้ที่มีปัญหา ก่อนไหลเป็นเอ็นพีแอล

     นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยที่ผ่านมา มีการฟื้นตัวอย่างชัดเจน จากการขยายตัวเป็นบวกติดต่อกัน 3 ไตรมาส  

       แต่หากดูการฟื้นตัวพบว่ายังไม่ทั่งถึง และมีลักษณะ เคเชฟ โดยเฉพาะลูกหนี้กลุ่มเปราะบาง ที่ยังไม่สามารถมีรายได้กลับมาเต็มที่ จึงเป็นความความท้าทาย และจำเป็นที่ต้องให้การช่วยเหลืออย่างตรงจุด ทันการณ์ เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวไม่ชะงัก หรือสะดุด

      ทั้งนี้ เพื่อให้การช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง ตรงจุด ทันการณ์ยิ่งขึ้น ธปท. ,กระทรวงการคลัง จึงร่วมกันจัดงาน “มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ : มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน” ในระยะ ที่ 2

     โดยจะเริ่ม 26 ก.ย.น- 30พ.ย. 2565 เป็นระยะเวลา 2 เดือน เพื่อเป็นช่องทางเจรจาไกล่เกลี่ยหนี้ ระหว่างลูกหนี้ที่ประสบปัญหาการชำระหนี้ และไม่ได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหนี้ 

      โดยธปท.ได้จับมือกับสมาคมสถาบันการเงินต่างๆ และชมรมของผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน ซึ่งล่าสุด มีสถาบันการเงินตอบรับเข้าร่วมแล้ว 56 ราย

      และคาดว่าจะเห็นสถาบันการเงิน และนอนแบงก์ เข้าร่วมมากขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งครอบคลุมหนี้จากสินเชื่อบัตรเครดิต, สินเชื่อส่วนบุคคล ,เช่าซื้อรถ ,จำนำทะเบียนรถ ,นาโนไฟแนนซ์

      รวมถึงสินเชื่อที่อยู่อาศัย กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ และสินเชื่อทุกประเภทของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยจะจัดงานมหกรรมสัญจร ทั้งในกรุงเทพฯ และภูมิภาคทั้ง 4 ภาคทั่วประเทศ โดยคาดว่าจะจัดระหว่างเดือน พ.ย. 2565 ถึงม.ค. 2566

หนี้ครัวเรือนพุ่ง

  นายรณดล กล่าวว่า หนี้ครัวเรือน เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขอย่างยั่งยืน และถือเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของไทยมานาน โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ที่เศรษฐกิจไทยถูกกระทบรุนแรงจากโควิด-19 ส่งผลหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 90 %หรือเพิ่มขึ้น 10% หากเทียบกับก่อนโควิด-19

     ทั้งนี้ หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ไม่ได้น่ากังวลทั้งหมด บางส่วนก่อให้เกิดการสร้างรายได้ สร้างอาชีพ เช่น สินเชื่อยานพาหนะ ฯลฯ แต่สินเชื่อที่กังวล คือสินเชื่อส่วนบุคคล ที่ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค ที่เป็นหนี้ระยะสั้น และมีภาระดอกเบี้ยสูง ดังนั้นการแก้หนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน จากปัญหาเชิงโครงสร้างที่สะสมมานาน ต้องดำเนินการให้ครบทั้งวงจร จากต้นน้ำ ถึงปลายน้ำ และอาศัยทุกภาคส่วน และคำนึงผลข้างเคียงรอบด้านด้วย

     ดังนั้นการแก้ไขหนี้ครัวเรือน ธปท.จึงให้ความสำคัญ กับการดูแลหนี้กลุ่มเปราะบาง ผ่าน 4 ด้านหลัก แก้หนี้เดิม ,เติมเงินใหม่ ,การให้คำปรึกษา และเสริมทักษะทางการเงิน เช่น การแก้หนี้เดิม การสนับสนุนการปรับโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืน ที่ปัจจุบันเข้าสู่การปรับโครงสร้างหนี้แล้ว 3.89 ล้านบัญชี หรือ 2.98 ล้านล้านบาท

     การเติมเงินใหม่ ที่ปัจจุบันมีการให้สินเชื่อใหม่ผ่านซอฟท์โลน สินเชื่อฟื้นฟูไปแล้ว 1.3 แสนราย หรือ 3.24แสนล้านบาท รวมถึงการปรับเงื่อนไขสินเชื่อฟื้นฟู เพื่อตอบโจทย์ภาคธุรกิจ ให้สามารถเข้าถึงสินเชื่อเพื่อเสริมศักยภาพ ผ่านสินเชื่อปรับตัว ที่จะเริ่มให้ได้ตั้งแต่ 5 ก.ย.เป็นต้นไป

      นอกจากนี้ การดูแลหนี้ครัวเรือนให้ครบวงจร ธปท.เตรียมจะออกแนวนโยบายการแก้ไขหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน เช่น หลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ (Responsibla lending) ในอนาคตด้วย และสุดท้ายสิ่งที่อยากเห็นคือโครงสร้างพื้นฐาน ที่เอื้อให้เกิดการแก้หนี้อย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องขับเคลื่อนให้ประสบความสำเร็จอย่างเร่งด่วนในระยะต่อไป

ปีนี้เป็นปีแห่งการแก้หนี้

    นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า การแก้หนี้ที่ยั่งยืน นอกเหนือจากการไกล่เกลี่ยและบรรเทาภาระหนี้ที่มีอยู่เดิมแล้ว สิ่งสำคัญคือการสร้างทักษะทางการเงิน และความรู้ในการประกอบอาชีพแก่ประชาชนรายย่อย เพื่อให้สามารถมีรายได้ที่เพียงพอและมั่นคง และสามารถบริหารจัดการทางการเงินต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม

     สำหรับสถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทยในปัจจุบันอยู่ในระดับสูง แต่รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้กำหนดให้ปี 2565 เป็นปีแห่งการแก้หนี้ครัวเรือน ตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี โดยการแก้ไขหนี้อย่างยั่งยืน

      ประกอบด้วย 3 ด้าน แก้ไขปัญหาหนี้สินที่มีอยู่เดิม ที่วันนี้แบงก์รัฐมีการช่วยผ่านมาตรการพักหนี้ไปแล้วราว 10 ล้านราย ราว 4.5-5 ล้านล้านบาท และมีลูกหนี้อยู่ระหว่างปรับโครงสร้างหนี้ 3.5 ล้านราย มูลหนี้ 1.3 ล้านล้านบาท และมีลูกหนี้เข้าข่ายขอรับความช่วยเหลืออีกราว 2 ล้านราย

      ส่วนการสร้างรายได้เพื่อลดปัญหาหนี้ครัวเรือนในระยะยาว และสุดท้ายคือ การสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการสร้างทักษะทางการเงิน โดยการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการสร้างทักษะทางการเงิน

หวังมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ช่วยลูกหนี้ฟื้น

    นางสาวสุวรรณี เจษฏาศักดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายและกำกับสถาบันการเงิน 2 ธปท. กล่าวว่า สถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทย พบว่ามาจากทั้ง การก่อหนี้เกิดตัว, ก่อหนี้เกินจำเป็น จากการก่อหนี้มาเพื่อใช้อุปโภคบริโภค และพบว่า 1 ใน 4 ของครัวเรือน มีรายได้ไม่เพียงพอชำระหนี้

      “นอกจากนี้พบว่า 2 ใน 3 ของหนี้ครัวเรือน ที่เพิ่มขึ้น มาจากจีดีพีที่หดตัว แต่ทั้งหมดนี้ธปท.ก็ยังกังวล เพราะ 1ใน 3 หนี้ครัวเรือนมาจากภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้น ส่วนแรกต้องยอมรับว่าจากมาตรการพักหนี้ ที่ทำให้หนี้สะสม และการเพิ่มสภาพคล่อง แต่ตอนแรกที่ธปท.ออกมาตรการ ก็มีการชั่งน้ำหนักแล้วว่า “จำเป็น” เพราะช่วงที่มีการล็อกดาวน์ สิ่งที่จำเป็นเร่งด่วน คือการพักหนี้ และการให้ครัวเรือนเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบได้ ดังนั้นมาตการเหล่านี้จำเป็น”

     อย่างไรก็ตาม แนวทางการดูแลหนี้ครัวเรือน เมื่อเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้น หน้าที่หลักของธปท.คือการดูแลให้ระบบเศรษฐกิจไม่สะดุด อีกด้าน ที่ต้องดูแล คือการดูแลเงินเฟ้อให้เหมาะสม เพราะเมื่อเศรษฐกิจฟื้นทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น ยิ่งทำให้ครัวเรือนที่มีรายได้น้อยกระทบ มากกว่ากลุ่มอื่นๆ ดังนั้นต้องดูแลภาระค่าใช้จ่ายครัวเรือนไม่มากเกินไปจนกระทบต่อการแก้หนี้

     ส่วนสุดท้าย คือ การแก้หนี้ที่ตรงจุด สอดคล้องสภาพปัญหาและมาตกรที่ใช้ได้จริง ดูแลกลุ่มเปราะบางได้ทันกาล โดยหลักการแก้หนี้ที่สำคัญ มี 4 ด้านหลัก คือการแก้หนี้ให้ตรงจุด และไม่ทำมาตรการแบบปูพรหม รวมถึง การออกมาตรการทั้งหลายจะต้องไม่สร้างภาระหนี้ให้ลูกหนี้ในอนาคต และไม่ทำให้การเข้าถึงสินเชื่อของประชาชนถูกบั่นทอน และจุดท้าย ต้องอาศัยการร่วมมือและตั้งใจจริงจากลูกหนี้และเจ้าหนี้

    “แม้ไม่มีมาตรากรไกล่เกลี่ยหนี้ เราก็เห็นเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น  จากสินเชื่อที่ไหลไปเป็นเอ็นพีแอล ส่วนใหญ่ติดต่อไม่ได้ ดังนั้นเราก็หวังว่าโครงการนี้จะช่วยทุกคนให้กลับมาได้ โดยเฉพาะลูกหนี้ที่ประสบปัญหา สิ่งที่เราคาดหวังคือการช้อนลูกหนี้ส่วนนี้กลับมาไม่ให้ไหลไปเป็นหนี้เสียเพิ่ม”