คริปโทฯ หนึ่งในสิ่งที่อิสราเอล 'กีดกัน' ปาเลสไตน์ ยึดเกือบ 190 บัญชีเกี่ยวโยง

คริปโทฯ หนึ่งในสิ่งที่อิสราเอล 'กีดกัน' ปาเลสไตน์ ยึดเกือบ 190 บัญชีเกี่ยวโยง

"คริปโทฯ" หนึ่งในสิ่งที่อิสราเอลเลือกใช้เป็นเครื่องมือในการ 'กีดกัน' ปาเลสไตน์ โดยยึดเกือบ 190 บัญชีไบแนนซ์ที่เกี่ยวโยงกับรัฐอิสลาม ซึ่งผู้มีอำนาจในอิสราเอลระบุว่า การยึดครั้งนี้เพื่อ “ขัดขวางกิจกรรม” และ “บั่นทอนความสามารถในการพยายามเข้าถึง”

เหตุโจมตีครั้งใหญ่ที่สุดของกลุ่มฮามาสต่ออิสราเอลในรอบหลายปี ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ทั้งในฝั่งอิสราเอล และปาเลสไตน์เสียชีวิตแล้วเกือบ 1,000 ราย ในจำนวนนี้มีคนไทย 2 คน เสียชีวิตตามการเปิดเผยของนายกรัฐมนตรีไทย และเข้าใจว่า "ถูกกักขัง" อีก 11 ราย แต่ยังไม่ได้รับรายงานว่าอยู่จุดไหนของอิสราเอล

เมื่อวันที่ 7 ต.ค.66 นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ประกาศว่า อิสราเอล “เข้าสู่สงครามแล้ว” และเตือนให้ประชาชนเร่งอพยพออกจากฉนวนกาซา

 

โดยความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล - ปาเลสไตน์คือ ส่วนหนึ่งของการต่อสู้ดิ้นรนอันยืดเยื้อยาวนานที่ดำเนินมาตลอดเวลาในโลกยุคใหม่ระหว่างชาวอิสราเอลกับชาวปาเลสติเนียน ซึ่งเริ่มขึ้นระหว่างกลางศตวรรษที่ 20

ทำให้มีการโต้ตอบกันระหว่าง 2 ขั้วมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหนักไปทาง"อิสราเอล" กีดกันเชื้อชาติปาเลสไตน์ในหลายรูปแบบ โดยใช้นโยบายกีดกันทางเชื้อชาติปฏิบัติต่อชาวปาเลสไตน์อย่างไร้มนุษยธรรม ทรมาน กักขัง และสังหารอย่างผิดกฎหมาย รวมไปถึงปฏิเสธสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์

ยึดบัญชีคริปโทฯ กีดกัน "ปาเลสไตน์"

หนึ่งในวิธีที่อิสราเอลเลือกใช้ คือ “คริปโทเคอร์เรนซี” กลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่อิสราเอลเลือกใช้เพื่อ “กีดกัน” รัฐอิสลาม ด้วยการยึดบัญชีคริปโทฯ ที่เชื่อมโยงกับรัฐอิสลามกว่า 190 บัญชี ซึ่งเป็นบัญชีของแพลตฟอร์มไบแนนซ์( Binance)

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวสำนักงานแห่งชาติ เพื่อต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (NBCTF) ของอิสราเอลเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2566 ได้ยึดบัญชีไบแนนซ์จำนวน 2 บัญชี และเนื้อหาในบัญชีบางส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งระบุว่าการยึดครั้งนี้มีขึ้นเพื่อ “ขัดขวางกิจกรรม” ของกลุ่มรัฐอิสลาม และ “บั่นทอนความสามารถในการพยายามเข้าถึงบริการด้านสินทรัพย์ดิจิทัล

ทั้งนี้ในเอกสารเผยแพร่ของ NBCTF ไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆ เกี่ยวกับมูลค่าของคริปโทฯ ที่ถูกยึด และวิธีในการเข้าถึงบัญชีของรัฐอิสลาม

ขณะเดียวกัน กระทรวงการคลังสหรัฐ เปิดเผยในรายงานเมื่อปีที่แล้วว่า กลุ่มรัฐอิสลามได้รับการบริจาคด้วยช่องทางคริปโทฯ  ซึ่งต่อมาได้แปลงเป็นเงินสด โดยเข้าถึงเงินทุนผ่านแพลตฟอร์มการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล แต่ทั้งนี้กระทรวงการคลังไม่ได้ระบุว่าแพลตฟอร์มใด

ทั้งนี้ภายในเอกสารของ NBCTF ได้มีการเปิดเผยบัญชีไบแนนซ์ที่เกี่ยวข้องกับรัฐอิสลาม 2 บัญชีที่ถูกยึดโดยอิสราเอล หนึ่งในนั้นคือ ชาวปาเลสไตน์วัย 28 ปีชื่อว่า Osama Abuobayda  และมีบัญชีไบแนนซ์เกือบทั้งหมด 189 บัญชีที่ถูกอิสราเอลยึดตั้งแต่เดือนธันวาคม 2564 และมี 3 แห่งเป็นเจ้าของโดยบริษัทแลกเปลี่ยนเงินตราของปาเลสไตน์

โดยรายชื่อบนเว็บไซต์ของ NBCTF ระบุว่า ทั้ง 3 รายนี้ถูกกำหนดโดยอิสราเอลว่าเป็น “องค์กรก่อการร้าย” เนื่องจากถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการโอนเงินกับกลุ่มฮามาส ซึ่งปกครองดินแดนปาเลสไตน์ในฉนวนกาซา

เมื่อเดือนก.พ.2566 ทาง NBCTF ระบุว่าได้ยึดคริปโทฯ มูลค่ากว่า 5 แสนนิวเชเกล หรือประมาณ 1.37 แสนดอลลาร์ จากบัญชีไบแนนซ์ มากกว่า 80 บัญชีที่เป็นของบริษัทในฉนวนกาซาทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ Al Mutahadun For Exchange, Dubai Company for Exchange และ Al Wefaq Co. For Exchange โดยระบุว่าบัญชีดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของ “องค์กรก่อการร้าย” หรือใช้สำหรับ “อาชญากรรมก่อการร้ายขั้นรุนแรง” ซึ่งอิสราเอลกำหนดให้ Al Mutahadun ให้เป็น “องค์กรก่อการร้าย” ในเดือนพ.ค.2021

ทำให้ฝ่ายติดอาวุธของฮามาสกล่าวในเดือนมี.ค.2566 ว่าจะหยุดรับเงินเป็น “บิตคอยน์”หลังจากมีกิจกรรม “ไม่เป็นมิตร” ต่อผู้บริจาคเพิ่มมากขึ้น

 

อ้างอิง reuters 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์