เปิดกลยุทธ์ Starbucks ชู NFT สร้าง brand loyalty ราคาสูงลิ่ว

เปิดกลยุทธ์ Starbucks ชู NFT  สร้าง brand loyalty ราคาสูงลิ่ว

เปิดกลยุทธ์ Starbucks ชู NFT สร้าง brand loyalty ราคาสูงลิ่ว กวาดรายได้มูลค่ารวมหลักสิบล้าน จากที่ในปีนี้มีการออกคอลเลคชั่น NFT ติดต่อกันถึง 3 ครั้ง โดยใช้เทคโนโลยี Web3 ทำให้ Starbucks สามารถเพิ่มการมีส่วนร่วมของสมาชิกได้มากขึ้น

ร้านกาแฟชื่อดังระดับโลกอย่าง Starbucks ได้เปิดตัว NFT ถึง 3 ครั้งในปีเดียวกัน และได้รับกระแสตอบรับในระดับที่เรียกว่าดี กวาดรายได้หลักสิบล้านบาท ซึ่งราคาของ NFT ถือว่ามีราคาสูงพอสมควร ทั้งราคาเปิดและราคาในตลาดรอง  

ในเดือนมีนาคม 2566 ได้เปิดตัว คอลเลคชั่น “The Siren Collection ” โดยจำหน่ายแสตมป์ 2,000 ดวงราคาดวงละ 100 ดอลลาร์  มีมูลค่ารวมกว่า 7 ล้านบาท ซึ่งคอลเลกชันนี้ขายหมดภายใน 18 นาที และยอดขายในตลาดรองก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้นถึง 379 ดอลลาร์เลยทีเดียว

ถัดมาในเดือนเมษายน ก็ได้เปิดตัว “The Starbucks First Store Collection ” ซึ่งเป็นชุดสะสมแสตมป์5,000 ฉบับ ราคาชุดละ 99 ดอลลาร์ มีมูลค่ารวมกว่า 17.3 ล้านบาท ต่างจากคอลเลคชั่นก่อนหน้าที่Starbucks ไม่สามารถขายคอลเลกชัน NFT ล่าสุดได้หมด

จาก 5,000 ชิ้น มียอดขายเพียง 4,579 ชิ้นเท่านั้น ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากคอลเลคชัน Siren ก่อนหน้านี้ที่ขายหมดภายในเวลาไม่ถึง 20 นาที

และคอลเลคชั่นล่าสุด คือ  “Aku Adventure” ที่สร้างขึ้นร่วมกับอดีตผู้เล่นเมเจอร์ลีกเบสบอล Micah Johnson ตอนนี้ยังไม่ได้มีการประกาศรายละเอียดราคาและการเปิดพรีเซลล์ แต่เผยว่าจะมีการบริจาค 100,000 ดอลลาร์ให้กับ Blessings in a Backpack ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรเพื่อแก้ปัญหาความไม่มั่นคงด้านอาหารของเด็ก

จุดเริ่มต้น NFT 

Starbucks ตัดสินใจตบเท้าเข้าสู่โลก Web3 ด้วยการร่วมมือกับ Polygon บริษัทเทคโนโลยีบล็อกเชน เปิดตัว “Starbucks Odyssey” ระบบ Rewards ที่ให้สมาชิกสามารถซื้อและสะสมแสตมป์ Starbucks ในรูปแบบของ NFT ที่มีสิทธิพิเศษมากมาย

การเป็นพันธมิตรกับ Polygon ทำให้ Starbucks มีศักยภาพในด้านบล็อกเชนมากยิ่งขึ้นซึ่ง Starbucks Odyssey เข้ามาขยายขอบเขตการสะสมรางวัล โดยสิทธิพิเศษนี้สมาชิกผู้ถือบัตร Starbucks ทุกคนมีสิทธิ์เข้าร่วมทั้งหมด (รวมถึงพนักงาน Starbucks ในสหรัฐฯ อีกด้วย) 

Starbucks Odyssey จะมาเปลี่ยนประสบการณ์ ขยายระบบการสะสมรางวัลให้ไร้ขอบเขตมากยิ่งขึ้นด้วยการนำ NFT มาดัดแปลงเป็นแสตมป์สะสมแทน ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่กาแฟเท่านั้นที่คุณจะแลกฟรีได้ แต่ยังเป็นสินค้าในแบรนด์ Starbucks, ผลงานที่ได้ไปคอลแลปกับศิลปินมากมาย หรือตั๋วเข้าชมงานอีเวนท์สุดพิเศษ ยกตัวอย่างคร่าว ๆ 

เช่น ทริปทัวร์โรงคั่วกาแฟของ Stackbucks ที่ Starbucks Reserve Roasteries หรือเป็น ทริปตะลุคอสตาริกา รับชมบริษัทเมล็ดกาแฟสุดพรีเมียม

และ Starbucks Odyssey ยังช่วยให้ทางแบรนด์เข้าถึงลูกค้าได้ง่ายขึ้นด้วยกิจกรรม, เกมเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ถ้าลูกค้าเข้าร่วมก็จะได้รับ NFT ไปสะสมแต้มกันเพื่อไปแลกของรางวัล เรียกได้ว่าเป็นการพัฒนาที่ Win-win สำหรับทั้ง 2 ฝ่ายได้เลย

NFT ของ Starbucks Odyssey

NFT แต่ละอันของ Starbucks Odyssey มีความหายากที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นในแต่ละNFT จึงจะมีแต้มไม่เท่ากัน ซึ่งผู้ถือ NFT จะสามารถซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยน NFT กันได้อย่างเสรี โดย Artwork ประกอบ NFT แต่ละตัวจะมีทั้ง Starbucks รังสรรค์เองและจากทางศิลปินชื่อดังอื่น ๆ

และสิ่งที่เป็นข้อดีมากที่สุดก็คือ ไม่ต้องใช้ คริปโทเคอร์เรนซี ในการซื้อ NFT นี้ โดยสามารถใช้การตัดเงินผ่านบัตรเครดิตได้เลย และรายได้ส่วนหนึ่งจากการซื้อ NFT จะนำไปบริจาคให้กับองค์กรหรือมูลนิธิอื่น ๆอีกด้วย