มาร์เก็ทแคป USDC วูบหมื่นล้านดอลลาร์ เซอร์เคิล มุ่งหาพันธมิตรธนาคารระดับโล

มาร์เก็ทแคป USDC วูบหมื่นล้านดอลลาร์   เซอร์เคิล มุ่งหาพันธมิตรธนาคารระดับโล

แม้ว่าราคาสเตเบิลคอยน์ USDC ของ Circle จะกลับมามีราคาเคลื่อนไหวคงที่ 0.9999 - 1 ดอลลาร์ ต่อ 1 เหรียญแล้วก็ตาม แต่ข้อมูลตามดัชนีคอยน์มาเก็ทแคปยังคงเห็นการไถ่ถอนเป็นจำนวนมาก

เนื่องจากมูลค่าตลาดของเหรียญลดลงเหลือประมาณ 32.5 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งลดลงประมาณ 10,000 ล้านดอลลาร์ ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา และลดลงเกือบ 1 พันล้านดอลลาร์ จากวันที่ 1 ม.ค. 66 ที่มีมาร์เก็ทแคปอยู่ที่ 44 พันล้านดอลลาร์

Steven Zheng ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของ The Block กล่าวว่า “ดูเหมือนว่าเหตุการณ์ในช่วงต้นเดือนมีนาคมได้ทำลายความเชื่อมั่นของนักลงทุนและนักเทรด crypto แม้ว่า Circle จะเสนอการไถ่ถอนเต็มจำนวนโดยไม่มีความล่าช้าสำหรับ USDC ก็ตาม

ปัจจุบัน สเตเบิลคอยน์ USDC อยู่ในอันดับที่ 5 ของดัชนีคอยน์มาร์เก็ทแคป ไม่นานหลังจากเกิดปัญหาเกี่ยวกับสเตเบิลคอยน์ของเซอร์เคิลเมื่อต้นเดือนมีนาคม หลังมีข่าวว่าบริษัทมีเงินทุนสำรอง 3.3 พันล้านดอลลาร์ติดอยู่ในธนาคาร Silicon Valley (SVB) ที่ถูกปิดตัวลงเนื่องจากปัญหาสภาพคล่อง ซึ่งนำไปสู่การหลุด peg ของเหรียญ USDC ที่ตรึงมูลค่าไว้กับสกุลเงินดอลลาร์

บริษัทมองไปยังอนาคตในอุตสาหกรรมคริปโท รองประธานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Circle กล่าวว่าบริษัทกำลังพิจารณาเหตุการณ์ล่าสุดและมุ่งเน้นไปที่การมี “พันธมิตรด้านการธนาคารที่แข็งแกร่งระดับโลกมากขึ้น

กู้สถานการณ์หลังวิกฤต 'ธนาคารล้ม'

หลังจากการล่มสลายของ SBV บริษัทได้ประกาศความร่วมมือด้านการธนาคารครั้งใหม่กับ Cross River และการขยายความสัมพันธ์ร่วมกับ BNY Mellon พร้อมเผยว่าปัจจุบัน บริษัทถือหุ้น 80% ของทุนสำรองและคลัง

 ท้ายที่สุดแล้ว บริษัทต้องการเก็บเงินสดทั้งหมดไว้กับเฟด และใช้ช่องทางการชำระเงินให้กับเฟด ซึ่งทำให้บริษัทเลิกพึ่งพาพันธมิตร TradFi (Traditional Finance)

ทั้งนี้ บริษัทไม่มีแผนที่จะย้ายสำนักงานใหญ่ ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา และพูดถึงภาพรวมด้านกฎระเบียบของสหรัฐฯ ว่าเป็นไปอย่างลื่นไหล

และได้อัปเดทสถานะของบริษัทในสิงคโปร์และไต้หวัน ท่ามกลางเทรนด์ของอุตสาหกรรมคริปโทที่กำลังเปลี่ยนผ่าน จึงต้องมองหาพื้นที่ตลาดที่เอื้ออำนวย ซึ่งหลายๆบริษัทตั้งเป้าหมายไปที่สิงคโปร์มากขึ้น จากนโยบายที่เป็นมิตรกับอุตสาหกรรมคริปโท ในแง่ของกฎระเบียบและโอกาสในการสร้างสรรค์นวัตกรรม  

ในทางกลับกัน สหรัฐฯ ได้ปราบปรามอุตสาหกรรมคริปโท ด้วยการบังคับใช้กฎระเบียบที่เข้มงวดนั้นสร้างช่องว่างให้กับประเทศอื่นๆที่เข้ามาหนุนในตลาดคริปโทสดใสมากขึ้น