สรุปเรื่องราว 'FTX' ตัวป่วนตลาด 'คริปโท' วงการห่วง ซ้ำรอย 'LUNA'

สรุปเรื่องราว 'FTX' ตัวป่วนตลาด 'คริปโท' วงการห่วง ซ้ำรอย 'LUNA'

วิกฤติความเชื่อมั่นที่มีต่อตลาดคริปโทเคอร์เรนซียังไม่ทันคลี่คลายดี จากเหตุการณ์การล่มสลายของเหรียญ "สเตเบิลคอยน์ LUNA" ในช่วงเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา ทำให้มีผู้คนบนโลกใบนี้สูญเสียเงินลงทุนไปจำนวนมาก ล่าสุดฝันร้ายนี้กำลังกลับมาเยือนผู้ลงทุนในตลาดคริปโทอีกครั้ง

เวลานี้นักลงทุนในตลาดคริปโทเคอร์เรนซีคงไม่มีใครไม่รู้จัก Sam Bankman-Friend ผู้ก่อตั้ง FTX และ Alameda research ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มเทรดคริปโทเคอร์เรนซีที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจาก Binance

ช่วงที่ผ่านมา Sam พยายามแอ็คทีฟตัวเองขึ้นมาจนกลายเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการคริปโท เขาประสบความสำเร็จอย่างสูงจากการลงทุนในโปรเจกต์ Solana จนเคยมีมูลค่าสูงแตะระดับ 14,500 ล้านดอลลาร์ ติดทำเนียบมหาเศรษฐีในแวดวงคริปโทเคอร์เรนซี

สรุปเรื่องราว 'FTX' ตัวป่วนตลาด 'คริปโท' วงการห่วง ซ้ำรอย 'LUNA'

นอกจากนี้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา FTX ภายใต้การบริหารของ SAM ได้ทุ่มเทอย่างมากเพื่อเป็นผู้นำในการระดมทุนครั้งใหญ่สำหรับเหรียญคริปโทในโปรเจกต์ใหม่ๆ อย่าง Aptos กับ Sui และแม้การล่มสลายของเหรียญ LUNA จะทำให้ตลาดคริปโทเกิดความโกลาหนครั้งใหญ่ แต่ Sam ยังดำเนินการขยายธุรกิจเชิงรุกได้ตามแผน ท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่เอื้ออำนวยนัก แต่เบื้องลึกเบื้องหลังของ FTX กลับมีรอยร้าวปรากฎขึ้นอย่างช้าๆ ท่ามกลางธุรกิจที่ดูเหมือนจะราบรื่น

วิกฤตฟองสบู่งบดุลของ Alameda และการเสกเหรียญ FTX

แต่สำนักข่าวคอยน์เดส(Coindesk) ได้ตีแผ่บทความที่เผยแพร่งบดุลของ Alameda ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ FTX โดยงบแสดงฐานะการเงินของ Alameda ณ วันที่ 30 มิ.ย.2565 พบว่า มีสินทรัพย์ทั้งหมดอยู่ที่ 14,600 ล้านดอลลาร์ และมีหนี้สินอยู่ 7.4 พันล้านดอลลาร์ มองผิวเผินอาจดูไม่มีอะไร แต่เมื่อเจาะดูไส้ในกลับพบว่า สินทรัพย์กว่า 1 ใน 3 อยู่ในรูปของเหรียญ FTT หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 5.8 พันล้านดอลลาร์

ประเด็นนี้ทำให้นักวิเคราะห์ตลาดคริปโท เริ่มออกมาตั้งข้อสังเกต โดย ‘คอรี คลิปสเทน’ ซีอีโอ ของ Swan.com ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการทางการเงินได้อธิบายถึงความกังวลบางประการเกี่ยวกับงบดุลของ Alameda ว่า “กำไรสุทธิในธุรกิจ Alameda คือ โทเคนFTT ที่บริษัท FTX เป็นผู้ควบคุม ที่เป็นการสร้างเหรียญขึ้นมา”

อย่างไรก็ตามบุคคลที่ทำให้ทุกสายตาต้องหันมาจับจ้อง FTX มากขึ้น ก็คือ “จาง เผิงเจ้า” หรือ “CZ” ซีอีโอของ“ไบแนนซ์” แพลตฟอร์มซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีอันดับหนึ่งของโลก ซึ่ง CZ ได้ ในวันที่ 7 พ.ย.65 ได้ตัดสินใจเลิกการถือครองเหรียญ FTT ที่มีอยู่ทั้งหมดทิ้ง ได้สร้างความตื่นตระหนกกับผู้ถือเหรียญ FTT จำนวนมาก จนราคาเหรียญร่วงลงรุนแรง

ท่ามกลางความโกลาหนที่เกิดขึ้น วันถัดมาไบแนนซ์ได้ตัดสินใจลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนง เพื่อซื้อแพลตฟอร์ม FTX Trading ซึ่งฝั่งบริษัท FTX ยอมรับว่า กำลังเผชิญกับวิกฤตสภาพคล่องและได้ตกลงทำธุรกรรมกับไบแนนซ์ ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบสถานะ 

ดีลไม่ดันเหตุงบดุลFTXซับซ้อน

ความปั่นป่วนที่เกิดขึ้นกับ FTX พร้อมข่าวลือเรื่องการล่มสลายของ FTX ที่เริ่มขยายวงกว้างออกไปมากขึ้น วานนี้ (10 พ.ย.65) ไบแนนซ์ระบุว่าจะไม่ดำเนินการตามข้อตกลงดังกล่าวแล้ว ตามหนังสือแสดงเจตจำนงที่ไม่มีผลผูกพันเมื่อวันที่ 8 พ.ย. ซึ่งอนุญาตให้บริษัทเข้าซื้อกิจการ FTX ได้อย่างเต็มที่ หรือดำเนินการซื้อสินทรัพย์บางส่วน หรือ“ถอนตัวจากข้อตกลง”

จากการตรวจสอบการวิเคราะห์สถานะของบริษัท FTX เกี่ยวกับเงินทุนของลูกค้าที่ผิดพลาดและการสอบสวนของหน่วยงานที่ถูกกล่าวหาของสหรัฐฯ ไบแนนซ์จึงตัดสินใจว่าจะไม่ดำเนินการตามข้อตกลงกับ FTX.com

นักวิเคราะห์มองคล้ายวิกฤต Luna

นักวิเคราะห์ในวงการคริปโทมองว่า มีหลายอย่างที่สะท้อนถึงวิกฤติของ Celsiusและ Three Arrows ที่เกิดขึ้นเมื่อหลายเดือนก่อน

นายสัญชัย ปอปลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คริปโตมายด์ แอดไวเซอรี่ จำกัด เปิดเผยว่า ทราบกันดีว่าการเก็บสินทรัพย์ดิจิทัลบนแพลตฟอร์มใดก็ตามไม่มีอะไรปลอดภัย 100% ซึ่งในปีนี้มีเหตุการณ์มากมายที่เป็นอุทาหรณ์ให้กับวงการคริปโท ทั้ง Luna, Celsius และ Three Arrows ควรนำสินทรัพย์ออกมาไว้ที่ปลอดภัย ทำให้ใน 7 วันที่ผ่านมา มีเงินจำนวน 925 ล้านดอลลาร์ถูกโอนออกจาก FTX เพื่อความปลอดภัย

บทเรียนแพลตฟอร์มคริปโท

ถือบทเรียนครั้งใหญ่ของ FTX ในเรื่องการบริหารจัดการสินทรัพย์ด้วยการนำเหรียญ FTT เข้ามา ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ของตัวเองที่สามารถสร้างเหรียญ หรือ MintToken ขึ้นได้อยู่เสมอ

ทั้งนี้เหรียญอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่บนงบดุลของ Alameda อย่าง SOL ของ Solana ปรับตัวลดลง 21.01% เคลื่อนไหวที่ 569.60 บาท และSerum(SRM) ปรับตัวลดลง 13.45% ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา เคลื่อนไหวที่ 13.77 บาท (ราคา ณ เวลา 15.00น. วันที่ 10 พ.ย.65)