วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง Weekly Strategy รอลุ้นผลประชุมเฟดและจับตาประเด็นการเมืองในประเทศ

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง Weekly Strategy รอลุ้นผลประชุมเฟดและจับตาประเด็นการเมืองในประเทศ

ทางเทคนิค คาด SET Index เคลื่อนไหว อ่อนตัว แนวรับ 1,325/1,318 จุด ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 1,340/1,345 จุด หลังจากตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯ เดือน พ.ค. สูงกว่าคาด ส่งผลลบต่อตลาดการเงินโลกวันศุกร์

โดยตลาดหุ้นสหรัฐฯ และตลาดหุ้นยุโรป ปิดลบ และยิลด์พันธบัตรสหรัฐฯ รวมถึง ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ กลับมาปรับสูงขึ้นอย่างมีนัย ภาพระยะยาวและระยะสั้นทางเทคนิค ยังคงอยู่ในแนวโน้มขาลง หลังจากทำสถิติต่ำสุดใหม่ (New Low) นับตั้งแต่วันที่ 10 พ.ย. 2020 ที่ 1,325.71 จุด เมื่อวันพฤหัสฯ ที่ผ่านมา โดยแนวรับสำหรับลุ้นรีบาวนด์อยู่ที่ 1,318 จุด หรืออาจลงไปได้ถึง 1,300 จุด แนะนำรอซื้อเก็งกำไร เมื่อเกิดสัญญาณกลับตัวทางเทคนิค (Higher High และ Higer Low) ส่วนการลงทุนระยะยาวในด้านปัจจัยพื้นฐาน แนะนำ สะสมเมื่ออ่อนตัว

ประเด็น Event สำคัญ วันนี้

TH/การเมือง: เราคาดว่าจะเป็นโมเมนตัมเชิงบวกต่อตลาด หากนายกฯ เศรษฐา ไม่ขออนุญาตเลื่อนยื่นคำชี้แจงออกไปอีก 15 วัน เหมือนกรณีพรรคก้าวไกล กรณี 40 สว. ยื่นถอดถอนนายกฯ เศรษฐา กรณีแต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีบนคาดการณ์ว่าโอกาสที่นายกฯ เศรษฐา ชนะคดี มีความเป็นไปได้สูงขึ้น อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงของการเกิดสูญญากาศทางการเมืองในอนาคตจะเกิดขึ้น หากศาลฯ มีคำพิพากษาให้ถอดถอนนายกฯ

Holiday (เทศกาล Dragon Boat Festival) ตลาดหุ้นปิดทำการ ได้แก่ จีน HK ไต้หวัน ส่วนตลาดหุ้นออสเตรเลียปิด เนื่องในวัน Kings’s Birthday

US: หุ้น NVIDIA เริ่มซื้อขายด้วยพาร์ใหม่ (Split พาร์ จาก 10 หุ้น เป็น 1 หุ้น) และ Apple จัดงาน Apple’s Worldwide Developers Conference แบบออนไลน์ (จนถึงวันที่ 14 มิ.ย.) คาดว่าจะมีการเปิดเผยเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ AI

 

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง Weekly Strategy รอลุ้นผลประชุมเฟดและจับตาประเด็นการเมืองในประเทศ

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง Weekly Strategy รอลุ้นผลประชุมเฟดและจับตาประเด็นการเมืองในประเทศ

 

 

Weekly Strategy:

มุมมองต่อ SET Index อิงจาก Market risk premium ขึ้นมาที่ 4.44% สูงกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 90 วันที่ 4.38% สะท้อน “มูลค่าตลาดหุ้นไทยอยู่ในจุดที่คุ้มค่าความเสี่ยง” (Figure 1) แนะนำ “ซื้อ” เนื่องจากดัชนีปรับตัวลงมาต่ำกว่า 1,345 จุด (ซึ่งเป็นจุดที่ให้ MRP สูงกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 90 วัน ที่ 4.37%) โดยแนะนำหุ้นที่ได้อานิสงส์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ และการฟื้นตัวของ GDP ไทย แนะนำ ซื้อ CK BEM CPALL

เราประเมินว่า “ผลตอบแทนอยู่ในจุดที่คุ้มค่าความเสี่ยง” อิงจากการปรับประมาณการกำไรสุทธิของดัชนี SET (12M Rolling Estimated) ยังอยู่ในทิศทางฟื้นตัวต่อเนื่อง +0.23% WoW มาที่ 96.93 บาท/หุ้น ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน สวนทางกับ ดัชนี SET ที่ปรับตัวลงมาต่ำกว่า 1,338 จุด อันเนื่องมาจากกระแสเงินทุนต่างชาติที่ยังคงไหลออก (-7.8 พันล้านบาท WoW) มีนัยถึงนักลงทุนต่างชาติยังกังวลกับความเสี่ยงภายในประเทศ (เสถียรภาพการเมืองและการก่อหนี้ภาครัฐ) ทั้งนี้ ปัจจัยดังกล่าว (SET 2024E EPS ที่เพิ่มขึ้น แต่สวนทางกับดัชนีตลาดฯ ที่ปรับลง) ทำให้อัตราผลตอบแทนตลาดหุ้นไทย (Earnings yield) ปรับสูงขึ้นมาที่ 7.24% (Vs 7.16% ในสัปดาห์ก่อน) หรืออีกนัยหนึ่ง คือ ระดับ Forward PER ของไทย ลงมาอยู่ที่ระดับต่ำสุดรอบ 4 ปี ที่ 13.8 เท่า (Figure 2)

 

ความคาดหวังมาตรการภาครัฐฯ หากเข้ามายกระดับ Nominal GDP ฟื้นตัวได้ จะทำให้กนง. มีทางเลือกในการคงดอกเบี้ยมากขึ้น 

หากพิจารณาภาพระยะทางข้างหน้า ความคาดหวังเศรษฐกิจไทยฟื้นตัว จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กนง. อาจพิจารณาคงอัตราดอกเบี้ยไว้ก่อน เนื่องจากเริ่มเล็งเห็นสัญญาณเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวชัดเจนขึ้น หลังรัฐบาลเร่งรัดเบิกจ่ายเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ โดย ณ เดือน พ.ค. การเบิกจ่ายงบลงทุนเร่งตัวขึ้นมาที่ 1.04 แสนล้านบาท (Vs การเบิกจ่ายสะสม 1.16 แสนล้านบาท ในช่วงเดือน ต.ค. 2023–เม.ย. 2024 หรือเฉลี่ยเดือนละ 1.66 หมื่นล้านบาท) ทำให้การเบิกจ่ายสะสม 8 เดือนที่ผ่านมา ขึ้นมาอยู่ที่ 2.2 แสนล้านบาท คิดเป็น 25.9% ของรายจ่ายลงทุนทั้งหมด (8.5 แสนล้านบาท) ดังนั้น ในช่วงท้ายของปีงบประมาณ (เดือน มิ.ย.-ก.ย. 2024) รัฐบาลมีแนวโน้มเร่งเบิกจ่ายงบลงทุนที่เหลืออีกกว่า 6.3 แสนล้านบาท (74.1% ของรายจ่ายลงทุน) ทั้งนี้ ดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจไทยในช่วง 2Q24 เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวสอดคล้องกัน ซึ่งจะช่วยหนุนให้ Nominal GDP ฟื้นตัวขึ้นมาตามเป้าหมายของธปท. ที่ 3.2% (Vs ปัจจุบัน 1.67%) (อิงคาดการณ์ธปท. ประเมิน 2024 GDP อยู่ที่ 2.6% YoY และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ 0.6% YoY) ซึ่งจะผลักดันให้ส่วนต่าง Nominal GDP เทียบ Policy rate กลับเข้าสู่โซนบวกที่ +0.70% (Vs -0.81%)

ปัจจัยดังกล่าว “เมื่อพิจารณาควบคู่กับถ้อยแถลงของผู้ว่าธปท. ที่มองว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งที่อ่อนไหวต่ออัตราดอกเบี้ย โดยอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันเป็นระดับที่สนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจแล้ว (Robust policy)” จึงทำให้ เรามองว่ากนง. มีโอกาสสูงที่จะฝืนคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2.5% ในการประชุม วันที่ 12 มิ.ย. แต่อย่างไรก็ตาม เราจะยังไม่ปิดทางเลือกในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของปี 2024 ลง หากมีความเสี่ยงที่ชัดเจนมากขึ้นว่า GDP ปี 2024 มีแนวโน้มเติบโตต่ำกว่าประมาณการ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มุมมองอัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนเข้าสู่การปรับลดลงอีกครั้งได้ในช่วง 2H24

ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ:

JP: ผลสำรวจต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ เดือน พ.ค. โดย Consensus คาดว่า Eco. Watchers Survey Current จะลดลงเป็น (Vs เดือน เม.ย. 47.4) และมุมมองต่อแนวโน้ม Outlook เดือน พ.ค. คาดดีขึ้นเป็น (Vs เดือน เม.ย. 48.5)

กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ หุ้นที่มีประเด็นข่าวเชิงบวก ได้แก่ BEM CK CPALL

Strategic daily picks

BEM    ปิด 7.70 บาท/แนวรับ 7.20 บาท แนวต้าน 8.25 บาท
บริษัทคาดรายได้ปี 2024 จะอยู่ที่ 1.8 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% YoY หลัก ๆ มาจากธุรกิจขนส่งมวลชน สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มนั้น บริษัทคาดว่าศาลน่าจะมีคาพิพากษาเรื่องการเปิดประมูลออกมาในเดือน มิ.ย.-ก.ค. 2024 ซึ่งหากรัฐบาลไม่มีข้อสงสัย ก็น่าจะสามารถเซ็นสัญญาได้ภายใน 4Q24 ทั้งนี้ Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธิปี 2024 ที่ 3.91 พันล้านบาท (+12.28% YoY) และมูลค่าเหมาะสมที่ 10.40 บาท

CK    ปิด 20.50 บาท/แนวรับ 20.00 บาท แนวต้าน 21.60 บาท

ปัจจุบันมีปริมาณงานในมือ (Backlog) เฉลี่ยราว 1.3 แสนล้านบาท ซึ่งในเบื้องต้นคาดว่าจะสามารถสร้างรายได้เฉลี่ยต่อปีกว่า 3.6 หมื่นล้านบาท พร้อมกันนี้ยังมีโครงการที่บริษัทในเครือ อาทิ BEM ที่จะสามารถส่งต่องานให้กับ CK รวมมูลค่าราว 2 แสนล้านบาท ทั้งนี้ Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธิปี 2024 ที่ 1.85 พันล้านบาท (+23.25% YoY) และมูลค่าเหมาะสม 26.83 บาท

CPALL   ปิด 58.00 บาท/แนวรับ 56.00 บาท แนวต้าน 59.50 บาท

KTX คาดยอดขายธุรกิจค้าปลีกร้านสะดวกซื้อปี 2024E โต 6.5% เป็น 4.26 แสนล้านบาท ภายใต้สมมติฐาน SSSG 4.1% (1Q24 +4.9%) การขยายสาขาร้านสะดวกซื้อเพิ่ม 5% YoY เป็น 15,377 สาขา ณ สิ้นปี 2024E และคาดอัตรากำไรขั้นต้นจากการขายเพิ่มเป็น 28.6% จาก 28.2% ในปี 2023 ทั้งนี้ KTX ประเมินมูลค่าเหมาะสม 60.94 บาท ด้วยอัตราผลตอบแทนคาดหวัง 4.23%

 

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง Weekly Strategy รอลุ้นผลประชุมเฟดและจับตาประเด็นการเมืองในประเทศ