วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ Rubber Industry - EUDR ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมยางไทย

วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ Rubber Industry - EUDR ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมยางไทย

สหภาพยุโรปได้อนุมัติ EU Deforestation Regulation (EUDR) ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 30 ธันวาคม 2567 ซึ่งภายใต้ข้อบังคับดังกล่าว ผู้ประกอบการ หรือ ผู้ค้าที่ขายสินค้าโภคภัณฑ์ที่กำหนดในตลาด EU หรือ ส่งออกจาก EU

จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าสินค้าดังกล่าวไม่ได้มีต้นกำเนิดมาจากที่ดินที่เพิ่งมีการตัดไม้ทำลายป่า หรือ มีส่วนทำให้ป่าเสื่อมโทรม โดยสินค้าโภคภัณฑ์ที่กำหนดตามข้อบังคับนี้ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน วัว ไม้ กาแฟ โกโก้ และถั่วเหลือง ดังนั้น ผู้ผลิตยางรถยนต์ที่มีการส่งออกไปยังตลาด EU จึงอยู่ระหว่างการเตรียมตัวสำหรับข้อบังคับใหม่นี้ ยกตัวอย่างเช่น Michelin ซึ่งเป็นผู้ผลิตยางรถยนต์อันดับหนึ่งของโลกที่มีส่วนแบ่งตลาด 15% ได้ให้การสนับสนุน EUDR และ ยึดแนวนโยบายปลอดการตัดไม้ทำลายป่า “zero-deforestation” ซึ่งหมายความว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากทางกลุ่มนี้ทุกที่ในโลก ไม่ใช่เฉพาะในพื้นที่ EU ต้องสามารถระบุถึงที่มาของวัตถุดิบได้ทั้งหมด

ผลกระทบในแง่บวกต่ออุตสาหกรรมยางพาราในประเทศไทย

จากข้อมูลที่ได้จากการประชุมกับผู้บริหารของ STA และ TEGH ตลาด EU คิดเป็นประมาณ 30% ของอุตสาหกรรมยางรถยนต์ทั่วโลก (ทั้งอุปสงค์ทางตรง และ ทางอ้อม) ซึ่งเท่ากับว่าอุปสงค์ยางพาราที่เข้าเกณฑ์ EUDR จะอยู่ที่ 4.5-5.0 ล้านตัน/ปี ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีส่วนแบ่งตลาดถึง 30% จึงได้เปรียบคู่แข่งจากประเทศอื่น ๆ ในแง่การเตรียมตัวจากทั้งภาครัฐ และ ในระดับอุตสาหกรรมเพื่อเตรียมพร้อมรับเกณฑ์ใหม่จาก EU ในขณะที่คู่แข่งอย่างอินโดนีเซีย, ไอโวรี่โคสต์ และ เวียดนาม (ผู้ผลิตยางพาราอันดับสอง, สาม และ สี่ของโลก) ยังประสบปัญหาเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูล และ กระบวนการทำข้อมูล โดยคาดว่าจะมีผลผลิตยางที่เข้าเกณฑ์ EUDR รวมกันไม่เกิน 1.5 ล้านตัน/ปี ซึ่งหมายความว่าจะมีอุปสงค์ยางที่เข้าเกณฑ์ EUDR มากกว่า 3.0 ล้านตัน/ปีจากประเทศอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากประเทศไทย

 

อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์ว่าผลผลิตจากประเทศไทยจะยังไม่เพียงพอที่จะตอบสนองต่ออุปสงค์ที่สูงขึ้นมาอย่างเฉียบพลันได้ภายในปีหน้าส่งผลให้ส่วนต่างราคายางพาราที่เข้าเกณฑ์ กับ ยางพาราที่ไม่เข้าเกณฑ์ EUDR ในช่วงที่ผ่านมาสูงถึง 13 บาท/กก. (RSS 3)

TEGH และ STA จะเป็นบริษัทหลักที่ได้อานิสงส์จากประเด็นนี้

เนื่องจากอุปสงค์ยางพาราที่เข้าเกณฑ์ EUDR อยู่ในระดับสูง ผู้ผลิตที่มีความพร้อมจึงจะได้อานิสงส์จากราคาขายที่สูงขึ้น ได้คำสั่งซื้อในระยะยาว และ cost-plus margin ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งในบรรดาผู้ผลิตยางในประเทศไทย เรามองว่า TEGH ดูจะล้ำหน้ากว่าคู่แข่ง โดยตั้งเป้าจะส่งมอบยาง 1 แสนตันในปี 2567F และ 2.5 แสนตันในปี 2568F คิดเป็น 40% และ 80% ของปริมาณยอดขายยางรวมของบริษัทตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เราคิดว่า STA จะได้เปรียบในแง่ของการดำเนินงานของกิจการขนาดใหญ่ โดยบริษัทตั้งเป้ายอดขายยางที่เข้าเกณฑ์ EUDR ไว้ที่ 1.5 ล้านตัน หรือ 80% ของปริมาณยอดขายรวมในปี 2568F เพิ่มขึ้น 10% จากปี 2567F พร้อมทั้งคาดว่าปริมาณยอดขายรายเดือนจะเพิ่มขึ้น 50% ในปลายปีนี้ North East Rubber (NER.BK/NER TB) ตั้งเป้าปริมาณยอดขายยางที่เข้าเกณฑ์ EUDR ไว้ที่ 5,000 ตัน หรือ 1% ของปริมาณยอดขายรวมในปีนี้

บทสรุป  

เรามองบวกกับอุตสาหกรรมยางพาราในประเทศไทย โดยเฉพาะในส่วนของผู้ผลิตที่จะได้อานิสงส์จาก EUDR ซึ่งได้แก่ STA และ TEGH จากราคายางที่มี premium และ margin ที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยางพาราส่วนที่ไม่เป็นไปตาม EUDR จะยังได้แรงหนุนจากอุปสงค์ส่วนเกินในตลาดโลก และ อุปสงค์ในระยะสั้นจากผู้ผลิตบางรายที่ต้องการเร่งตุนสินค้าก่อนที่ EUDR จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในปลายปีนี้

 

วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ Rubber Industry - EUDR ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมยางไทย

วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ Rubber Industry - EUDR ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมยางไทย

 

 

 

 

วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ Rubber Industry - EUDR ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมยางไทย