วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ แรงส่งจากการประชุมรมว.เศรษฐกิจเป็นบวก แต่อาจยังไม่มากพอ

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ แรงส่งจากการประชุมรมว.เศรษฐกิจเป็นบวก แต่อาจยังไม่มากพอ

การประชุม รมว.เศรษฐกิจ ≠ ครม.เศรษฐกิจ การประชุมรมว.เศรษฐกิจในวันนี้ คาดเป็นการเริ่มต้นระดมความเห็นเพื่อออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงมาตรการช่วยเหลือต่อกลุ่มเปราะบาง-ธุรกิจขนาดเล็ก แต่คาดจะยังไม่มีการประกาศมาตรการขนาดใหญ่

ขณะเดียวกันยังไม่ถือเป็นการประชุมครม.เศรษฐกิจเต็มรูปแบบเหมือนสมัย รัฐบาล ประยุทธ์ / ยิ่งลักษณ์ / อภิสิทธิ์ ที่มีการประกาศแต่งตั้ง และบางครั้งให้มติครม.เศรษฐกิจ ถือเป็นมติครม.หากไม่มีการทักท้วง ซึ่งโครงสร้างครม.เศรษฐกิจปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจนเช่นนั้น ทำให้แม้ระยะสั้นการประชุมอาจบวกต่อจิตวทิยาการลงทุน แต่เรายังไม่คาดหวังเชิงบวกมากนักต่อการประชุมรอบนี้ 

ภาพรวมการลงทุนมีโอกาสผันผวนจากความเคลื่อนไหวธนาคารกลางสำคัญ ใน 1 เดือนข้างหน้า การฟื้นตัวในระดับที่แตกต่างกัน ทำให้การดำเนินนโยบายของธนาคารกลางสำคัญมีแนวโน้มจะแตกกันอย่างมากในช่วง 1 เดือนข้างหน้า โดย 1) ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีโอกาสปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม 6 มิ.ย. ซึ่งนักลงทุนเริ่มตั้งคำถามถึงความอ่อนแอของเศรษฐกิจยุโรป 2) ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) คาดตรึงดอกเบี้ยนโยบาย และอาจส่งสัญญาณมุมมองการลดดอกเบี้ยที่น้อยครั้งลงในการประชุม 12 มิ.ย. และ 3) ธนาคารกลางญี่ปุ่น (ประชุม 13 มิ.ย.) เผชิญแรงกดดันจากตลาดที่คาดหวังการเปลี่ยนแปลงนโยบายตึงตัวมากขึ้น โดยผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี ปรับขึ้นเกิน 1% สูงสุดในรอบ 12 ปี // การดำเนินนโยบายที่เริ่มเกิดการฉีกออกจากกันของธนาคารกลาง อาจทำให้สินทรัพย์เสี่ยงผันผวนจากค่าเงินสหรัฐฯ ที่ยังมีแนวโน้มแข็งค่าจาก yield premium ที่เหนือสกุลอื่น
 

หุ้นที่น่าสนใจในการเก็งกำไร 1) กลุ่มที่ผลประกอบการถูกปรับประมาณการขึ้น SCGP, PTTGC, KCE, CPF, BTG 2) ราคาซื้อขายต่ำ NAV หรือ PBV ได้แก่ PTTGC, SAMART, STA, SORKON, TTA, PSL 

ภาพรวมกลยุทธ์ คาดหุ้นไทยฟื้นตัวได้จำกัด โดยจะถูกกดดันจากปัจจัยภายนอก และภายใน คือ การพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญต่อการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะเป็นความเสี่ยงต่อการดำเนินนโยบายสำคัญอย่าง Digital wallet การเก็งกำไรเน้นหุ้นที่ยังขึ้นน้อยกว่าตลาด (laggards) ช่วงสั้นหุ้นอิงการฟื้นตัวของจีนเช่นบรรจุภัณฑ์ และปิโตรเคมีน่าสนใจ และควรกำหนดจุดตัดขาดทุนรวมถึงเป้าขายทำกำไร 

หุ้นแนะนำ: SCGP*, CPALL*, CK*, SORKON*

แนวรับ: 1,359-1,365 / แนวต้าน : 1,380 จุด 

สัดส่วนลงทุน: เงินสด 40% vs พอร์ตหุ้น 60%

 

ประเด็นการลงทุนที่น่าสนใจ    

เฟดเผยแบบจำลอง GDPNow บ่งชี้ GDP สหรัฐ +3.5% ใน Q2/67 - ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตา เปิดเผยว่า แบบจำลองคาดการณ์ GDPNow ล่าสุดแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัว 3.5% ในไตรมาส 2/2567 (อินโฟเควสท์)

"ไบเดน" สั่งยกเลิกการยกเว้นภาษีสินค้าจีนหลายร้อยรายการ - สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) ประกาศว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดน จะสั่งเก็บภาษีสินค้าหลายร้อยรายการที่นำเข้าจากประเทศจีน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการเก็บภาษีในภาคธุรกิจที่สำคัญ และเพื่อปกป้องภาคการผลิตของสหรัฐ (อินโฟเควสท์)  

ต่างชาติช็อก-ลงทุนสะดุด Wait & See ศาลรับคดีเศรษฐา (ประชาชาติ)

จับตา ครม.เศรษฐกิจ นัดแรก คลอดมาตรการช่วยกลุ่มเปราะบาง SMEs – รมช.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลัง อยู่ระหว่างการพิจารณาออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหม่ เพื่อใช้สำหรับกระตุ้นเศรษฐกิจไทยเพิ่มเติมในช่วงครึ่งหลังของปี เข้าที่ประชุม ครม. ในวันที่ 27 พ.ค. 


 

จีนลงทุนต่างแดนช่วงม.ค.-เม.ย.เพิ่มขึ้นกว่า 18% ทะลุ 3.4 แสนล้านหยวน - สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า กระทรวงพาณิชย์ของจีนเปิดเผยว่า การลงทุนโดยตรงขาออก (ODI) ที่ไม่ใช่ด้านการเงินของจีนในช่วงเดือนม.ค.-เม.ย.ของปีนี้รวมอยู่ที่ 3.43 แสนล้านหยวน (ราว 1.71 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้น 18.7% เมื่อเทียบปีต่อปี และสูงกว่าการเพิ่มขึ้น 12.5% ในไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค.) ของปีนี้ (อินโฟเควสท์)

AAI - บมจ.เอเชี่ยน อะไลอันซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล (AAI) เปิดเผยว่า การดำเนินงานช่วงที่เหลือของปีนี้ บริษัทฯ ยังคงเป้ารายได้ของปี 67 ไว้ที่ 6,500 ล้านบาท หรือเติบโต 19% จากปีที่ผ่านมาที่ทำได้ 5,439 ล้านบาท (อินโฟเควสท์)

 

ประเด็นติดตาม:   28 พ.ค. - US CB Consumer Confidence / 29 พ.ค. JP Consumer Confidence (May) /31 พ.ค. CN NBS Manifacturing PMI (May)/ US PCE Price Index (Apr)

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)