MONEY AND STOCK MARKET REVIEW วันที่ 25-29 มีนาคม 2567

MONEY AND STOCK MARKET REVIEW วันที่ 25-29 มีนาคม 2567

เงินบาทอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 5 เดือน ก่อนฟื้นตัวกลับ ขณะที่หุ้นไทยยังผันผวนและปิดต่ำกว่าสัปดาห์ก่อน

สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท

• เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 5 เดือนที่ 36.54 บาทต่อดอลลาร์ฯ ก่อนฟื้นตัวกลับมาปลายสัปดาห์

เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์สอดคล้องกับการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำในตลาดโลก แต่เริ่มทยอยอ่อนค่ากลับมาในช่วงกลางสัปดาห์ หลังข้อมูลการส่งออกไทยออกมาต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาด (การส่งออกเดือน
ก.พ. +3.6% YoY ต่ำกว่าที่ตลาดคาดที่ +4.2% YoY)

นอกจากนี้ เงินบาทยังอ่อนค่าลงตามการเคลื่อนไหวของสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค นำโดย เงินเยนที่ทำสถิติอ่อนค่าสุดในรอบ 34 ปี และเงินหยวนของจีนท่ามกลางการคาดการณ์ว่า อาจเห็นสัญญาณผ่อนคลายทางการเงินจากทางการจีนเพื่อสนับสนุน
เศรษฐกิจในระยะข้างหน้า ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ได้รับแรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด (อาทิ จีดีพีไตรมาส 4/2566 ตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย) และถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟดซึ่งสะท้อนว่า จังหวะเวลาการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ อาจไม่เกิดขึ้นในเร็วๆ นี้

อย่างไรก็ดี เงินบาทล้างช่วงอ่อนค่าและฟื้นตัวกลับมาแข็งค่าได้ในช่วงปลายสัปดาห์โดยมีแรงหนุนจากการทะยานขึ้นของราคาทองคำในตลาดโลก และสัญญาณซื้อสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ

MONEY AND STOCK MARKET REVIEW วันที่ 25-29 มีนาคม 2567

• ในวันศุกร์ที่ 29 มี.ค. 2567 เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 36.35 บาทต่อดอลลาร์ฯ เทียบกับระดับ 36.37 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (22 มี.ค. 67) สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 25-29 มี.ค. 2567 นั้น
นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 113.4 ล้านบาท แต่มีสถานะเป็น Net Inflowsเข้าตลาดพันธบัตรไทย 14,482.2 ล้านบาท (ซื้อสุทธิพันธบัตรไทย 15,194.2 ล้านบาท หักตราสารหนี้ที่หมดอายุ 712 ล้านบาท)

 

สัปดาห์ถัดไป (1-5 เม.ย.) ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ระดับ 36.00-36.80 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือนมี.ค. ของไทย สัญญาณเงินทุนต่างชาติและทิศทางของค่าเงินเอเชีย ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีISM/PMI ภาคการผลิตและภาคบริการ ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนของ ADP ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานเดือน
มี.ค. ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS)และยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนก.พ. รวมถึงข้อมูลจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือนมี.ค. ของยูโร
โซน และดัชนีPMI ภาคการผลิตและภาคบริการเดือนมี.ค. ของญี่ปุ่น จีน ยูโรโซนและอังกฤษ

 

สรุปความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทย

• ตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวผันผวนท่ามกลางปริมาณการซื้อขายที่ค่อนข้างเบาบาง

หุ้นไทยร่วงลงช่วงต้นสัปดาห์ก่อนจะดีดตัวขึ้นในเวลาต่อมาจนถึงช่วงกลางสัปดาห์ตามทิศทางตลาดหุ้นในภูมิภาค ประกอบกับน่าจะมีปัจจัยบวกจากตัวเลขส่งออกเดือนก.พ.ของไทยที่ยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง และการผ่านร่างพ.ร.บ.งบประมาณปี 2567 ซึ่งกระตุ้นแรงซื้อหุ้นหลายกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ไฟแนนซ์และอสังหาริมทรัพย์

อย่างไรก็ดีหุ้นไทยร่วงลงในเวลาต่อมาตามแรงขายทำกำไรของกลุ่มนักลงทุนต่างชาติ ก่อนจะฟื้นตัวกลับมาได้บางส่วนในช่วงปลายสัปดาห์ตามทิศทางตลาดหุ้นในภูมิภาค โดยมีแรงซื้อหลักๆ จากหุ้นกลุ่มพลังงานเข้ามาหนุนตามอานิสงส์จากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวขึ้น 

 

ในวันศุกร์ที่ 29 มี.ค. 2567 ดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,377.94 จุด ลดลง 0.22% จากระดับปลายสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 34,835.00ล้ านบาท ลดลง 23.97% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนีmai ลดลง 0.86% มาปิดที่ระดับ 411.72 จุด

MONEY AND STOCK MARKET REVIEW วันที่ 25-29 มีนาคม 2567

• สัปดาห์ถัดไป (1-5 เม.ย.) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,370 และ 1,360 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,385 และ 1,400 จุดตามลำดับ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมี.ค. ของไทย และทิศทางเงินทุนต่างชาติส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนี ISM/PMI ภาคการผลิตและภาคบริการ ข้อมูลการจ้างงานภาคเอกชนของ ADP ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงาน
เดือนมี.ค. รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ ดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคบริการของญี่ปุ่นจีน ยูโรโซน และอังกฤษ ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมี.ค. (เบื้องต้น) ของยูโรโซน