เวสต์เทกซัส 82.72 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 86.89 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล

เวสต์เทกซัส 82.72 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 86.89 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล

วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน (19 มี.ค. 67) ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้น หลังเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวประกอบกับอุปทานน้ำมันจากกลุ่ม OPEC ตึงตัวขึ้น

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับราคา

+ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์และเวสต์เทกซัสปรับเพิ่มขึ้น หลังตัวเลขทางเศรษฐกิจของจีนส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างชัดเจนในเดือน ก.พ. 67 หลังดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนในเดือน ก.พ. 67 เติบโตที่ระดับ 7.0% สูงกว่าคาดการณ์ที่ 5.3% ตัวเลขเศรษฐกิจดังกล่าวส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น

+ การส่งออกน้ำมันดิบของซาอุดิอาระเบียในเดือน ม.ค. 67 อยู่ที่ระดับ 6.30 ล้านบาร์เรลต่อวัน และถือเป็นการปรับลดลง 2 เดือนติดต่อกัน นอกจากนี้ในเดือน เม.ย. 67 กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันดิบที่นำโดยซาอุดิอาระเบียจะมีการขยายระยะเวลาการลดกำลังการผลิตโดยสมัครใจออกไปในไตรมาสที่ 2/2567 

+/- นอกจากนี้ตลาดยังคงได้รับแรงหนุนจากการที่อิรักเตรียมปรับลดการส่งออกน้ำมันดิบลงจากระดับ 3.43 ล้านบาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ระดับ 3.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน มี.ค. 67 หลังปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของอิรักในเดือน ม.ค. 67 และ ก.พ. 67 สูงกว่าโควต้าที่กำหนดโดยกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันดิบ (OPEC)
 

เวสต์เทกซัส 82.72 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 86.89 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล

 

ราคาน้ำมันเบนซิน

ราคาน้ำมันเบนซินปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ ภายหลังเศรษฐกิจของจีนฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากตัวเลขทางเศรษฐกิจในเดือน ก.พ. 67 ที่ปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากปริมาณการนำเข้าน้ำมันเบนซินของอินโดนีเซีย ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 13 มี.ค. 67 ที่ปรับลดลง 56.4% มาอยู่ที่ระดับ 0.19 ล้านตัน


ราคาน้ำมันดีเซล

ราคาน้ำมันดีเซลปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังอุปทานน้ำมันดีเซลมีแนวโน้มตึงตัวขึ้น จากการโจมตีโรงกลั่นในรัสเซียของยูเครน โดยกำลังการผลิตที่ได้รับผลกระทบจากการโจมตีในครั้งนี้คิดเป็นกว่า 18% ของกำลังการผลิตรวม อย่างไรก็ตาม ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการประมูลขายน้ำมันดีเซลของประเทศเกาหลีใต้สำหรับส่งมอบเดือน เม.ย. 67  
 

เวสต์เทกซัส 82.72 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 86.89 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล