MONEY AND STOCK MARKET REVIEW วันที่ 12-16 กุมภาพันธ์ 2567

MONEY AND STOCK MARKET REVIEW วันที่ 12-16 กุมภาพันธ์ 2567

เงินบาทยังคงอ่อนค่า ขณะที่ดัชนีหุ้นไทยปิดลบเล็กน้อย หลังแกว่งกรอบแคบตลอดสัปดาห์

สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท

• เงินบาทยังคงอ่อนค่า โดยทำสถิติอ่อนค่าสุดในรอบ 3 เดือนครึ่งที่ 36.20 บาทต่อดอลลาร์ฯ ก่อนจะฟื้นตัวกลับมาบางส่วนช่วงปลายสัปดาห์

เงินบาทแข็งค่าขึ้นได้เล็กน้อยในช่วงต้นสัปดาห์สอดคล้องกับสกุลเงินเอเชียอื่นๆ ท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ เพื่อปรับโพสิชั่นของตลาด ก่อนจะพลิกกลับมาอ่อนค่าลง สวนทางเงินดอลลาร์ฯ และบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งหลังตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคของสหรัฐฯ ออกมาสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาดซึ่งหนุนการคาดการณ์ว่า เฟดอาจต้องยืนอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับสูงเป็นเวลานาน และจังหวะการปรับลดดอกเบี้ยคงไม่เกิดขึ้นเร็วในรอบการประชุม FOMC
ใกล้ๆ นี้ (US CPI +3.1% YoY ในเดือนม.ค. สูงกว่าตลาดคาดที่ +2.9% YoY

นอกจากนี้ เงินบาทที่อ่อนค่ายังสอดคล้องกับสถานะขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ และสถานการณ์ราคาทองคำในตลาดโลกที่ร่วงหลุดระดับ 2,000 ดอลลาร์ฯ ต่อออนซ์ลงมาด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี กรอบการอ่อนค่าของเงิน
บาทชะลอลงบางส่วน และเงินบาทฟื้นตัวกลับมาได้เล็กน้อยช่วงปลายสัปดาห์ตามจังหวะการกลับมาซื้อสุทธิพันธบัตรและหุ้นไทยของต่างชาติ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ อ่อนค่าลงมาตามการปรับตัวลงของบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ หลังตัวเลขยอดค้าปลีกของ
สหรัฐฯ หดตัวลงมากกว่าที่ตลาดคาดในเดือนม.ค.

MONEY AND STOCK MARKET REVIEW วันที่ 12-16 กุมภาพันธ์ 2567

 

• ในวันศุกร์ที่ 16 ก.พ. 2567 (ก่อนช่วงตลาดนิวยอร์ก) เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 36.02 บาทต่อดอลลาร์ฯ อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับ 35.92 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (9 ก.พ. 67) สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 12-16 ก.พ. 2567 นั้น นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 3,343 ล้านบาท และมีสถานะเป็น Net Outflows ออกจากตลาดพันธบัตรไทย 6,113 ล้านบาท (ขายสุทธิพันธบัตร 5,963 ล้านบาท และตราสารหนี้หมดอายุ 150 ล้านบาท)

• สัปดาห์ถัดไป (19-23 ก.พ.) ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ระดับ 35.70-36.30 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4/66 ของไทย ทิศทางเงินลงทุนต่างชาติ และถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคบริการ (เบื้องต้น) เดือนก.พ. ยอดขายบ้านมือสองเดือนม.ค. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และ
บันทึกการประชุมเฟดเมื่อวันที่ 30-31 ม.ค. นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ของธนาคารกลางจีน ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อเดือนม.ค. ของยูโรโซน และ PMI (เบื้องต้น) เดือนก.พ. ของญี่ปุ่น อังกฤษ และ
ยูโรโซนด้วยเช่นกัน

 

สรุปความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทย

• ดัชนีหุ้นไทยเคลื่อนไหวในกรอบแคบเกือบตลอดสัปดาห์ท่ามกลางปริมาณการซื้อ-ขายที่ค่อนข้างเบาบาง
หุ้นไทยเคลื่อนไหวในกรอบแคบช่วงต้นสัปดาห์ท่ามกลางปริมาณการซื้อ-ขายที่ค่อนข้างเบาบาง ในขณะที่ตลาดหุ้นหลายแห่งในภูมิภาคปิดทำการในช่วงเทศกาลตรุษจีน โดยในช่วงต้นสัปดาห์หุ้นไทยมีแรงหนุนจากสัญญาณที่สะท้อนว่า ตลท.
เตรียมคุมเข้มการทำธุรกรรม Short selling และ Program trading อย่างไรก็ดี หุ้นไทยปรับตัวลงในช่วงกลางสัปดาห์ตามแรงขายของกลุ่มนักลงทุนต่างชาติ หลังตัวเลขเงินเฟ้อเดือนม.ค.ของสหรัฐฯ ออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ทำให้นักลงทุนประเมินว่า เฟดอาจเลื่อนช่วงเวลาปรับลดดอกเบี้ยออกไปอีก ประกอบกับมีแรงขายหุ้นกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หลังผลประกอบการไตรมาส 4/66ของผู้ประกอบการรายหนึ่งออกมาน่าผิดหวัง

หุ้นไทยกลับมาเคลื่อนไหวในกรอบแคบอีกครั้งในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ โดยแม้จะมีแรงซื้อหุ้นบิ๊กแคปในหลายกลุ่มเข้ามาหนุน โดยเฉพาะกลุ่มค้าปลีก แต่กรอบการฟื้นตัวยังจำกัด เนื่องจากนักลงทุนรอติดตามตัวเลขจีดีพีของไทยซึ่งจะประกาศในช่วงต้นสัปดาห์หน้า

ในวันศุกร์ที่ 16 ก.พ. 2567 ดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,386.27 จุด ลดลง 0.15%จากระดับปลายสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 36,085.91 ล้านบาท ลดลง 14.02% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai เพิ่มขึ้น 0.46% มาปิดที่ระดับ 418.19 จุด

MONEY AND STOCK MARKET REVIEW วันที่ 12-16 กุมภาพันธ์ 2567

• สัปดาห์ถัดไป (19-23 ก.พ.) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,370 และ 1,355 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,400 และ 1,410 จุด ตามลำดับ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4/66 ของไทย และทิศทางเงินทุนต่างชาติ ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ บันทึกการประชุมเฟด ยอดขายบ้านมือสองเดือนม.ค. ดัชนี PMI เดือนก.พ. (เบื้องต้น) รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ ดัชนี PMI เดือนก.พ. (เบื้องต้น) ของญี่ปุ่น ยูโรโซน อังกฤษ ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนม.ค. (เบื้องต้น) ของยูโรโซน ตลอดจนการกำหนดอัตราดอกเบี้ย LPR เดือนก.พ. ของจีน