เวสต์เทกซัส 76.84 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 82.19 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล

เวสต์เทกซัส 76.84 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 82.19 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล

วิเคราะห์สถานการณ์ ราคาน้ำมัน (12 ก.พ. 66) ราคาน้ำมันดิบ ปรับเพิ่มขึ้นหลังสงครามตะวันออกกลาง และรัสเซียยูเครนยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง

วิเคราะห์สถานการณ์ ราคาน้ำมัน (12 ก.พ. 66) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับ ราคาน้ำมันดิบ

+ ราคาน้ำมันดิบ ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 3% หลังกองกำลังอิสราเอลได้โจมตีกลุ่มฮามาสทางอากาศบริเวณเมืองราฟาห์ทางใต้ของฉนวนกาซาในช่วงวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยเป็นการโจมตีอย่างต่อเนื่องจากการทิ้งระเบิดในวันพฤหัสบดี ส่งผลให้ตลาดยังคงกังวลถึงอุปทานน้ำมันดิบโลกที่มีแนวโน้มจะตึงตัวจากความไม่สงบในบริเวณตะวันออกกลางที่คาดว่าจะยืดเยื้อ

- การส่งออกน้ำมันดิบรัสเซีย คาดว่าจะปรับสูงขึ้น 0.7 ล้านตัน ในเดือน ก.พ. 67 จากแผนเดิมที่ระดับ 8.2 ล้านตัน (2.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน) หลังโรงกลั่นน้ำมันหลายแห่งถูกยูเครนโจมตีทางอากาศ ส่งผลให้การนำน้ำมันดิบเข้ากลั่นในประเทศปรับลดลง โดยโรงกลั่น Tuapse ในแถบทะเลดำคาดว่าจะยังไม่กลับมาดำเนินการจนกว่าเดือน มี.ค. 67 ขณะที่โรงกลั่น Ust-Luga และ Volgograd ทางทะเลบอลติกและทางตอนใต้ก็ได้รับความเสียหายเช่นกัน นอกจากนี้การผลิตน้ำมันดิบของประเทศคาดว่าอาจปรับสูงขึ้นกว่าโควต้าที่ได้รับจากกลุ่ม OPEC+ ที่ระดับ 9.5 ล้านบาร์เรลต่อวันด้วย

- EIA รายงานตัวเลขอุปทานน้ำมันดิบสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์นี้เริ่มกลับมาสูงขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 13.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน หลังจากเหตุการณ์ Cold Snap ที่ทำให้แหล่งผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ หลายแห่งต้องปิด/ลดการผลิตชั่วคราว

-/+ Baker Hughes รายงานจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบสหรัฐฯ สำหรับ สัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 9 ก.พ. 67 ไม่เปลี่ยนแปลง โดยอยู่ที่ระดับ 499 แท่น ในขณะที่แท่นขุดเจาะก๊าซธรรมชาติปรับเพิ่มขึ้น 4 แท่น มาอยู่ที่ ระดับ 121 แท่น

 


 

ราคาน้ำมันเบนซิน

ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากโรงกลั่นในสหรัฐฯ กลับมาดำเนินการได้อีกครั้ง หลังมีปัญหาไฟฟ้าขัดข้องทำให้หยุดดำเนินการกะทันหันในต้นเดือนที่ผ่านมา  อย่างไรก็ตาม ราคายังมีแรงหนุนจากอุปทานในญี่ปุ่นคาดว่าจะลดลงจากความขัดข้องทางเทคนิคของโรงกลั่นในประเทศ และแรงซื้อจากแอฟริกาใต้สำหรับเดือน มี.ค. ที่ยังมีอยู่ต่อเนื่อง

 

ราคาน้ำมันดีเซล

ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังความต้องการใช้น้ำมันดีเซลอินเดียเดือน ม.ค. 67 ลดลง 2.35% สู่ระดับ 7.43 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม อุปทานน้ำมันดีเซลในเกาหลีใต้และญี่ปุ่นคาดว่าจะลดลง จากการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นในเดือน มี.ค. 67