วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ ความเสี่ยงเกี่ยวกับการกำกับดูแลยังเป็นปัจจัยกดดันตลาด

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ ความเสี่ยงเกี่ยวกับการกำกับดูแลยังเป็นปัจจัยกดดันตลาด

การปรับโครงสร้างราคาพลังงานตอกย้ำความเสี่ยงเกี่ยวกับการกำกับดูแล (Regulatory risk) อุตสาหกรรมพลังงานเป็นกลุ่มหุ้นใหญ่ในตลาดที่มีกำไรคิดเป็นสัดส่วนถึง 1/3 ของตลาดหุ้นไทย

อย่างไรก็ตามช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา การดำเนินมาตรการปรับลดราคาค่าไฟ (Ft) อย่างรวดเร็ว แม้ช่วยเรื่องกำลังซื้อในประเทศ แต่ทำให้ต่างชาติมองความเสี่ยงของการกำกับดุแลและการแทรกแซงจากภาครัฐสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ล่าสุดการปรับโรงสร้างราคาพลังงานโดยเฉพาะราคาก๊าซธรรมชาติ เกิดเป็นความเสี่ยงที่กระทบต่อต้นทุนการดำเนินงานของ PTT และ PTTGC ซึ่งตอกย้ำความเสี่ยงเกี่ยวกับการกำกับดูแลที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และอาจลดทอนโอกาสกลับมาของเงินทุนต่างชาติ ซ้ำเติมความเสี่ยงเงินทุนไหลออกที่มาจากส่วนต่างดอกเบี้ยนโยบายที่กว้าง ซึ่งเราคาดจะทำให้เงินบาทอ่อนค่าใน 6-9 เดือนข้างหน้า

ติดตามการประชุมผู้ถือหุ้นกู้ ITD ขณะที่กลุ่มรับเหมาตัวใหญ่เริ่มมีความน่าสนใจในการเสี่ยงซื้อ  ราคาหุ้นกลุ่มรับเหมาปรับตัวลดลงในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา สะท้อนปัจจัยลบจากการใช้จ่ายภาครัฐที่ชะลอในปีเลือกตั้งคล้ายที่เกิดขึ้นในปี 2562 รวมถึงปัจจัยเกี่ยวกับต้นทุนการก่อสร้างและค่าแรงขั้นต่ำที่มีโอกาสปรับเพิ่มขึ้น อีกทั้งความเสี่ยงผิดนัดชำระจาก ITD ที่อยู่ในสถานะคู่ค้า (เป็นผู้รับเหมาหลักในหลายโครงการ) ที่อาจกระทบต่อหุ้นในกลุ่มโดยเฉพาะขนาดกลาง-เล็ก อย่างไรก็ตามการใช้จ่ายภาครัฐที่เริ่มกลับสู่ภาวะปกติของการบริหารราชการ และแผนการผลักดันโครงการขนาดใหญ่ในช่วงต่อไป ทำให้หุ้นในกลุ่มมีโอกาสเป็นเป้าหมายของการลงทุน โดยเราจำกัดอยู่เฉพาะรับเหมาขนาดใหญ่อย่าง STEC และ CK ซึ่งเงินลงทุน และการถือหุ้นในบริษัทย่อยจำนวนมากช่วยป้องกันความเสี่ยงสภาพคล่อง
 

ธีมการลงทุนที่น่าสนใจ 1) ผลประกอบการมีโมเมนตัมเชิงบวกกลุ่มที่น่าสนใจคือ การแพทย์ ท่องเที่ยว ค้าปลีก (บางตัว) อาทิ BDMS, ERW, SPA, CPN, CRC, BGRIM, GULF 2) กลุ่มหุ้นพื้นฐานดีและปันผลสูง เราชอบ TU, MAJOR, EGCO, BSRC, ADVANC เป็นต้น 3) ความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์เร่งตัวขึ้น เป็นบวกต่อแนวโน้มการย้ายฐานการผลิตออกจากไต้หวัน-จีน ซึ่งบวกกับกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม (WHA, AMATA, ROJNA, PIN) 4) กลุ่มที่แนวโน้มกำไรมีโอกาสเร่งตัวขึ้นจากช่วงก่อนหน้าหรือมีปัจจัยบวกเฉพาะตัว อาทิ MASTER, SORKON, BAFS, MEB, TGE, CCET เป็นต้น 

ภาพรวมกลยุทธ์ แกว่งตัว 1,400-1,414 จุด ติดตามการประชุมผู้ถือหุ้นกู้ ITD 17 ม.ค.ซึ่งจะกระทบความเสี่ยงตั้งสำรองกลุ่มธนาคาร ขณะที่อาจเลือกเก็งหุ้นเล็กที่ยัง Laggard มีโอกาสฟื้นจากการหมุนกลุ่มลงทุน (rotation)

หุ้นแนะนำ: MAJOR*, BSRC*, GUNKUL*, CCET*

แนวรับ: 1,400 / แนวต้าน : 1,414-1,417 จุด 

สัดส่วนลงทุน: เงินสด 40% vs พอร์ตหุ้น 60%
 

ประเด็นการลงทุนที่น่าสนใจ

ธปท.ลั่นไม่ลดดอกเบี้ย เงินเฟ้อติดลบชั่วคราว –คาดทั้งปีอยู่ที่1-2%พร้อมเตรียมเรียกแบงก์หารือหวังคุมส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (ข่าวหุ้น) 

แบงก์ชาติ ขานรับข้อเสนอภาคอสังหาฯปลดล็อก LTV- ธปท. กล่าวว่าการทำมาตรการ LTV ที่ผ่านมา ธปท.ได้ชั่งน้ำหนักจากหลายฝั่ง มาตรการ LTVไม่ได้เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด ในทางกลับกันจะเป็นการส่งเสริมมากกว่า (อินโฟเควสท์)

พรุ่งนี้ตัวเลขเศรษฐกิจจีนประกาศ นักวิเคราะห์คาด เศรษฐกิจจีน ชะลอตัวเหลือ 4.6% ในปี 67 และ 4.5% ในปี 68 - รอยเตอร์รายงานว่า จากการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ 58 คนโดย Reuters พบว่าการเติบโตทาง “เศรษฐกิจจีน” มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงเป็น 4.6% ในปี 2567 และลดลงอีกเป็น 4.5% ในปี 2568 (การเงินการธนาคาร)

แบงก์ชาติจีนคงดอกเบี้ยนโยบาย 2.50% สวนทางตลาดคาดหั่นดอกเบี้ยกระตุ้นเศรษฐกิจ- ธนาคารกลางจีนคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะกลาง (MLF) ระยะ 1 ปีซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของจีนเอาไว้ที่ระดับ 2.50% สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับลงสู่ระดับ 2.40% (อินโฟเควสท์)

WHA ส่งซิกผลการดำเนินงานออลไทม์ไฮ เตรียมแถลง31ม.ค. – หลังประเมินทุกธุรกิจเติบโตต่อเนื่อง เล็งพัฒนานิคมฯเวียดนามเทียบเท่าไทย และอยู่ระหว่างเจรจาขอพื้นที่โซนใหม่เพิ่ม(ข่าวหุ้น)

ANAN โชว์แกร่ง-ไถ่ถอนหุ้นกู้ล็อต15ม.ค.ทั้ง100%กว่า3.82พันลบ.จ่อคืนล็อตต่อไป(อินโฟเควสท์)

 

ประเด็นติดตาม: 17 ม.ค.-EU CPI, US Retail Sales, ประชุมผู้ถือหุ้นกู้ ITD/18 ม.ค. - US Initial Jobless Claims 

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)