วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ลุ้นสัญญาณ หลังประชุมเฟด

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ลุ้นสัญญาณ หลังประชุมเฟด

ทางเทคนิค คาด SET Index ปรับสูงขึ้น แนวต้าน 1,380/1,385 (EMA 5/10 วัน) แนวรับ 1,366 จุด (ระดับต่ำสุดปีนี้)/1,355 จุด โดยดัชนีฯ ระยะสั้น มีความเสี่ยงที่จะเกิดสัญญาณขายรอบใหม่ หากดัชนีฯ ร่วงทำ New Low ใหม่ที่ต่ำกว่า 1,366 จุด

ในทางตรงกันข้ามดัชนีฯ มีแนวโน้มกลับมาเป็นทิศทางขาขึ้น หากดัชนีฯ พลิกกลับขึ้นมายืนเหนือ 1,398 จุด (EMA 25 วัน)

ประเด็น Event สำคัญ วันนี้

+/-Opportunity Day: จับตาสัญญาณ Earnings Guidance ของบจ. TEKA FN AIMCG MASTER SALEE CAZ UBE คาดส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นรายตัว หากมีสัญญาณ Negative/Positive Guidance

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ลุ้นสัญญาณ หลังประชุมเฟด

ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญวันนี้
+US: FOMC Meeting ตลาดให้โอกาสสูงที่เฟดจะคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิม 5.5% ส่วนปัจจัยสำคัญอยู่ที่การปรับประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจและเงินเฟ้อใหม่ และสัญญาณดอกเบี้ย ของประธานเฟด Powell หลังประชุม

ไฮไลท์อยู่ที่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย: หากอิง DOT PLOT ล่าสุดจากการประชุมเฟด พบว่า อัตราดอกเบี้ยจะปรับลดจาก 5.6% ในปี 2023E ลง 2 ครั้ง สู่ระดับ 5.1% ในปี 2024E (Figure 1) แตกต่างจากมุมมองตลาดผ่าน CME FedWatch (คาดอัตราดอกเบี้ยปรับลดลง 5 ครั้ง) ทำให้หลังประชุมอาจมีความผิดหวังจากเฟด โดยเฟดยังคงส่งสัญญาณเข้มงวด (Hawkish) ต่อเนื่อง สอดคล้องกับถ้อยแถลงของประธานเฟดครั้งสุดท้าย ก่อนเข้าช่วง Blackout Period ว่า “ยังเร็วเกินไปที่จะประกาศชัยชนะต่อเงินเฟ้อ และเร็วเกินไปที่คาดว่านโยบายการเงินจะผ่อนคลายลงเมื่อไร อีกทั้งยังพร้อมเข้มงวดนโยบายขึ้นอีกหากเห็นว่าเหมาะสม” เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. ที่ผ่านมา

 

ตัวเลขเศรษฐกิจ คาดเติบโตสูงกว่าคาด: เราประเมินว่าเฟดมีแนวโน้มจะปรับประมาณการ 2023 GDP เพิ่มจากเดิม 2.1% YoY เป็น 2.6% YoY (Figure 2) เนื่องด้วยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ดูแข็งแกร่งกว่าคาด โดย GDP เติบโต 3.0% YoY ใน 9M23 (1Q23 +2.0% QoQ, 2Q23 +2.1% QoQ, 3Q23 +5.2% QoQ) แม้ 4Q23E GDP จะมีแนวโน้มเติบโตชะลอตัว อิงประมาณการ GDP ผ่านแบบจำลอง GDP Now ของเฟด สาขาแอตแลนต้าที่ +1.2% QoQ

KTX คาดวงจรดอกเบี้ยขาขึ้นของเฟดสิ้นสุดลงแล้ว โดยเฟดมีแนวโน้มคงดอกเบี้ยที่ระดับเดิม จนกว่าจะเห็นสัญญาณ Growth มีความเสี่ยงหดตัว และเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับลดลงใกล้เป้าหมาย 2.0% (คาดเกิดขึ้นใน 3Q24)

- อัตราเร่งของเงินเฟ้อสหรัฐฯ อยู่ในทิศทางชะลอตัว อิงราคาน้ำมันที่ลดลงต่อเนื่อง จะกดดันให้ Cost push inflation (สัดส่วน 40% ของตะกร้าเงินเฟ้อ) ชะลอตัวลง ขณะที่ Demand pull inflation (สัดส่วน 60% ของตะกร้าเงินเฟ้อ) มีแนวโน้ม Mix หลังตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญผสมผสานกัน อาทิ ดัชนี PMI ภาคการผลิต (ISM) ที่ยังอยู่ในโซนหดตัว ดัชนี PMI ภาคบริการ (ISM) ฟื้นตัวเล็กน้อย แต่การจ้างงานนอกภาคเกษตรฟื้นตัวเป็น 1.99 แสนราย จาก 1.5 แสนราย อัตราว่างงานลดลงเป็น 3.7% และอัตราค่าจ้าง เร่งตัวขึ้น +0.4% MoM จาก +0.2% MoM

- อย่างไรก็ตาม หากมองในภาพ Outlook เราประมาณการอัตราเงินเฟ้อในระยะ Long Term ด้วยอัตราเร่งรายเดือน 0.175% MoM เท่ากับช่วงก่อนการระบาดของ COVID-19 (2017-19) พบว่า อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ณ สิ้นปีจะอยู่ที่ 4.0% YoY และจะปรับลดลงเข้าสู่ระดับ Long Term CPI ที่ 2.2% YoY ใกล้เคียงเงินเฟ้อเป้าหมาย 2.0% ใน 3Q24 ด้วยปัจจัยดังกล่าว ทำให้เรามองว่าวงจรดอกเบี้ยขาขึ้นของเฟดสิ้นสุดลงแล้ว โดยเฟดมีโอกาสที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่เดิม (5.1%) ในช่วงต้นปี 2024 และอาจพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยหากสัญญาณ Growth มีควาเมเสี่ยงชะลอตัว

 

+US PPI เดือน พ.ย.: คาดปรับขึ้นเล็กน้อย MoM แต่ยังคงอยู่ในทิศทางลดลง YoY โดย Consensus คาด +0.1% MoM, +1.0% YoY (Vs เดือน ต.ค. -0.5% MoM, +1.3% YoY) ช่วยเพิ่มโอกาสให้เงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือน ธ.ค. มีแนวโน้มปรับลดลงต่อเนื่อง

+Japan: รายงานดัชนีวัดความเชื่อมั่นของผู้ผลิต (Tankan Survey) 4Q คาดปรับเพิ่มขึ้น โดย Consensus คาด Large/Small Manufacturers Index อยู่ที่ 12 (Vs 9) และ 8 (Vs -5) ตามลำดับ สะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น

กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ หุ้นบลูชิพที่รับผลบวกจากแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้นสิ้นสุดลง ได้แก่ WHAUP MTC LH

 

Strategic daily picks

WHAUP    ปิด 3.96 บาท/แนวรับ 3.82 บาท แนวต้าน 4.10 บาท

คาดผลการดำเนินงาน 4Q23 ดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะพลังงานหมุนเวียนที่จะมีการลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) เพิ่มเติม หลังจาก 3Q23 มี PPA รวม 182 เมกะวัตต์ (MW) จากเดิมที่เคยตั้งเป้ากำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเป็น 300MW ภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งคาดว่าจะเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธิปี 2023 ที่ 1.46 พันล้านบาท (+222.15% YoY) และมูลค่าเหมาะสมที่ 5.13 บาท

MTC    ปิด 43.50 บาท/แนวรับ 42.00 บาท แนวต้าน 46.00 บาท

กำไรสุทธิ 9M23 คิดเป็น 68% ของประมาณการทั้งปี KTX มีแนวโน้มจะต้องปรับลดประมาณการลง 8% จาก credit costs ที่สูงกว่าที่เราคาด โดยต้นทุนทางการเงินปี 2024E คาดเพิ่มขึ้นเป็น 4%-4.2% (ปัจจุบัน 3.7%-3.8%) ขณะที่ภาพการฟื้นตัวของกำไรปี 2024E ยังเป็นไปตามประมาณการจากแนวโน้มที่ดีขึ้นของคุณภาพสินทรัพย์ ทั้งนี้ KTX ยังแนะนำ “Outperform” และมูลค่าเหมาะสมอยู่ระหว่างการทบทวน (เดิม 35.61 บาท)

LH     ปิด 7.60 บาท/แนวรับ 7.40 บาท แนวต้าน 8.00 บาท

เตรียมเปิด 9 โครงการใหม่ (8 แนวราบ, 1 คอนโดมิเนียม) รวมมูลค่า 2.97 หมื่นล้านบาท โดยเพิ่งเปิดตัวคอนโดมิเนียม Wan Vayla Na Chaopraya มูลค่า 1.5 หมื่นล้านบาท ในเดือน ต.ค. ส่วนในปี 2024 เปิดตัวโครงการแนวราบเพิ่ม แต่ไม่มีโครงการคอนโดมิเนียม และมีแผนเปิดตัวโครงการระดับไฮ-เอนด์ ภายใต้แบรนด์ Nantawan และ Mantana มากขึ้น Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธิปี 2023 ที่ 7.17 ล้านบาท (-13.81% YoY) และมูลค่าเหมาะสมที่ 9.29 บาท

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ลุ้นสัญญาณ หลังประชุมเฟด

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ลุ้นสัญญาณ หลังประชุมเฟด