เวสต์เทกซัส 69.38 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 74.30 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล

เวสต์เทกซัส 69.38 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 74.30 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล

วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน (7 ธ.ค. 66) ราคาน้ำมันดิบปรับลด หลังสต็อกน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้นมากกว่าคาด สะท้อนความต้องการใช้น้ำมันอ่อนตัว

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับราคา

- ราคาน้ำมันดิบปรับลดแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 66 หลังสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันเบนซินประจำสัปดาห์ สิ้นสุด ณ วันที่ 1 ธ.ค. 66 ปรับเพิ่มขึ้น 5.4 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 223.6 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับขึ้นเพียง 1.0 ล้านบาร์เรล บ่งชี้อุปสงค์การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงทั่วโลกที่ยังคงซบเซา อย่างไรก็ตาม สต็อกน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับลดลง 4.6 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 445.0 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับลดลง 1.4 ล้านบาร์เรล

- ตลาดได้รับแรงกดดันจากความกังวลต่ออุปสงค์น้ำมันในจีน หลัง Moody's Investors Service สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับโลกได้ปรับลดแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของรัฐบาลจีนจากระดับมีเสถียรภาพลงสู่ติดลบ เป็นผลมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจระยะกลางที่ชะลอตัวลง รวมทั้งวิกฤติในภาคอสังหาริมทรัพย์ สร้างความเสี่ยงต่อความแข็งแกร่งด้านการคลัง และเศรษฐกิจของจีน 

+/- นักลงทุนจับตาการเดินทางเยือนตะวันออกกลางของประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ซึ่งถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนในปี 2565 โดยในครั้งนี้จะไปเยือนทั้งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และซาอุดีอาระเบีย เพื่อหารือเกี่ยวกับข้อตกลงการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปคพลัส
 

ราคาน้ำมันเบนซิน

ราคาน้ำมันเบนซินปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังอุปสงค์และปริมาณการนำเข้าน้ำมันของอินโดนีเซียในเดือนธ.ค. 66 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อีกทั้งอุปทานในภูมิภาคอาจปรับตัวลดลงหลังโรงกลั่นในไต้หวันมีแผนจะปิดซ่อมบำรุงต้นปีหน้า


ราคาน้ำมันดีเซล

ราคาน้ำมันดีเซลปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากปริมาณการส่งออกของจีนที่มีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตาม ตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากความต้องการใช้น้ำมันดีเซลในยุโรปที่หดตัว
 

เวสต์เทกซัส 69.38 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 74.30 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล