วิเคราะห์หุ้นรายตัว : บล.กรุงศรี AMATA - ยอดขายที่ดินสดใส

วิเคราะห์หุ้นรายตัว : บล.กรุงศรี AMATA - ยอดขายที่ดินสดใส

AMATA ตั้งเป้ายอดขายที่ดิน 1,700-2,000 ไร่ในปีนี้ ซึ่งต่ำกว่าประมาณการของเราเล็กน้อยที่ 2,250 ไร่ สนับสนุนจากความต้องการที่แข็งแกร่ง (จำนวนการยื่นขอบีโอไอ)

เราคาดกำไรจะแข็งแกร่งใน 4Q23 จากการโอนที่ดินเพิ่มขึ้นและยอดขาย RBF การประกาศขึ้นอัตรา Ft มีผลบังคับใช้ม.ค.-เม.ย. 2024 จะช่วยลดความเสี่ยงประมาณการของเราปี FY24F คงคำแนะนำ ซื้อ

คาดยอดขายที่ดินปีนี้ 1,700-2,000 ไร่ เทียบกับประมาณการของเราที่ 2,250 ไร่

ซึ่งคาดว่าจะมีการลงนามสัญญา 500 ไร่ใน 4Q23 ส่งผลให้ยอดขายที่ดินทั้งปีนี้เป็น 1,700 ไร่ ลูกค้าได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ ซึ่งส่วนใหญ่ย้ายฐานการผลิตมาจากประเทศจีน อย่างไรก็ตาม สัญญาใหม่จะสูงถึง 800 ไร่ใน 4Q23 (รวมทั้งปี 2,000 ไร่) หากสามารถปิดดีลลูกค้าอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ได้

คาดกำไรแข็งแกร่งใน 4Q23

ซึ่งสนับสนุนโดย (i) Backlog จำนวนมากในประเทศไทย (ปรับเพิ่มจาก 7.0 พันลบ.เป็น 8.8 พันลบ.); (ii) AMATAV (AMATA ถือหุ้น 73%) คาดยอดโอนที่ดินจะแข็งแกร่งขึ้น (qoq) ใน 4Q23 และรายได้จากการขายไฟฟ้า (ธุรกิจการค้า) ที่สูงขึ้น
เนื่องจากมีลูกค้าใหม่ใน Amata City Halong นอกจากนี้ จะมีกำไรจากการขาย RBF สองยูนิต ดังนั้นเราคงประมาณการกำไร 2.2 พันลบ.ใน FY23F

 

 

 

 

อัตรา Ft ที่สูงขึ้นในปีหน้าจะช่วยลดความเสี่ยงประมาณการกำไรของเรา 

ก่อนหน้านี้เราคาดมีความเสี่ยงประมาณการกำไรของเราปี FY24F 15% จากการโอนที่ดินเชิงพาณิชย์ (1.8 พันลบ.) ที่ Amata City Bien Hoa อาจล่าช้าไปเป็นปี 2026 อย่างไรก็ตาม การประกาศขึ้นอัตรา Ft เป็น 0.8955/kWh สำหรับม.ค.-เม.ย. 2024 จาก 0.2048/kWh และสมมติฐานว่าจะทรงตัวตลอดทั้งปี จะลดผลกระทบได้เหลือ 10%

 

จำนวนยื่นขอบีโอไอหนาแน่น สะท้อนอุปสงค์ที่ดินแข็งแกร่ง

ใน 9M23 ยอดยื่นขอบีโอไอในประเทศไทยเพิ่มขึ้น 22% yoy เป็น 517 พันลบ.(1,555 โครงการ +31% yoy) ยอดทั้งปีอาจมากกว่าปีที่แล้ว (665 พันลบ. จำนวน 2,119 โครงการ) FDI ครองมูลค่าสูงถึง 77% โดยเพิ่มขึ้น 43% yoy เป็น 399 พัน
ลบ. (910 โครงการ +48%) การลงทุนส่วนใหญ่มาจากจีน (97 พันลบ.) สิงคโปร์ (80พันลบ.) และญี่ปุ่น (43 พันลบ.) ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (208 พันลบ. +246% yoy) อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป (56 พันลบ.+4% yoy) และยานยนต์ (42 พันลบ. -47% yoy) ผู้ลงทุนรายใหญ่ที่ได้รับการอนุมัติจากบีโอไอ ได้แก่ ซัมซุง, เคียวเซร่า เอวีเอ็กซ์, แม็กซิม อินทริเกรดเต็ด โปรดักส์, โตชิบา เซมิคอนดัคเตอร์, โซนี่ เทคโนโลยี, ฉางอัน, ไอออน และโฟตอน EEC ยังคงได้รับความนิยมจาก FDI โดยมีส่วนแบ่ง 45% ของการยื่นขอส่งเสริม EEC ตั้งเป้าลงทุน 5 แสนลบ.ในปี 2023-2027 หรือประมาณ 1 แสนลบ.ต่อปี ซึ่งหมายถึงมูลค่าการยื่นขอบีโอไอ 3.33+ แสนลบ.ต่อปี

 

วิเคราะห์หุ้นรายตัว : บล.กรุงศรี AMATA - ยอดขายที่ดินสดใส

 

วิเคราะห์หุ้นรายตัว : บล.กรุงศรี AMATA - ยอดขายที่ดินสดใส

วิเคราะห์หุ้นรายตัว : บล.กรุงศรี AMATA - ยอดขายที่ดินสดใส