เวสต์เทกซัส 91.20 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 94.34 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล

เวสต์เทกซัส 91.20 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 94.34 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล

วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน (20 ก.ย. 66) ราคาน้ำมันดิบปรับลงเล็กน้อย หลังนักลงทุนเริ่มเทขายทำกำไร

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับราคา

- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงเล็กน้อย หลังนักลงทุนเริ่มเทขายทำกำไร จากราคาที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องกว่า 3 วันติดต่อกันสู่ระดับสูงกว่า 95 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 65

+ ตลาดยังคงกังวลอุปทานน้ำมันดิบตึงตัว จากการขยายระยะเวลาในการปรับลดกำลังการผลิตของซาอุดีอาระเบียและรัสเซียรวมกันที่ 1.3 ล้านบาร์เรล ต่อวันจนถึงสิ้นปี 2566 และปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ shale oil ของสหรัฐฯ ในเดือน ต.ค. 66 ที่คาดว่าจะลดลงเป็นเดือนที่สามติดต่อกัน 

+ รัสเซียกำลังพิจารณาเพิ่มการเก็บภาษีการส่งออกผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปทุกประเภทกว่า 250 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 66 ถึง มิ.ย. 67 เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ

+ หลังตลาดปิด สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานสหรัฐฯ (API) เผย ตัวเลขน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 15 ก.ย. 66 ปรับลดลงกว่า 5.25 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับตัวลดลงเพียง 2.7 ล้านบาร์เรล
 

ราคาน้ำมันเบนซิน

ราคาน้ำมันเบนซินปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังตลาดคาดการณ์ปริมาณการนำเข้าน้ำมันเบนซินของมาเลเซียมีแนวโน้มปรับตัวลดลง จากการกลับมาดำเนินงานของโรงกลั่นภายในประเทศ


ราคาน้ำมันดีเซล

ราคาน้ำมันดีเซลปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังจีนมีแนวโน้มส่งออกเพิ่มขึ้น หลังรัฐบาลคาดจะปรับลดโควต้าการส่งออกน้ำมันเตา 0.8 ล้านตัน เป็นน้ำมันเบนซิน ดีเซล และน้ำมันเครื่องบิน สำหรับปีนี้ ท่ามกลางการปิดซ่อมบำรุงของโรงกลั่นในเกาหลีใต้
 

เวสต์เทกซัส 91.20 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 94.34 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล