เวสต์เทกซัส 91.48 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 94.43 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล

เวสต์เทกซัส 91.48 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 94.43 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล

วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน (19 ก.ย. 66) ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มต่อเนื่อง หลังตลาดกังวลอุปทานตึงตัว

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับราคา

+ ราคาน้ำมันดิบยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังตลาดกังวลอุปทานน้ำมันดิบตึงตัว จากการขยายระยะเวลาในการปรับลดกำลังการผลิตของซาอุดีอาระเบียและรัสเซีย ที่ 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวันจนถึงสิ้นปี 2566 ขณะที่สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) ระบุในรายงานประจำเดือนว่า ผลผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ จากภูมิภาคที่มีการผลิตหินดินดาน (shale oil) คาดว่าจะลดลงเป็นเดือนที่สามติดต่อกันในเดือนต.ค. สู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 66

- วานนี้ (18 ก.ย.) เจ้าชายอับดุลอาซิซ บิน ซัลมาน รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของซาอุดีอาระเบีย ได้แถลงเพื่อปกป้องการลดกำลังผลิตน้ำมันของกลุ่ม OPEC+ โดยกล่าวว่าตลาดพลังงานระหว่างประเทศจำเป็นต้องมีกฎระเบียบที่ยืดหยุ่นได้เพื่อจำกัดความผันผวนในตลาด ขณะเดียวกันก็เตือนถึงความไม่แน่นอนของอุปสงค์จากจีน การเติบโตของยุโรป รวมทั้งการดำเนินการของธนาคารกลางเพื่อรับมือกับภาวะเงินเฟ้อ

+ นักวิเคราะห์คาดว่าในไตรมาสที่สี่ของปี อุปทานน้ำมันดิบทั่วโลกจะขาดดุลกว่า 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันคงคลังลดลง และทำให้ราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงต่อเนื่องไปถึงปี 2567 โดย Citibank คาดราคาน้ำมันดิบเบรนท์อาจพุ่งสูงเกิน 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในช่วงสิ้นปีนี้

เวสต์เทกซัส 91.48 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 94.43 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล


 

ราคาน้ำมันเบนซิน

ราคาน้ำมันเบนซินปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังการส่งออกน้ำมันเบนซินจากสิงคโปร์ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน อย่างไรก็ดี ราคายังได้รับแรงหนุนจากอุปทานจากไต้หวันที่คาดว่าจะลดลงในช่วงการปิดซ่อมบำรุงของโรงกลั่น 


ราคาน้ำมันดีเซล

ราคาน้ำมันดีเซลปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังตัวเลขส่งออกน้ำมันดีเซลจากจีนในเดือน ส.ค. สูงถึง 1.55 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้เพียง 0.6-0.8 ล้านตัน
 

เวสต์เทกซัส 91.48 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 94.43 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล