เวสต์เทกซัส 86.87 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 89.92 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล

เวสต์เทกซัส 86.87 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 89.92 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล

วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน (8 ก.ย. 66) ราคาน้ำมันดิบปรับลด หลังสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับราคาน้ำมัน 

- ราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัสและราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับลด หลังสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น โดยดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับเพิ่ม 0.1% แตะที่ระดับ 104.98 ผลักดันให้สกุลเงินเยนแตะระดับต่ำสุดในรอบ 10 เดือน และผลักดันให้สกุลเงินยูโรและสเตอร์ลิงแตะระดับที่อ่อนค่าที่สุดในรอบ 3 เดือน เนื่องจากนักลงทุนวางเดิมพันกับเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ยังคงฟื้นตัว ทั้งนี้ นักลงทุนยังคงกังวลว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจในหลายประเทศ อาจส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันปรับลดลงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

-/+ สำนักงานศุลกากรจีนเปิดเผยว่า ปริมาณส่งออกของจีนในเดือน ส.ค. 66 ปรับลดลง 8.8% เทียบกับปีก่อนหน้า และปริมาณนำเข้าของจีนในเดือน ส.ค. 66 ปรับลดลง 7.3% เทียบกับปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ปริมาณนำเข้าน้ำมันดิบของจีนในเดือน ส.ค. 66 ปรับเพิ่มขึ้น 30.9% เทียบกับปีก่อนหน้า และสำหรับ 8 เดือบแรกของปี 66 จีนนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 14.7% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า มาสู่ที่ระดับ 379 ล้านตัน 

+ สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยตัวเลขน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 1 ก.ย.66 ปรับลดลง 6.3 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 416.6 ล้านบาร์เรล ซึ่งปรับลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 5.6 ล้านบาร์เรล 

 

 

ราคาน้ำมันเบนซิน

ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังอุปสงค์น้ำมันเบนซินของฟิลิปปินส์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นก่อนช่วงเทศกาลคริสต์มาส อย่างไรก็ตาม อุปทานน้ำมันเบนซินของเกาหลีใต้มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น


ราคาน้ำมันดีเซล

ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังสต็อกน้ำมันดีเซลของญี่ปุ่น ปรับเพิ่มขึ้น 1.9% สู่ระดับ 9.1 ล้านบาร์เรล ในสัปดาห์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม อุปทานน้ำมันดีเซลในภูมิภาคมีแนวโน้มตึงตัว

เวสต์เทกซัส 86.87 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 89.92 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล