กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ รีบาวนด์ เกาะกระแสต่างประเทศที่เป็นบวกมากขึ้น

กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ รีบาวนด์ เกาะกระแสต่างประเทศที่เป็นบวกมากขึ้น

สัปดาห์นี้ตลาดน่าจะฟื้นตัวได้ในวงกว้างมากขึ้น (better market breadth)

ในสัปดาห์ที่แล้ว (29 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน) ตลาดหุ้นไทยพักฐาน และอ่อนแอกว่าที่เราคาดไว้เล็กน้อย โดยปัจจัยทั้งภายนอกและภายในมีทั้งบวกและลบ ทำให้ผลกระทบสุทธิต่อตลาดออกไปในเชิง neutral สำหรับปัจจัยภายนอก นักลงทุนมั่นใจมากขึ้นว่า FOMC จะคงอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate เอาไว้เท่าเดิมในการะประชุมวันที่ 14 มิถุนายน แต่ภาวะโดยรวมของหุ้น cyclical ได้รับผลกระทบจากตัวเลข PMIs ที่อ่อนแอของจีน และราคาน้ำมันดิบที่ลดลงอย่างมากในสัปดาห์ที่แล้ว ส่วนปัจจัยภายในประเทศ ยังคงเผชิญแรงกดดันทางการเมืองต่อไป เพราะการตั้งรัฐบาลใหม่ยังมีความไม่แน่นอนอีกหลายเรื่อง แต่ยังดีที่ตลาดตอบรับในทางบวกกับผลการประชุม กนง. ที่ขึ้นดอกเบี้ยอีก 25bps เป็น 2.00% ตามคาด แต่ไม่ได้ปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวของ GDP ปี 2566 ลง

 

สำหรับในสัปดาห์นี้ (6 – 9 มิถุนายน) เราคาดว่าดัชนี SET จะฟื้นตัวขึ้น โดยในระยะสั้น risk appetite ทั้ง

โลกน่าจะดีขึ้น และส่งผลดีต่อกระแสเงินทุนไหลเข้าหุ้น แต่ upside ของตลาดจะยังคงถูกกดจากปัจจัยความไม่แน่นอนทางการเมือง ทั้งนี้ หลังจากที่ปัญหาเพดานหนี้สหรัฐได้ข้อสรุปที่ชัดเจนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ยังมีข่าวดีอีกจากตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐในเดือนพฤษภาคมที่ออกมาดีเกินคาด ในขณะที่อัตราการว่างงานลดลงเล็กน้อย ส่วนค่าจ้างรายชั่วโมงต่ำกว่าประมาณการเล็กน้อย ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้นักลงทุนมั่นใจมากขึ้นว่า Fed จะคงอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ที่เดิมในการประชุม FOMC สัปดาห์หน้า เราคิดว่าดัชนี SET น่าจะยัง under-perform ตลาดหุ้นอื่น ๆ ในเอเชีย เพราะประเด็นความไม่แน่นอนเกี่ยวกับ
การจัดตั้งรัฐบาลใหม่

 

 

 

 

 

ปัจจัยภายนอกสนับสนุนให้ตลาดอยู่ในโหมดกล้าเสี่ยง (risk-on)

ปัจจัยภายนอก: เนื่องจากปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับเพดานหนี้สหรัฐ และแนวโน้มผลการประชุม FOMC ค่อนข้างชัดเจนแล้ว ดังนั้น ตลาดจึงน่าจะยังอยู่ในโหมด risk-on ต่อไป ทั้งนี้ สัปดาห์นี้จะเป็นช่วงที่เรียกว่า blackout period ก่อนการประชุม FOMC ดังนั้น จึงจะไม่มีการกล่าวสุนทรพจน์โดยผู้บริหาร Fed มากระทบตลาด ในขณะเดียวกัน Fed Fund Futures ล่าสุดสะท้อนว่ามีโอกาส 75% ที่ Fed จะคงดอกเบี้ยเอาไว้เท่าเดิมในการประชุมวันที่ 14 มิถุนายน ก่อนที่จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 25bps ในการประชุมเดือนกรกฎาคม

ปัจจัยภายในประเทศ: หุ้นธนาคารของไทยน่าจะ outperform ต่อไปอีกในระยะสั้น เพราะ BBL* เริ่มนำร่องขึ้นดอกเบี้ยรอบใหม่เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่าธนาคารหลักอื่น ๆ จะปรับดอกเบี้ยตาม ทั้งนี้ นักลงทุนต้องจับตาตัวเลข CPI เดือนพฤษภาคมในวันนี้ ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ของเราคาดว่า headline CPI จะเพิ่มขึ้น 2.39% YoY จาก 2.67% YoY ในเดือนเมษายน 2566

 

 

 

ซื้อเก็งกำไรหุ้นหลักในกลุ่มธนาคาร และพลังงาน แต่ยังต้องระวังจิตวิทยาตลาดที่อาจเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว

เนื่องจากปัจจัยมหภาคโลกดีขึ้น ในขณะที่ตลาดหวังว่า Fed จะหยุดขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมรอบนี้ และ ราคาน้ำมันดีดตัวขึ้นอย่างมากหลังจากที่ซาอุดิ อาระเบียลดการผลิตโดยสมัครใจลง เราจึงเห็นโอกาสในการเข้าเก็งกำไรหุ้นหลักในกลุ่มธนาคาร และพลังงาน อย่างเช่น BBL*, KBANK*, TTB*,TOP* และ PTTGC* อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหรัฐยังมีความไม่แน่นอนสูง ในขณะที่สถานการณ์การเมืองไทยก็ยังไม่นิ่ง ดังนั้น กระแสเงินทุนไหลเข้าหุ้นไทยน่าจะยังค่อนข้างอ่อนแอเมื่อเทียบกับประเทศ
อื่น ๆ ส่วนหุ้นกลุ่ม mid-cap เรายังคงชอบหุ้นไฟแนนซ์ประเภท non-bank และหุ้นอาหารแปรรูป อย่างเช่น SAWAD*, TIDLOR*, GFPT และ SUN