กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ น่าจะฟื้นตัวได้บ้าง แต่ยังไปไม่ไกล

กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ น่าจะฟื้นตัวได้บ้าง แต่ยังไปไม่ไกล

ตลาดน่าจะปรับขึ้นได้ แต่ความไม่แน่นอนของนโยบายการเงินสหรัฐฯ จะยังจำกัดทางขึ้นไว้ ในสัปดาห์ที่แล้ว (22-26 พฤษภาคม) ตลาดหุ้นไทยอยู่ช่วงพักฐาน ซึ่งยังดีกว่าที่เราคาดเอาไว้เล็กน้อย

เนื่องจากนักลงทุนคลายกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองของไทย และผลของนโยบายที่จะกระทบกับบริษัทจดทะเบียน โดยหัวหน้าพรรคก้าวไกลได้บอกกับผู้สื่อข่าวว่าแผนขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 450 บาท/วัน ไม่สามารถดำเนินการได้ในทันที ซึ่งทำให้ราคาหุ้นหลักสองสามตัวดีดกลับขึ้นมาหลังจากที่ตกลงไปหนักในช่วงก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังระมัดระวังกับภาวะตลาดโลก ซึ่งทำให้ยังมีกระแสเงินทุนไหลออกอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางความไม่แน่นอนของการเจรจาขยายเพดานหนี้สหรัฐและแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย Fed หลังจากที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐยังคงฟื้นตัวได้ดี และอัตราเงินเฟ้อยังไม่ยอมลงง่าย ๆ แม้ว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะลดลงมาแล้วก็ตาม

สำหรับในสัปดาห์นี้ (29 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน) เราคาดว่าดัชนี SET น่าจะฟื้นตัวได้ ซึ่งจากข่าวล่าสุดว่าทำเนียบขาว และพรรค republican บรรลุข้อตกลงเบื้องต้นที่จะขยายเพดานหนี้ให้ทันกำหนดเส้นตายน่าจะเป็นปัจจัยบวกต่อสินทรัพย์เสี่ยงโดยรวม อย่างไรก็ตาม ปัจจัยมหภาคของสหรัฐยังไม่สดใสไปเสียทีเดียว โดยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา มีการประกาศดัชนีเงินเฟ้อ core PCE เดือนเมษายนออกมาที่ 4.7% YoY ซึ่งสูงกว่าที่ตลาคาดเอาไว้เล็กน้อย ทำให้ราคาใน Fed Fund Futures สะท้อนความคาดหวังของตลาดว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 25bps เป็น 5.50% ในการประชุม FOMC วันที่ 14 มิถุนายน ซึ่งหากข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในเดือนพฤษภาคมออกมาดีเกินคาด ก็อาจทำให้ตลาดเป็นกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed สำหรับปัจจัยภายในประเทศ ประเด็นร้อนเกี่ยวกับการแย่งชิงตำแหน่งประธานสภายังคงเป็นข่าวพาดหัวในหน้าข่าวการเมืองไทย

 

 

 

ติดตามบทสรุปของประเด็นเพดานหนี้สหรัฐ, ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ และไทย รวมทั้งผลการประชุมกนง.

ปัจจัยต่างประเทศ: มีสองสามเหตุการณ์ที่สหรัฐในสัปดาห์นี้ที่จะส่งผลต่อตลาด เหตุการณ์แรกคือ การเจรจาขยายเพดานหนี้สหรัฐ ซึ่งคาดว่าจะบรรลุข้อตกลงได้ในสัปดาห์นี้ และทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลลดลง พร้อมทั้งหนุนภาวะตลาดหุ้นเอเชีย เหตุการณ์ที่สองคือสหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญเดือนพฤษภาคม อย่างเช่นดัชนี ISM ภาคการผลิตในวันที่ 1 มิถุนายน และรายงานการจ้างงานรายเดือนในวันที่ 2 มิถุนายน ซึ่งตัวเลขเหล่านี้อาจจะส่งผลกระทบกับมุมมองของนักลงทุนต่อทิศทางของ FOMC ในช่วงต่อไป
 

ปัจจัยในประเทศ: นอกจากปัจจัยการเมืองเรื่องการเจรจาตำแหน่งประธานสภา และรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายด้านเศรษฐกิจและสังคมแล้ว ในสัปดาห์นี้ยังมีเหตุการณ์ทางด้านของเศรษฐกิจอีก อย่างเช่น i) รายงานภาวะเศรษฐกิจรายเดือนของ ธปท. ที่จะเผยแพร่ในวันที่ 31 พฤษภาคม และ ii) ผลการประชุม กนง. ในวันที่ 31 พฤษภาคม ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ของเรา และ consensus คาดว่า กนง. จะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 25bps เป็น 2.00% ซึ่งน่าจะเป็นการจบรอบดอกเบี้ยขาขึ้นของไทยในรอบนี้

 

แนะนำ ซื้อเก็งกำไรหุ้นที่อ่อนไหวกับนโยบายภาครัฐ ที่ลดลงแรงก่อนหน้านี้, หุ้นกลุ่มไฟแนนซ์ และหุ้นกลุ่ม food บางตัว

จากความคาดหวังด้านบวกในระยะสั้นเกี่ยวกับดีลการขยายเพดานหนี้สหรัฐ และมุมมองของนักลงทุนว่านโยบายสองสามอย่างที่พรรคการเมืองหาเสียงเอาไว้และไม่เป็นผลดีกับตลาดจะไม่ถูกนำไปปฏิบัติอย่างเต็มที่ ทำให้เรามองเห็นโอกาสเก็งกำไรในหุ้นที่อ่อนไหวกับนโยบายรัฐที่ปรับลดลงมาในช่วงที่ผ่านมา, หุ้นกลุ่มไฟแนนซ์ที่มีสัญญาณว่า NPLs ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว และ หุ้นกลุ่ม food บางตัว โดยหุ้นที่เราชอบได้แก่ GULF*, CPALL*, MAKRO, TIDLOR*, SAWAD*, GFPT และ SUN