กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ น่าจะมีช่วงรีบาวนด์ระหว่างสัปดาห์ แต่ภาพรวมยังแกว่งในกรอบ

กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ น่าจะมีช่วงรีบาวนด์ระหว่างสัปดาห์ แต่ภาพรวมยังแกว่งในกรอบ

อาจฟื้นตัวได้บ้าง แต่ภาพรวมยังแกว่งตัวในกรอบจำกัด

ในสัปดาห์ที่แล้วซึ่งมีการซื้อขายเพียงสองวัน (2-3 พฤษภาคม) ตลาดหุ้นไทยผันผวนมากทั้งสองวันถึงแม้ว่าปัจจัยภายนอกจะดูเป็นลบ จากความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจสหรัฐถดถอย และปัญหาในกลุ่มธนาคารในภูมิภาค (regional banks) และธนาคารขนาดกลางของสหรัฐ แต่นักลงทุนบางส่วนมองว่าดัชนี SET ที่ระดับปัจจุบันสะท้อนความไม่แน่นอนจากปัจจัยภายนอกไปแล้วนอกจากนี้ หุ้น cyclical ในกลุ่มพลังงาน และปิโตรเคมียัง under-performed ดัชนี SET จากการที่ราคาน้ำมันดิบลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับมุมมองเชิงกลยุทธ์ของเรา

 

สำหรับในสัปดาห์นี้ (8 – 12 พฤษภาคม) เราคิดว่าดัชนี SET น่าจะยังเทรดอยู่ในช่วงแคบ ๆ ต่อไป โดยในช่วงที่ตลาดการเงินไทยปิดยาว 4 วัน มีทั้งปัจจัยบวกและลบเกิดขึ้นในตลาดโลก ซึ่งในด้านบวก Fed ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 25bps เป็น 5.25% และส่งสัญญาณว่าจะหยุดขึ้นดอกเบี้ยต่อ นอกจากนี้ ตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐล่าสุดยังออกมาแข็งแกร่งเกินคาด และคลายความกังวลเฉพาะหน้าเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย อย่างไรก็ตาม เรามองว่าปัจจัยเหล่านี้อาจจะหักล้างไปกับความกังวลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมธนาคารของสหรัฐ และราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างมากในช่วงที่ตลาดไทยปิดไป ซึ่งจะส่งผลกระทบกับหุ้น global cyclical นอกจากนี้ ประเทศไทยจะจัดการเลือกตั้งในวันที่ 14 พฤษภาคม และนักลงทุนยังคงติดตามผลการเลือกตั้งอย่างใกล้ชิด

 

 

 

ติดตามตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐ ผลประกอบการ 1Q66 ของบจ. ไทย และผลการเลือกตั้งของไทย

ปัจจัยต่างประเทศ: หลังผลการประชุม FOMC และการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจเดือนเมษายนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นักลงทุนควติดตามดัชนี CPI เดือนเมษายนของสหรัฐ ซึ่งเป็นตัวเลขสำคัญที่จะประกาศออกมาในวันที่ 10 พฤษภาคม ทั้งนี้ consensus คาดว่าเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ 5.0% YoY ซึ่งเป็นระดับเดียวกับเมื่อเดือนมีนาคม และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะอยู่ที่ 5.5% ลดลงเล็กน้อยจาก 5.6% ในเดือนมีนาคม ทั้งนี้ กระแสข่าวเกี่ยวกับธนาคารในภูมิภาคของสหรัฐอาจจะยังคงเป็นปัจจัยลบ และ
ส่งผลกระทบต่อสภาวะโดยรวมของตลาดหุ้นสหรัฐ

ปัจจัยในประเทศ: ในสัปดาห์นี้จะมีบริษัทนอกกลุ่มการเงินส่งงบ 1Q66 เป็นจำนวนมาก ซึ่งทุกบริษัทกำหนดส่งงบภายในวันที่ 16 พฤษภาคม ในขณะเดียวกัน เราคาดว่าจะมีการปรับลดประมาณการ EPS ของบางบริษัทลงหลังงบออก แต่เราคาดว่าไม่น่าจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อมูลค่าของตลาดหุ้นไทย และราคาเป้าหมาย ทั้งนี้ ประเทศไทยกำหนดจัดเลือกตั้งในวันที่ 14 พฤษภาคม ซึ่งเมื่ออิงตามการวิเคราะห์ล่าสุดของเรา ไม่น่าจะมีพรรคการเมืองใดได้เสียงส่วนใหญ่เพียงพรรคเดียว และน่าจะมีการจัดตั้งรัฐบาลผสมแบบหลายพรรค

 

ยังคงเน้นลงทุนหุ้นมีธีมหนุน อย่างเช่น ธนาคาร การบริโภค ท่องเที่ยว และผลประกอบการพลิกฟื้น

เนื่องจากเรามองว่าตลาดน่าจะยังคงพักฐานต่อไป และหุ้นกลุ่ม global cyclical มีแนวโน้มจะอ่อนแอ ดังนั้น เราจึงแนะนำให้นักลงทุนยังคงเกาะอยู่กับหุ้นมีธีมสนับสนุนอย่างเช่น ธนาคาร commerce และท่องเที่ยว ซึ่งทั้ง 3 กลุ่มนี้น่าจะได้อานิสงส์จากนโยบายของรัฐบาลใหม่ ไม่ว่าขั้วการเมืองไหนจะชนะการเลือกตั้ง โดยหุ้นที่เราชอบได้แก่ BBL*, KTB*, CPALL*, AOT* และ ERW* นอกจากนี้ เรายังชอบหุ้นที่ผลประกอบการ 1Q66 พลิกฟื้นในธีมสถานีบริการน้ำมันรายย่อยอย่างเช่น OR* และ PTG* ด้วย