ITC คาดยอดขายอ่อนแอกดดัน margin ใน 1H66F

ITC คาดยอดขายอ่อนแอกดดัน margin ใน 1H66F

ผู้บริหาร ITC ชี้ว่ายอดขายที่อ่อนแอลงใน 1Q66 เป็นผลหลัก ๆ มาจากการลดสต็อกสินค้าคงคลัง (destocked inventory ) ของคู่ค้าในสหรัฐอเมริกาและยุโรป โดยที่คาดปัญหาดังกล่าวจะคลี่คลายลงใน 2Q66F แต่ยังไม่หมดไปทั้งหมด

ทำให้ยอดขายอาจลดลง YoY แต่จะเติบโต QoQ ทั้งนี้ ผลเชิงลบที่เกิดขึ้นกระทบต่อยอดขายมากกว่าที่บริษัทคาดไว้ บริษัทจึงปรับลดเป้าหมายสำหรับปี 2566F ลง ประกอบด้วย i) อัตราการเติบโตยอดขายอยู่ที่ 0 ถึง - 1% (จาก15-17%) ii) ปรับลดอัตรากำไรขึ้นต้น (GPM) ลงอยู่ที่ 22.5-23.5% (จาก 25%) และ iii) ปรับ SG&A ต่อยอดขายอยู่ที่ 6.0-7.0% (จาก 5.5-6.5%)

 

ยังคงมองบวกจากการฟื้นตัวใน 2H66F

ผู้บริหารคาดยอดขายจะฟื้นตัวแรงใน 2H66F และเติบโต YoY ซึ่งมุมมองของบริษัทสอดคล้องกับสมมติฐานของเรา ที่อิงตามยอดขายของแบรนด์อาหารสัตว์เลี้ยงรายใหญ่ของโลกที่ยังเติบโตต่อเนื่องใน 1Q66 ขณะที่ ระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ย (Days inventory outstanding) ของแบรนด์รายใหญ่ (JM Smucker) ส่งสัญญาณว่ากำลังลดลงมาสู่ระดับปกติ สนับสนุนต่อมุมมองว่าวัฏจักรการลดสินค้าคงคลังอาจสิ้นสุดลงในไม่ช้า นอกจากนั้น บริษัทยังมีลูกค้ารายใหม่ในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นรวมทั้งได้วากลยุทธ์เปิดตลาดใหม่ ๆ อย่างในประเทศจีนและอังกฤษ ซึ่งจะช่วยหนุนยอดขายใน 2H66F ส่วนในด้าน GPM เราคาดฟื้นตัวแรงใน 2H66F หนุนจาก product mix ราคาปลาทูน่าลดลงตามราคาน้ำมันที่ลดลงและราคาขายสูงขึ้น

 

 

ปรับลดประมาณการกำไรสุทธิลง 18-20%

เราปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2566F ลง 20% อยู่ที่ 3.53 พันล้านบาทและปี 2567F ลง 18% อยู่ที่ 4.38 พันล้านบาท มาจาก i) รายได้ลดลง 13% ในทั้งสองปี ii) GPM ลดลง 110bps เป็น 22.7% ปี 2566F และ 100bps อยู่ที่ 23.0% ในปี 2567F จากยอดขายต่ำลง และสมมติฐานราคาปลาทูน่าสูงขึ้นเล็กน้อยปี 2566F และ iii) ปรับเพิ่ม SG&A ต่อยอดขายขึ้น 80bps อยู่ที่ 6.3% ใน 2566F และ 40bps เป็น 5.7% ในปี 2567F จากยอดขายที่ลดลง ทั้งนี้ เราปรับเพิ่มรายได้อื่นๆ ขึ้น เนื่องจากมีรายได้ดอกเบี้ยจากการลงทุนในตราสารหนี้ จากมีเงินสดจำนวนมากหลัง IPO และคาดมีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนน้อยลงเพราะปริมาณขายลดลง

 

Valuation & action

เรายังคงแนะนำซื้อ ITC แต่ปรับลงราคาเป้าหมายปี 2566 ลงอยู่ที่ 23.60 บาท อิงจาก PER ที่ 20x จากเดิมที่ 29.30 บาท

 

Risks

ความผันผวนของต้นทุนวัตุดิบ อัตราแลกเปลี่ยนและภาวะตลาดแข่งขันสูง