BANKING SECTOR - ยอดจองรถแข็งแกร่งจากงาน Motor Show

BANKING SECTOR - ยอดจองรถแข็งแกร่งจากงาน Motor Show

ยอดจองรถจากงาน Bangkok International Motor Show ครั้งที่ 44 เพิ่มขึ้นถึง 36% yoy และสูงกว่างาน Motor Show เมื่อเดือนธันวาคม 2022 ราว 17% โดย Toyota และ Honda ยังคงมียอดจองสูงที่สุด

ในขณะที่ยอดจองของ MG  และ Suzuki ก็เพิ่มขึ้นอย่างมากจากการออกรถรุ่นใหม่ นอกจากนี้ในส่วนของรถ EV สามารถเก็บยอดจองเพิ่มขึ้นได้จากปีก่อนถึงสองเท่าตัว เราประเมินว่ายอดจองในงานนี้จะช่วยสร้างสภาวะเชิงบวกให้กับธนาคารขนาดกลางและเล็กที่เน้นสินเชื่อ HP ซึ่งได้แก่ TISCO, KKP และ TTB

 

ยอดจองรถในงาน Motor Show แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2018

Grandprix International ได้จัดงาน Bangkok International Motor Show เมื่อวันที่ 22 มีนาคม – 2 เมษายน 2023 ที่ผ่านมา ซึ่งตามปกติแล้วจะมีการจัดงาน Motor Show ในประเทศไทยปีละสองครั้ง ในเดือนมีนาคมและธันวาคม ซึ่งงาน Motor Show ในเดือนธันวาคมมักจะได้รับความสนใจจากตลาดมากกว่า และมียอดจองสูงกว่าเพราะค่ายรถมักจะเปิดตัวรถรุ่นใหม่ในช่วงปลายปี อย่างไรก็ตาม ผู้จัดงานเปิดเผยว่าในปีนี้ Motor show รอบมี.ค. มีผู้เข้าชมงาน 1.62 ล้านคน ซึ่งสูงกว่างานในเดือนมี.ค. 2022 ที่ 1.58 ล้านคน และงานในเดือนธ.ค. 2022 ที่ 1.33 ล้านคน อีกทั้งยอดจองรถในงานทำได้ถึง 45,983 คัน เพิ่มขึ้น 36% yoy และสูงกว่ายอดจองในงาน Motor Show รอบเดือนธ.ค. 2022 ถึง 17% โดยแบ่งเป็นยอดจองรถยนต์ 42,885 คัน (+35% yoy) และยอดจองรถมอเตอร์ไซค์ 3,098 คัน (+52% yoy) ซึ่งถือเป็นยอดจองที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2018 สะท้อนถึงการฟื้นตัวของกำลังซื้อ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น

 

 

 

รถยนต์ไฟฟ้า (electric vehicle) มาแรง

Toyota ยังคงเป็นอันดับหนึ่งในแง่ของยอดจองรถจากงานนี้ ซึ่งอยู่ที่ 6,042 คัน (+18% yoy) คิดเป็น 14% ของยอดจองทั้งหมด รองลงมาคือ Honda ที่ 4,304 คัน (+43% yoy) คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดที่ 10% นอกจากนี้ ยอดจองของ Suzuki และ MG ก็เพิ่มขึ้นอย่างมากเนื่องจากมีการออกรถรุ่นใหม่ที่เรียกได้ว่า super-hot คือ “Suzuki Jimmy Sierra” และ “MG Maxus 9” ในขณะที่ยอดจองของค่าย Mitsubishi และ Mercedes ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และหลุดจาก top 10 ไปโดยในส่วนของ Mitsubishi สาเหตุหลักเป็นเพราะอยู่ในเป็นช่วงปลายของ triton รุ่นปัจจุบัน และผู้ซื้อกำลังรอ triton รุ่นใหม่ที่จะเปิดตัวในเดือนกรกฎาคม 2023 สำหรับ Mercedes ไม่มีอะไรตื่นเต้นหลังจากที่เพิ่งเปิดตัว C-class รุ่นใหม่ไปเมื่อปีที่แล้ว อย่างไรก็ดี เรามองว่า surprise หลักในงานนี้ คือการเติบโตของ EV ซึ่งมียอดจองสูงถึงกว่า 9,000 คัน หรือเพิ่มขึ้นสองเท่าตัวจากประมาณ 3,000 คันในปีที่แล้ว สัดส่วนยอดจองรถ EV เทียบกับยอดจองรวมทั้งหมดคิดเป็นสัดส่วนถึง 22% แล้วเทียบจากเพียงประมาณ 10% ในปี มี.ค. 2022 โดยสองผู้ผลิต EV รายใหญ่จากจีน คือ GWM (อันดับ 5) และ BYD (อันดับ 9) ก้าวคิดมาติดกลุ่ม top 10 โดยทำยอดจองรถในงาน Motor Show รวมกันได้ถึง 5,854 คัน เพิ่มขึ้น 24% จาก 4,709 คันในเดือนธ.ค. 2022 และเพิ่มขึ้นถึง 285% จาก 1,520 คันในเดือนมี.ค. 2022 ซึ่งยอดจอง EV ของสองค่ายนี้คิดเป็น 14% ของยอดจองรถทั้งหมด และสูงถึง 63% ของยอดจอง EV รวมในงานนี้

ธนาคารขนาดกลางถึงเล็กได้อานิสงส์จากอุปสงค์ในการซื้อรถที่เพิ่มขึ้น

เรายังคงให้น้ำหนักหุ้นกลุ่มธนาคารที่ OVERWEIGHT โดยเลือก SCB (ราคาเป้าหมาย 160 บาท) และ BBL (ราคาเป้าหมาย 180 บาท) เป็นหุ้นเด่นในกลุ่ม อย่างไรก็ตาม เรามองว่ายอดจองรถที่เพิ่มขึ้นอย่างมากจากงาน Motor Show น่าจะช่วยสร้างสภาวะตลาดเชิงบวกให้กับธนาคารขนาดกลางถึงเล็กที่เน้นสินเชื่อเช่าซื้อ อย่างเช่น TISCO (สินเชื่อ HP มีสัดส่วน ~50% ของพอร์ต), KKP (สินเชื่อ HP มีสัดส่วน ~50% ของพอร์ต) and TTB (สินเชื่อ HP มีสัดส่วน ~30% ของพอร์ตสินเชื่อ) เราเชื่อว่าธนาคารเหล่านี้จะได้อานิสงส์จากแนวโน้มการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของสินเชื่อ ตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างชัดเจนมากขึ้น และยอดขายรถที่เพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าธนาคารเหล่านี้จะถูกกดดันจากดอกเบี้ยขาขึ้น เพราะสินเชื่อส่วนใหญ่ในพอร์ตคิดดอกเบี้ยคงที่ แต่ผลกระทบได้ถูกบรรเทาไปแล้วหลังธนาคารใช้กลยุทธ์ล็อกดอกเบี้ยเงินฝากไปแล้วก่อนหน้า