CPALL เน้นบริหารจัดการต้นทุนเป็นหลัก

CPALL เน้นบริหารจัดการต้นทุนเป็นหลัก

แนวโน้มรายได้จากธุรกิจร้านสะดวกซื้อยังเป็นบวกตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่กลับมา และกิจกรรมทางธุรกิจที่ฟื้นตัว (SSSG ในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์เป็นเลขหลักเดียวสูง ๆ เทียบ +15% ใน4Q65)

ทั้งนี้ เนื่องจากผลการดำเนินงานส่วนใหญ่ของบริษัทสอดคล้องไปกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวม เราจึงคาดว่ายอดขายจากร้านสะดวกซื้อจะดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะต่อไป

 

ตั้งเป้าเพิ่ม margin ของสินค้าอีกประมาณ 20bps ต่อปี

บริษัทตั้งเป้าเพิ่มอัตรากำไรขั้นต้นของสินค้าอีกประมาณ 10-20bps ต่อปี โดยจะเน้นสินค้าพร้อมรับประทาน (ซึ่งเป็นจุดแข็งของ CPALL) ทั้งนี้ ยอดขายสินค้าหมวดอาหารน่าจะเพิ่มขึ้นตามกิจกรรมทางธุรกิจโดยรวม และบริการ delivery ของบริษัท โดยสัดส่วนรายได้สินค้าประเภทอาหาร และไม่ใช่อาหารเมื่อสิ้นปี 2565 อยู่ที่ 73.9% และ 26.1% ตามลำดับ ในขณะเดียวกันยอดขาย delivery คิดเป็น 10%ของยอดขายรวม ในขณะเดียวกัน ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ซึ่งได้แก่ ค่าสาธารณูปโภค และต้นทุนค่าแรงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และจะเป็นความท้าทายหลักของบริษัท ทั้งนี้ ค่าสาธารณูปโภค และต้นทุนบุคลากรคิดเป็นประมาณ 2% และ 7% ของยอดขายตามลำดับ

 

 

 

 

ปรับประมาณการกำไรเล็กน้อย

เราทบทวนสมมติฐานของเราใหม่เพื่อสะท้อนถึง i) SSSG ที่ดีเกินคาดในปี 2565 และแนวโน้มด้านบวก QTD และ ii) ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ทำให้เราปรับลดประมาณการกำไรปี 2566 ลงอีก 10% ดังนั้น เราจึงคาดว่ากำไรของ CPALL ในปีนี้จะโต 29% และในปี 2567 จะโต 16%

 

Valuation & action

เราปรับลดราคาเป้าหมายสิ้นปี 2566 ลงจากเดิมที่ 74.00 บาท เหลือ 67.00 บาท อิงจาก PER ที่ 35.0x (ค่าเฉลี่ยในอดีตระหว่าง MAKRO และ CPALL +1.0 S.D.) เนื่องด้วยปัจจัยความกังวลด้านค่าใช้จ่ายบวกกับ upside ที่จำกัด เราจึงปรับคำแนะนำจาก “ซื้อ” เป็น “ถือ”

 

Risk

เศรษฐกิจชะลอตัวลง, ขยายสาขาใหม่ได้ช้ากว่าแผนที่วางไว้, disruption จากเทคโนโลยีใหม่มาใช้, ถูกยกเลิกการใช้เครื่องหมายการค้า 7-Eleven, ความเสี่ยงด้าน logistic