SCB - แนวโน้มแข็งแกร่งแม้จะสะดุดช่วงสั้น

SCB - แนวโน้มแข็งแกร่งแม้จะสะดุดช่วงสั้น

กำไรของ SCB ใน 4Q22 ออกมาต่ำกว่าที่คาดจากผลขาดทุน MTM และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่สูงจากการปรับโครงสร้าง ถึงแม้ว่ากำไรในปี FY22 จะโตเพียง 7%

แต่เราคาดว่ากำไรในปี FY23 จะโตแรงถึง 37% จากพอร์ตสินเชื่อที่ขยายตัวและ NIM ที่เพิ่มขึ้น กอปรกับcredit cost ลดลงต่อ เราปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี FY23-24 ขึ้นอีก 6-7% คงคำแนะนำซื้อ SCB ประเมินราคาเป้าหมายใหม่ 160 บาท

                                                             

กำไรต่ำเกินคาดเพราะผลขาดทุน MTM และ OPEX สูง

กำไรสุทธิของ SCB ใน 4Q22 รายงานอยู่ที่ 7.1 พันล้านบาท ลดลง 31% qoq และ 9% yoy ต่ำกว่าประมาณการของเรา 31% และต่ำกว่า consensus 27% สาเหตุหลักมาจาก non-NII อ่อนแอ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูง โดย Non-NII อยู่ที่ 8.9 พันล้านบาท ลดลง 26% qoq และ 38% yoy เพราะรายได้ค่าธรรมเนียมอ่อนแอ และมีผลขาดทุน MTM ประมาณ 500 ล้านบาท จากที่ตามปกติจะมีกำไรประมาณไตรมาสละ 2-3 พันล้านบาท นอจกากนี้ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานยังเพิ่มขึ้นอย่างมากถึง 23% qoq และ 21% yoy ซึ่งสาเหตุสำคัญคือต้นทุนที่เกิดจากการปรับโครงสร้างธุรกิจ โดยสัดส่วน C/I พุ่งขึ้นมาอยู่ที่ 54.5% จาก 42.6% ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะทีด้าน ECL ลดลงเล็กน้อยเหลือ 7 พันล้านบาท จากเดิมที่ 7.8 พันล้านบาท หลัง NPL ทรงตัว QoQ อยู่ที่ 3.34%

 

 

 

เร่งขยายพอร์ตสินเชื่อในขณะที่ก็ NIM เพิ่มขึ้น

SCB คาดว่าแว้ดล้อมโดยรวมจะเอื้อต่อธุรกิจธนาคารในปี 2023 โดยประเมินว่าอัตราการขยายตัวของ GDP ไทยจะเร่งตัวขึ้นเป็น 3.4% จากประมาณ 3.0% ในปี 2021  นอกจากนี้ SCB ยังคาดว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีกสามครั้งจาก 1.25% ในปัจจุบันเป็น 2.00% ภายในสิ้นปี 2023 ดังนั้น ผู้บริหารจึงตั้งเป้าจะเร่งขยายพอร์ตสินเชื่อ 5-8% ในปี 2023 หลังจากที่ขยายตัวเพียง 3% ในปี 2022 ทั้งนี้ประเมินว่า NIM จะเพิ่มขึ้นจาก 3.3% ในปีที่แล้วเป็น >3.5% หรือ ++20bps และคาดว่า credit cost จะลดลงมา 145bps ในปี 2022 เหลือ 120-140bps หลังจากที่ SCB ตั้งสำรองไว้สูงในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ดังนั้น ธนาคารจึงมีสัดส่วน coverage ratio สูงที่ 160% ในขณะเดียวกัน ธนาคารตั้งเป้าจะรักษาสัดส่วน C/I เอาไว้เท่าเดิมที่ระดับประมาณ 40% กลาง ๆ ในปี 2023 แต่คาดว่าจะทยอยขยับลงมาอยู่ระดับ 35-40% ได้ในระยะยาวจากอานิสงส์ของ platform ดิจิทัล

 

กำไรมีแนวโน้มเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยที่ราคาหุ้นยังมี upside อีกมาก

เราปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี FY23-24 ของ SCB ขึ้น 6-7% เนื่องจากเราปรับเพิ่มสมมติฐาน NIM ขึ้นจาก 3.1% เป็น 3.6% เราคาดว่ากำไรจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งถึง 37% เพราะคาดว่าสินเชื่อของ SCB จะขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ในขณะที่คาดว่า NIM จะดีขึ้นหลังจากที่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย M-rate และ credit cost ลดลงเพราะมีส่วนรองรับหนี้เสียสูง เรามองราคาหุ้นในปัจจุบันยังมี upside อย่างมีนัยสำคัญ และอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงที่ประมาณ 5.5% โดยคาดว่า DPS ปี FY23 จะอยู่ที่ 6 บาท อิงจากอัตราการจ่ายเงินปันผลที่ราว 40% เราคงคำแนะนำซื้อ SCB ประเมินราคาเป้าหมายใหม่ที่ 160 บาท อิงจาก PBV ที่ 1.1x (จากเดิมที่ 155 บาท)