เลือกเก็งกำไรรายตัวระหว่างตลาดแกว่งตัวรอปัจจัยผลักดันใหม่ 

เลือกเก็งกำไรรายตัวระหว่างตลาดแกว่งตัวรอปัจจัยผลักดันใหม่ 

ภาพรวมเคลื่อนไหวตามปัจจัยเศรษฐกิจที่เข้ามากระทบ ได้แก่ 1) ธนาคารโลก (World Bank) ปรับลดคาดการณ์ GDP โลกปี 2566 ลงเหลือ +1.7% (จากเดิม +3.0%)

โดยรวมเป็นผลกระทบของการถดถอยทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดของโควิด, การใช้นโยบายการเงินตึงตัวของธนาคารกลางทั่วโลก และระดับเงินเฟ้อที่สูง อย่างไรก็ตามคาดผลของการปรับประมาณการต่อบรรยากาศลงทุนระยะสั้นไม่สูง เนื่องจากมีการส่งสัญญาณจากหน่วยงานอื่นๆมาก่อนหน้า (อาทิ ช่วง ธ.ค. IMF มองเศรษฐกิจโลกน่าจะเติบโตต่ำ 2%) 2) สุนทรพจน์ของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ กล่าวในงานของธนาคารกลางสวีเดน เมื่อคืนนี้ (10 ม.ค.66) ไม่ได้ส่งสัญญษณใดๆเกี่ยวกับดอกเบี้ย แต่เน้นหน้าที่ของธนาคารกลางในการดูแลเงินเฟ้อ โดยไม่อิงนโยบายทางการเมืองอื่นๆ (ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า โลกร้อน เศรษฐกิจสีเขียว เป็นต้น)  เรามองโฟกัสของนักลงทุนจะกลับไปยังตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ธ.ค. ที่จะประกาศ 12 ม.ค.นี้ (คาด +6.5% ชะลอลงจาก พ.ย.ที่ +7.1%) คาดการอ่อนตัวลงต่อเนื่องของเงินเฟ้อเป็นปัจจัยบวกระยะกลางต่อสินทรัพย์เสี่ยง แม้ระยะสั้นอาจกระตุ้นเงินไหลจากตลาดหุ้นเข้าสู่ตลาดพันธบัตรทำให้อาจเห็นความผันผวนระยะสั้นก็ตาม

 

SET Index ระยะสั้นเข้าสู่บริเวณที่อาจผันผวนจากแรงทำกำไรระยะสั้น การปรับขึ้นทดสอบ 1,690 จุด ที่เป็นแนวต้าน 5 ปี ประกอบกับสัญญาณทางเทคนิคระยะสั้นเกิด Bearish divergence ทำให้อาจเห็นการหมุนกลุ่ม (rotation) โดยการขายทำกำไรสลับในหุ้นที่ขึ้นเยอะ อาทิ ท่องเที่ยว และเข้าซื้อหุ้นรายตัวที่ยังปรับขึ้นน้อย ในเชิงกลยุทธ์เรารอซื้อหุ้นท่องเที่ยวเมื่ออ่อนตัว ขณะการเก็งกำไรระยะสั้นที่นักลงทุนควรเน้น 1) หุ้นเปิดเมืองที่ยัง Laggard อาทิ MINT, VRANDA, MAJOR 2) กลุ่มได้ประโยชน์จากต้นทุนลดลง BJC, BGC, BGRIM, GPSC, NSL, SORKON 3) หุ้นที่ได้ประโยชน์จากจีนเปิดประเทศ อาทิ PTTGC, IRPC, SCC, IVL, PTL, AJ 4) หุ้น Laggard อื่น อาทิ ADVANC, WHAUP, ROJNA, TIDLOR, SAWAD, MTC, AMANAH เป็นต้น
 

 

 

 

ประเด็นลงทุนที่น่าสนใจ 1) ฟื้นตัวจากเศรษฐกิจและเปิดเมือง BBL, SCB, MINT, SPA, VRANDA, TNR, KISS, CPN, CRC, CPALL, MAKRO, MAJOR 2) หุ้นได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจจีนฟื้นตัว (พลังงาน ปิโตรเคมี บรรจุภัณฑ์) ได้แก่ PTTGC, IRPC, SCGP, AJ, PTL, SCC, PTTEP, PTT 3) กลุ่มบริโภคและการย้ายฐานการผลิต ได้แก่ WHA, AMATA, ROJNA 4) การขายไฟพลังงานทดแทน 5200MW GULF, GUNKUL, BCPG, SSP, BGRIM, GPSC, EGCO 5) หุ้นที่น่าสนใจอื่นๆ STP, TNR, DMT, TVDH, KLINIQ, FLOYD, SORKON 6) กลุ่มน้ำตาล เข้า high season และปริมาณการผลิตไทยสูงสุดในรอบ 3 ปี ดีกับ KSL, KTIS, KBS, BRR

 

ภาพรวมกลยุทธ์: ยังคงมุมมองบวกต่อบรรยากาศลงทุนหุ้นไทยแม้อาจมีแรงขายปรับพอร์ตสลับบ้างช่วงต้นปี เป้าหมายระยะสั้น 1,700-1,710 แนวรับ 1,680 จุด เน้นหุ้นกลุ่มเปิดเมือง (ท่องเที่ยว ค้าปลีก ธนาคาร) ที่ยัง Laggard ขณะที่ราคาพลังงานที่ลงและเงินบาทแข็งค่าบวกกับกลุ่มโรงไฟฟ้า และเรามองกลุ่มหุ้นที่ได้ประโยชน์เกี่ยวกับฝั่งต้นทุนที่ลดลง จะมีโอกาสเคลื่อนไหวได้ดี  //หุ้นแนะนำ: AMANAH*, VRANDA, ASW*, GFPT

แนวรับ: 1,680 / แนวต้าน : 1,700-1,710 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%

 

 


 

ประเด็นการลงทุน

สหรัฐเผยสต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเพิ่มขึ้น 1.0% – เพิ่มขึ้น 1.0% mom ในเดือนพ.ย. สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ หลังจากเพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนต.ค.

เจ้าหน้าที่เฟดประสานเสียงหนุนขึ้นดอกเบี้ยทะลุ 5% - ราฟาเอล บอสติก ประธาน เฟด แอตแลนตา กล่าวว่า เฟดมีความมุ่งมั่นที่จะสกัดเงินเฟ้อที่พุ่งสูง และเฟดควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนถึงระดับ 5.0-5.25% เพื่อขจัดอุปสงค์ส่วนเกินออกจากเศรษฐกิจ

นักท่องเที่ยวจีนแห่เข้าไทย หลังไม่พอใจประเทศออกกฎคุมเข้มชาวจีน –  เพราะนโยบายเหล่านี้พุ่งเป้ามาที่ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ และขณะนี้นักท่องเที่ยวชาวจีนกำลังมุ่งหน้าสู่ประเทศไทยและสิงคโปร์ ขณะที่จีนได้ระงับการออกวีซ่าแก่ผู้ที่เดินทางจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เพื่อตอบโต้ต่อมาตรการควบคุมโควิด-19 ที่เข้มงวดต่อผู้ที่เดินทางจากจีน

เคาะค่าใบอนุญาต-ภาษีสุรา เปิดช่องรายย่อยผลิตเพี่อการค้า-บริโภค – ร่างกฎหมายทั้ง 3 ฉบับนี้ สามารถควบคุมการผลิตไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนและต่อสิ่งแวดล้อมได้ โดยไม่จำเป็นต้องออกเป็นพระราชบัญญัติฉบับใหม่ต่างหาก

ญี่ปุ่นกำจัดสัตว์ปีก 10 ล้านตัว – จากสถานการณ์ระบาดของไข้หวัดนก ถือเป็นตัวเลขที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทำให้อาจเป็นปัจจัยบวกกับผู้ส่งออกเนื้อไก่ไทย อาทิ GFPT, CPF, TFG โดยเฉพาะ GFPT (ซื้อ ราคาเหมาะสม 15.80 บาท) ที่ส่งออกไปญี่ปุ่นมากที่สุด

 

ประเด็นติดตาม: 11 ม.ค. – US Crude Oil Inventories / 12 ม.ค. – US CPI, US Initial Jobless Claims / 13 ม.ค. – EU Industrial Production / 18 ม.ค. – EU CPI, US Retail Sales, US PPI / 19 ม.ค. – US Building Permits / 20 ม.ค. – US Existing Home Sales

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)