DTCENT ผู้นำด้าน GPS Tracking มีส่วนแบ่งการตลาดอันดับ 1 ในประเทศไทย

DTCENT ผู้นำด้าน GPS Tracking มีส่วนแบ่งการตลาดอันดับ 1 ในประเทศไทย

DTCENT เป็นผู้ออกแบบ ผลิต จัดจำหน่าย และให้บริการเช่าอุปกรณ์สำหรับติดตามยานพาหนะ (GPS Tracking) รวมไปถึงการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ตามความต้องการของลูกค้า และการพัฒนาโครงการไอโอทีโซลูชั่น (IoT Solution)

ตลอดจนระบบบริหารจัดการอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยเทคโนโลยี AI ให้แก่ลูกค้าทั้งในภาครัฐบาล และในภาคเอกชน โดยจุดประสงค์ของการระดมทุนครั้งนี้เพื่อใช้สำหรับลงทุนสร้างศูนย์บริหารจัดการและบริการข้อมูลยานพาหนะ รองรับโครงการในอนาคต และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยประเมินมูลค่าเหมาะสมปี 2566 ที่ 3.30 บาทต่อหุ้น

 

ประเด็นสำคัญในการลงทุน


•    ผลประกอบการปี 2562-64 หดตัวเฉลี่ย 32% ต่อปี ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19: ช่วงปี 62-64 บริษัทมีรายได้จากการขายและบริการเท่ากับ 806 ลบ. 636 ลบ. และ 585 ลบ. ตามลำดับ หดตัว CAGR เฉลี่ย 15% ต่อปี เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัวลง ประกอบกับมาตรการจำกัดการเดินทางในแต่ละจังหวัด ทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมการขนส่ง ทั้งในส่วนของการขนส่งคนและขนส่งสินค้าต่างๆชะลอตัวเช่นกัน ขณะเดียวกัน %GPM มีแนวโน้มลดลงสู่ 62.6%, 55.5% และ 49.1% ตามลำดับ จากการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น ประกอบกับมาตรการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด ส่งผลให้ช่วงปี 62-64 บริษัทมีกำไรสุทธิเท่ากับ 166 ลบ. 109 ลบ. และ 77 ลบ. หดตัว CAGR เฉลี่ย 32% ต่อปี ขณะที่งวด 9M65 บริษัทมีรายได้และกำไรเท่ากับ 476 ลบ. +10%YoY และ 56 ลบ. -6.4%YoY โดยรายได้พลิกฟื้น YoY จากสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลายลง แต่กำไรถูกกดดันจากค่าใช้จ่ายในการนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ กำไร 9M65 คิดเป็น 49% ของประมาณการทั้งปี 65 ที่ 106 ลบ.
 

DTCENT ผู้นำด้าน GPS Tracking มีส่วนแบ่งการตลาดอันดับ 1 ในประเทศไทย

 

 

•    คาดผลประกอบการปี 2565-66 เติบโตเฉลี่ย CAGR 46% ต่อปี: ฝ่ายวิจัยคาดการณ์รายได้ปี 65-66 ราว 702 ลบ. +20%YoY และ 977 ลบ. +39%YoY ตามลำดับ หรือเติบโตเฉลี่ย CAGR 29% ต่อปี โดยมีปัจจัยเติบโตจาก 1) ธุรกิจ GPS Tracking ฟื้นตัวตามสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลายลง 2) รายได้จากกลุ่มบริษัทย่อยที่จำหน่าย Software และ Application ใหม่ปีนี้ และ 3) กลุ่มงาน IoT Solution ของภาครัฐ เริ่มเปิดประมูลมากขึ้น ส่วนสมมติฐาน %GPM เราคาดที่ระดับ 49-50% อ่อนลงจากค่าเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลังที่ 56% จากการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในอุตสาหกรรม ประกอบกับงาน IoT Solution ที่มาร์จิ้นราว 30% มีสัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้น ขณะที่ %SG&A คาดจะปรับลดลงมาที่ระดับ 27-31% จากค่าเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลังที่ 34% จากการประหยัดจากขนาด ส่งผลให้เราคาดการณ์กำไรปี 65-66 ราว 106 ลบ. +38%YoY และ 165 ลบ. +55%YoY ตามลำดับ หรือเติบโตเฉลี่ย CAGR 46% ต่อปี

•    ธุรกิจเติบโตพร้อมกับกลุ่มโลจิสติกส์และ IoT Solution: บริษัทมีสัดส่วนรายได้จากกลุ่ม GPS Tracking ราว 89% ซึ่งกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เกือบ 42% อยู่ในหมวดของธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ ดังนั้นรายได้ของกลุ่ม GPS Tracking จะเติบโตควบคู่ไปกับการเติบโตของกลุ่มธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ โดยศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ TTB Analytics ประเมินว่าภาคธุรกิจขนส่งไทยในปี 65 จะเติบโตประมาณร้อยละ 10.5 จากสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลายลง 

ส่วนงาน IoT Solution ซึ่งจะมาช่วยเสริมรายได้ให้กับบริษัทในช่วงปี 65-66 มีแนวโน้มเติบโตดีเช่นกัน อ้างอิงจากงานวิจัยของบริษัท Frost & Sullivan และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ประเมินว่ามูลค่าตลาดอุตสาหกรรมไอโอทีในประเทศไทย จะมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดคิดเป็นอัตราเติบโตCAGR (ปี 61-76) เฉลี่ย 30.18% ต่อปี จากความพร้อมของ Digital Infrastructure โดยเฉพาะโครงข่าย 5G ที่มีพัฒนาการที่ดีขึ้น และการสนับสนุนของภาครัฐตามนโยบาย Thailand 4.0 นอกจากนี้ ในช่วงปี 2563-64 ที่ผ่านมา งบประมาณส่วนใหญ่ของภาครัฐให้ความสำคัญกับการกระตุ้นการบริโภคเพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 อย่างไรก็ดี ภายหลังจากสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลายลง งบประมาณในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะปรับเพิ่มขึ้น รวมถึงงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยี ซึ่งเป็นโอกาสของบริษัทในการเข้าไปประมูลงานด้าน IoT Solution

•    ธุรกิจเติบโตพร้อมกับกลุ่มโลจิสติกส์และ IoT Solution: บริษัทมีสัดส่วนรายได้จากกลุ่ม GPS Tracking ราว 89% ซึ่งกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เกือบ 42% อยู่ในหมวดของธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ ดังนั้นรายได้ของกลุ่ม GPS Tracking จะเติบโตควบคู่ไปกับการเติบโตของกลุ่มธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ โดยศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ TTB Analytics ประเมินว่าภาคธุรกิจขนส่งไทยในปี 65 จะเติบโตประมาณร้อยละ 10.5 จากสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลายลง 
ส่วนงาน IoT Solution ซึ่งจะมาช่วยเสริมรายได้ให้กับบริษัทในช่วงปี 65-66 มีแนวโน้มเติบโตดีเช่นกัน อ้างอิงจากงานวิจัยของบริษัท Frost & Sullivan และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ประเมินว่ามูลค่าตลาดอุตสาหกรรมไอโอทีในประเทศไทย จะมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดคิดเป็นอัตราเติบโตCAGR (ปี 61-76) เฉลี่ย 30.18% ต่อปี จากความพร้อมของ Digital Infrastructure โดยเฉพาะโครงข่าย 5G ที่มีพัฒนาการที่ดีขึ้น และการสนับสนุนของภาครัฐตามนโยบาย Thailand 4.0 นอกจากนี้ ในช่วงปี 2563-64 ที่ผ่านมา งบประมาณส่วนใหญ่ของภาครัฐให้ความสำคัญกับการกระตุ้นการบริโภคเพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 อย่างไรก็ดี ภายหลังจากสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลายลง งบประมาณในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะปรับเพิ่มขึ้น รวมถึงงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยี ซึ่งเป็นโอกาสของบริษัทในการเข้าไปประมูลงานด้าน IoT Solution

•    ประเมินราคาเหมาะสมในปี 2566 ของ DTCENT ราว 3.30 บาทต่อหุ้น: ฝ่ายวิจัย บล.โกลเบล็ก ประเมินราคาเหมาะสม DTCENT ด้วยวิธี Prospective PER เทียบกับกลุ่มบริษัทที่ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการอุปกรณ์และระบบ Global Positioning System (GPS) ที่ระดับ 24x ซึ่งเป็นระดับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี ประกอบกับเราคาดกำไรสุทธิต่อหุ้น ปี 66 ราว 0.14 บาทต่อหุ้น คำนวณเป็นราคาเหมาะสมราว 3.30 บาท

 

ปัจจัยเสี่ยง

i)    ความเสี่ยงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19
ii)    ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
iii)    การแข่งขันภายในอุตสาหกรรม
iv)    ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

**Globlex Securities เป็นผู้ร่วมจัดจำหน่ายหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้ซึ่งจะได้รับค่าธรรมเนียมในฐานะผู้จัดจำหน่าย