กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ ประเด็นบวกจากฝั่งจีน น่าจะชดเชยความไม่แน่นอนฝั่งสหรัฐฯ ได้

กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ ประเด็นบวกจากฝั่งจีน น่าจะชดเชยความไม่แน่นอนฝั่งสหรัฐฯ ได้

การที่จีนผ่อนคลายท่าการคุม COVID-19 ช่วยชดเชยความไม่แน่นอนจากปัจจัยเศรษฐกิจสหรัฐในสัปดาห์ที่แล้ว ตลาดหุ้นไทยยังคงพักฐานต่ออีกตามที่เราคาดไว้

โดยในช่วงต้นสัปดาห์ สินทรัพย์เสี่ยงโดยรวมได้อานิสงส์จากปาฐกถาที่ออกไปในเชิง dovish มากขึ้นของผู้บริหาร Fed สองสามคน ซึ่งรวมถึง นาย Jerome Powell ประธาน Fed ที่ส่งสัญญาณตรงกันว่าจังหวะการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐน่าจะชะลอตัวลงในเร็ว ๆ นี้ ดังนั้น ค่าเงิน USD และผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญจึงช่วยหนุนให้หุ้นเอเชียวิ่งขึ้นแรง อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายสัปดาห์ ตลาดกลับมาเป็นกังวลกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอีกครั้ง หลังจากที่ตัวเลข ISM new order sub-index ของสหรัฐชี้ว่าอุปสงค์ในประเทศของสหรัฐอ่อนแออย่างชัดเจน ในขณะเดียวกัน เป็นที่น่าสังเกตว่าดัชนี SET ประคองตัวได้ค่อนข้างดี ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะหุ้น DELTA* วิ่งขึ้นมาแรงจากความคาดหวังว่าจะได้เข้าดัชนี SET50 ในงวด 1H66

 

สำหรับในสัปดาห์นี้ เราคาดว่าดัชนี SET จะขยับขึ้นแบบ sideways up โดยธีมการลงทุนในสัปดาห์นี้ คือการที่จีนตัดสินใจผ่อนคลายเกณฑ์การคุม COVID-19 ในเมืองใหญ่สองสามเมืองลงอย่างมีนัยสำคัญมองได้ว่าเป็นสัญญาณการถอนนโยบาย zero-COVID ในอนาคต ซึ่งจะมีน้ำหนักมากกว่าความไม่แน่นของปัจจัยเศรษฐกิจมหภาคสหรัฐ และจะขับเคลื่อนภาวะตลาดเอเชียในระยะสั้น ทั้งนี้ ในส่วนของสหรัฐ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรา (non-farm payrolls) เดือนพฤศจิกายนออกมาดีเกินคาด และที่สำคัญกว่านั้นคือรายได้รายชั่วโมง (hourly earnings) เพิ่มขึ้น 5.1% YoY (consensus 4.6%; เดือน
ตุลาคม +4.9%) อย่างไรก็ตาม น่าสังเกตว่าหลังจากที่ตัวเลขการจ้างงาน (รวมทั้งล่าสุด ตัวเลข ISM ภาคบริการ) ออกมาดีกว่าคาด แต่ Fed Fund futures ยังคงคาดว่า FOMC จะขึ้นดอกเบี้ย 50bps ในการประชุมวันที่ 14 ธันวาคม และคาดว่าอัตราดอกเบี้ย terminal interest rate ของ Fed จะอยู่ที่ 5.00-5.25% แต่ในส่วนของจีน กระแสข่าวที่ออกมาจากจีนในสัปดาห์นี้มีแนวโน้มจะเปลี่ยนมาเป็นตัวหนุนภาวะตลาด จากที่เป็นปัจจัยฉุดรั้งในสัปดาห์ก่อน ๆ

 

ติดตามข่าวนโยบาย COVID-19 ของจีน, ยอดขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐ และดัชนีเงินเฟ้อ PPI

ปัจจัยในตลาดโลก: ท่าทีของจีนต่อ COVID-19 และตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐ ในสัปดาห์นี้ความคืบหน้าของนโยบายเกี่ยวกับ COVID-19 ของจีนจะเป็นตัวกำหนดทิศทางของตลาด ส่วนในฝั่งสหรัฐ ตัวเลขยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และดัชนีเงินเฟ้อ PPI เดือนพฤศจิกายนอาจจะส่งผลกระทบกับค่าเงิน USD และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ ซึ่งที่น่าสนใจก็คือ consensus คาดว่าทั้ง PPI และ core PPI จะแผ่วลงจากเดือนตุลาคมทั้งคู่ ดังนั้น เราจึงยังคงมองว่าวัฏจักรเงินเฟ้อของสหรัฐพลิกมาอยู่ในขาลงแล้ว

 

ปัจจัยภายในประเทศ: รอผลสรุปเรื่องมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงปีใหม่ เรามองว่าน่าจะใกล้เคียงกับมาตรการกระตุ้นการบริโภคช่วงปีใหม่ 2566 ที่คณะรัฐมนตรีประกาศออกมาแล้ว ทั้งนี้ เนื่องจากทั้งการบริโภคภาคเอกชนของไทย และข้อมูลด้านการท่องเที่ยวเติบโตอย่างแข็งแกร่ง YoY รัฐบาลจึงอาจมองว่าไม่จำเป็นต้องอัดแคมเปญขนานใหญ่อย่างเช่นโครงการคนละครึ่ง หรือการอุดหนุนค่าเดินทางท่องเที่ยว เราคาดว่ามาตรการที่จะออกมาน่าจะมีมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย และการอุดหนุนค่าครองชีพในระยะสั้นด้วย

 

เรายังคงแนะนำให้ลงทุนต่อไป เพราะคาดว่าโมเมนตัมตลาดจะแข็งแกร่งช่วงส่งท้ายปี

ดังที่เราเคยระบุเอาไว้ก่อนหน้านี้ คือธีมการลงทุนหลักยังคงเป็นเรื่องของการที่เงินเฟ้อผ่านจุดสูงสุด, Fed หยุดขึ้นดอกเบี้ยชั่วคราว และเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง ซึ่งน่าจะจำกัด downside ของตลาดจากความผันผวนของตลาดโลก ดังนั้น นักลงทุนจึงยังควรลงทุนในตลาดหุ้นไทยต่อไป เรายังคงชอบกลุ่มธนาคาร และการบริโภคมากที่สุด โดยหุ้นเด่นของเราได้แก่ BBL*, KTB*, CPALL*, HMPRO*, PLANB* และ PTG* สำหรับธีมการท่องเที่ยวนั้น ความคืบหน้าล่าสุดเกี่ยวกับ COVID-19 ในจีนดูเป็นบวก และน่าจะทำให้หุ้นเด่นของเราในกลุ่มท่องเที่ยวอย่างเช่น AOT*, BDMS* และ ERW* ฟื้นตัวได้