กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ แนวโน้มไซด์เวย์ ติดตามฟันด์โฟลว์ + ปัจจัยต่างประเทศเพิ่มเติม

กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ แนวโน้มไซด์เวย์ ติดตามฟันด์โฟลว์ + ปัจจัยต่างประเทศเพิ่มเติม

ตลาดหุ้นน่าจะเทรดในกรอบแคบๆ สัปดาห์นี้ หลังปรับฐานแล้วช่วงปลายสัปดาห์ก่อน ในสัปดาห์ที่แล้ว (29 สิงหาคม – 2 กันยายน) ตลาดหุ้นไทยเกิด correction จากการที่ตลาดการเงินโลก กลับมาอยู่ในโหมด risk-off รอบใหม่ เนื่องจาก

i) ปาฐกถาของนาย Jerome Powell ประธาน Fed ในการประชุมประจำปีของ FOMC ที่ Jackson Hole ออกไปในทาง hawkish ii) ผู้ว่าการ Fed สาขาหลักสองสามรายออกมาแสดงความเห็นว่าน่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐต่อไปจนเกิน 4% และยังไม่น่าจะมีการลดดอกเบี้ยในเร็ววันนี้ iii) มีความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจของจีนเพิ่มขึ้นหลังจากที่มีการประกาศ lockdown เมืองใหญ่เพิ่มอีกหลายเมืองเพื่อทำการตรวจ COVID-19 แบบ mass testing สำหรับปัจจัยภายในประเทศ ธปท. รายงานตัวเลขเศรษฐกิจเดือนกรกฎาคม โดยตัวเลขรายได้ภาคเกษตร การบริโภคภาคเอกชน และการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง YoY

 

สำหรับแนวโน้มในสัปดาห์นี้ (5-9 กันยายน) เราคาดว่าดัชนี SET จะเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบ โดยน่าจะทรงตัวหลังจากที่ย่อกลับลงมาในสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้ เนื่องจาก FOMC จะประชุมรอบใหม่ในอีกสองสัปดาห์จากนี้ จึงเข้าสู่ช่วง blackout period ของ Fed ซึ่งหมายความว่าจะไม่มีผู้บริหาร Fed มีกำหนดกล่าวปาฐกถาในสัปดาห์นี้ ดังนั้น ภาวะตลาดหุ้นจึงอาจจะดีขึ้นเล็กน้อยในสัปดาห์นี้ แต่ในขณะเดียวกัน ยังมีปัจจัยสำคัญอีกหลายประการที่ยังต้องจับตา ซึ่งอาจจะทำให้นักลงทุนบางรายยังคงรอดูสถานการณ์ไปก่อน เรามองว่าทิศทางของกระแสเงินทุนจากนักลงทุนต่างชาติจะมีส่วนสำคัญมากกับทิศทางของตลาดในระยะสั้น โดยต้องติดตาม funds flow ใกล้ชิดหลังจากพลิกมาขายสุทธิในช่วงหลายวันทำการล่าสุด

 

 

 

ปัจจัยมหภาคโลกจะยังมีส่วนสำคัญในการกำหนดสภาวะความเสี่ยงในสัปดาห์นี้

ปัจจัยในตลาดโลก: การตัดสินใจของ OPEC+, ตัวเลข ISM ภาคบริการของสหรัฐ และ การประชุม ECB เรามองว่ามีเหตุการณ์สำคัญในตลาดโลก 3 เรื่องที่จะเกิดขึ้นในสัปดาห์นี้ เรื่องแรกคือการประชุม OPEC+ ในวันนี้ ซึ่งน่าจะมีการประกาศลดการผลิตเพื่อเตรียมตัวสำหรับ downside ของอุปสงค์ และความเป็นไปได้ที่จะมีอุปทานน้ำมันจากอิหร่านเพิ่มเข้ามาในตลาด เรื่องที่สองคือสหรัฐจะประกาศตัวเลข ISM ภาคบริการเดือนสิงหาคมออกมาในวันที่ 6 กันยายน ซึ่งถือเป็นตัวเลขสำคัญที่จะส่งผลต่อแนวโน้ม GDP สหรัฐ โดย Consensus คาดว่าจะยังฟื้นตัวได้ดีอยู่ที่ 55.5 ส่วนเรื่องที่สามคือการประชุมนโยบายการเงินของ ECB ในวันที่ 8 กันยายน ซึ่งตลาดคาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ย 75bps เป็น 1.25%

ปัจจัยในประเทศ: ตัวเลข CPI และกระแสข่าวดีล M&A ของกลุ่มสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์จะรายงานตัวเลขดัชนี CPI เดือนสิงหาคมในวันนี้ ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ของเราคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะชะลอตัวลงเหลือ 7.3% YoY จาก 7.6% YoY ในเดือนกรกฎาคม และยังคงมองว่าเงินเฟ้อของไทยผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว ในขณะเดียวกัน นักลงทุนยังน่าจะต้องติดตามความคืบหน้าจาก กสทช. เกี่ยวกับดีล M&A ระหว่าง DTAC* และ TRUE* ซึ่ง กสทช. เลื่อนการพิจารณามาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งเป็นปัจจัยที่กดดันกลุ่มสื่อสารในช่วงที่ผ่านมา

 

 

 

คงแนะนำกลยุทธ์ซื่อเมื่อย่อ โดยยังคงเน้นหุ้นกลุ่ม re-opening และกลุ่มท่องเที่ยว

เรายังคงแนะนำให้ใช้กลยุทธ์ซื้อเมื่อย่อ โดยยังคงเน้นที่กลุ่มที่ได้อานิสงส์จากภาวะเศรษฐกิจ การเปิดประเทศ และการท่องเที่ยว ถึงแม้ว่าเราจะมองบวกน้อยลงกับแนวโน้มดัชนี SET ในระยะสั้น แต่เรายังคงมองว่าทั้งปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ และแนวโน้มผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนยังคงแข็งแกร่ง ในขณะที่เศรษฐกิจ EM ยังมีแนวโน้มจะฟื้นตัวได้ดีในระยะยาว ซึ่งจะช่วยจำกัด downside ของราคาหุ้นไทย โดยเรายังคงเน้นหุ้นที่อยู่ในธีมการลงทุนเดือนกันยายนของเรา ซึ่งได้แก่กลุ่มธนาคารและท่องเที่ยว อย่างเช่น KBANK*, SCB*, AOT* และ CPALL* ในขณะเดียวกัน เรายังชอบหุ้นขนาดกลางที่มีกระแสข่าวบวกเฉพาะตัวสนับสนุน อย่างเช่น หุ้นที่จะได้อานิสงส์จากการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ (COM7*) และหุ้นที่เราคาดว่าจะได้อานิสง์จากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และมาตรการกระตุ้นการบริโภค อย่างเช่น SINGER*, SNNP และ TNP