ThaiBMA จับตา'หุ้นกู้ไฮยีลด์' ครบกำหนดปี67 -เล็งออกเกณฑ์ป้องกันผิดนัดชำระ

ThaiBMA จับตา'หุ้นกู้ไฮยีลด์' ครบกำหนดปี67  -เล็งออกเกณฑ์ป้องกันผิดนัดชำระ

กลายเป็นความเสี่ยงที่ต้องจับตามอง หากปีหน้ามีความต้องการออกหุ้นกู้ใหม่ เพื่อโรลโอเวอร์จำนวนมาก บริษัทเหล่านั้นจะมีปัญหาเดิมๆจะยังยืดเยื้อต่อ หรือปัญหาจะล่ามสู่บริษัทอื่น เพิ่มเติม หรือไม่ ขณะที่ภาครัฐเตรียมออกพันธบัตรรัฐบาล จะมีดึงเม็ดเงินลงทุนกันหรือไม่

อริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย(ThaiBMA)  ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ กรุงเทพธุรกิจว่า  หุ้นกู้ครบกำหนดในปี 2567 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 890,908 ล้านบาท  ในจำนวนนี้มีสัดส่วนถึง 90% เป็นหุ้นกู้ในกลุ่มอินเวสต์เมนต์เกรด (Investment grade) มีเรทติ้ง BBB-ขึ้นไป  มูลค่า 791,322 ล้านบาท เป็นหุ้นกู้ที่มีเรทติ้งค่อนข้างสูง (ตั้งแต่ A-ขึ้นไป) ถึง 86 บริษัท มูลค่ารวม 6.88 แสนล้านบาท ถือว่า มีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ค่อนข้างต่ำ 

ส่วนอีก 10%  เป็นหุ้นกู้ในกลุ่มไฮยีลด์ (High Yield)  มีเรทติ้งต่ำกว่า BBB- ลงมา (Below investment grade) และหุ้นกู้ของบริษัทที่ไม่ได้จัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Non-rated)  มูลค่า 99,586 ล้านบาท  แต่หุ้นกู้ไฮยีลด์ในปีนี้ บางตัวยังมีจองล้น สัดส่วนราว 50% ที่ไม่มีปัญหาเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ 

ThaiBMA จับตา\'หุ้นกู้ไฮยีลด์\' ครบกำหนดปี67  -เล็งออกเกณฑ์ป้องกันผิดนัดชำระ

ดังนั้นสมาคมฯ ต้องจับตามองในปีหน้า คือ กลุ่มหุ้นกู้ไฮยีลด์ที่ครบกำหนดปีหน้าที่มีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ สัดส่วนราว 50% หรือมีมูลค่า 50,000 ล้านบาท ยังคงเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการออกหุ้นกู้ไฮยีลด์จำนวนมาก คือ อสังหาริมทรัพย์ ไฟแนนซ์ และพลังงาน โดยมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน  และส่วนใหญ่มีทรัพย์สินใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน 

"หุ้นกู้ปีหน้าครบกำหนดมีแค่ราว 50,000 ล้านบาทในกลุ่มหุ้นกู้ไฮยีลด์เท่านั้น ซึ่งไม่ถึง 1 ล้านล้านบาท ตามที่มีกระแสข่าวออกมา จึงอยากชี้แจงตรงนี้ แต่เข้าใจได้ว่าปีนี้มีหุ้นกู้ 4-5 บริษัท ที่ผิดนัดชำระหนี้ต่อเนื่องกัน ทำให้ตลาดมีความน่ากังวล และนักลงทุนเกิดความเข้าใจผิดและขาดความเชื่อมั่นได้"

อริยา  กล่าวว่า ขณะนี้ทางสมาคมฯ กำลังผลักดันแนวทางแก้ไขในเรื่อง "ข้อกำหนดเงื่อนไขทางการเงิน ของผู้ออกหุ้นกู้ไฮยีลด์บอนด์ (CovenantHigh YieldBond) ที่เข้มงวดขึ้น คือหากเป็นบริษัทที่จะออกหุ้นกู้ไฮยีลด์ได้ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อตกลงที่เป็นข้อจำกัดเพิ่มขึ้น เช่น ข้อจำกัดของการก่อหนี้เพิ่ม ข้อจำกัดการจ่ายเงิน หรือขัดจำกัดของการก่อภาระผูกพันบนทรัพย์สิน หรือการทำธุรกรรมของบริษัทในเครือ เป็นต้น

ทั้งนี้เพื่อให้ความมั่นใจแก่ผู้ลงทุนว่าบริษัทผู้ออกหุ้นกู้ไฮยีลด์ไปแล้ว จะดำรงสถานะทางการเงินในระดับที่เหมาะสม ไม่ก่อหนี้สินเกินตัว เพื่อให้มีสภาพคล่องเพียงพอในการชำระดอกเบี้ยและคืนเงินต้นตามเงื่อนไขได้

“เราต้องป้องกัน ไม่ให้บริษัทมาออกหุ้นกู้ไฮยีลด์มีผลตอบแทนสูงๆจูงใจ แล้วนำเงินจากออกออกหุ้นกู้ไปใช้ผิดวัถตุประสงค์ และเมื่อถึงเวลาครบกำหนด กลับไม่มีคืนเงินต้นหุ้นกู้ มองว่า เป็นสิ่งที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นอีก ซึ่งหลักเกณฑ์นี้ในต่างประเทศมีใช้แล้ว หากใครต้องการ ออกหุ้นกู้ไฮยีลด์ ก็ไม่สามารถใช้ข้อกำหนดเดียวกับหุ้นกู้กลุ่มอินเวสต์เมนต์ เกรด แม้จะเป็นบริษัทกลุ่มอินเวสต์เมนต์ เกรดก็ตาม"

พร้อมกันนี้ ทางสมาคมฯมีการประสานกับทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ในเรื่องการเปิดเผยข้องมูลทางการเงินของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ให้ทุกฝ่ายมีข้อมูลที่เท่าเทียมกัน เช่น ด้านข้อมูลหนี้ก็จะมีข้อมูลด้านหุ้น ให้นักลงทุนหุ้นกู้ได้ทราบ และการผิดนัดชำระหนี้ในตลาดบอนด์ นักลงทุนในตลาดทุนต้องทราบเหมือนกันพร้อมกัน

อริยา กล่าวว่า แนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทางสมาคมฯ คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ภายในปีหน้า ขณะนี้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวกับตลาดทุนไทย ทั้งสมาคมฯ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลท.พยายามผลักดันโดยเร็วและหารือผู้ร่วมตลาดร่วมกันเพราะส่วนใหญ่ของกฎระเบียบข้อบังคับทางกฎหมาย และไม่ต้องการส่งผลกระทบต่อบริษัทที่ดีอยู่แล้ว ไม่ต้องมีภาระต้นทุนหรืออื่นๆ เพิ่มขึ้น

“สิ่งที่กำลังดำเนินการเข้มขึ้นนั้น เราจะไม่ให้กระทบกับบริษัทระดับอินเวสต์เมนต์เกรดอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นบริษัทไฮยิลด์ ที่มีการตั้งข้อสงสัยในปีนี้ 4-5 บริษัท ไม่นับSTARK เป็นบริษัทไฮยิลด์ที่ควรจะมีข้อจำกัดเหล่านี้เพิ่มขึ้นต้องมีมาตราการจัดการที่เร็ว ไม่ให้บริษัทที่ทำตัวไม่เหมาะสม ซึ่งบริษัทประเภทดังกล่าวมีจำนวนไม่มาก กลับทำให้นักลงทุนเข้าใจผิดคิดว่าทั้งระบบ แย่ไปเสียหมด หากมีมาตรการดังกล่าวออกมา เรามองว่า ในอนาคต สถานการณ์ที่เป็นอยู่จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น”

อริยา กล่าวว่า ในปีนี้มีบริษัทที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้เพียง 0.3% ของมูลค่าหุ้นกู้ทั้งหมดในปีนี้เท่านั้น เราถือว่าน้อยมาก แต่กระทบต่อเซ็นทริเม้นต์ของนักลงทุนในปีนี้อย่างมาก เพราะมี4-5 บริษัทเกิดขึ้นต่อๆ กันมา และกระจายในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม

 รวมถึงเป็นกรณีเซอร์ไพร์สตลาด เช่น กรณีSTARK ตกแต่งงบการเงิน และJKNยังถูกตั้งข้อสงสัย งบยังดี แต่ทำไมไม่มีเงินจ่ายหนี้หุ้นกู้ และช่วงเกิดปัญหาบริษัทSTARKกระทบสองกลุ่ม กระทบหุ้นอินเวสท์เมนเกรด BBB เช่นกัน คือคนกลัวช่วงแรกๆ ซึ่งยังกระทบต่อความเชื่อมั่นการลงทุนไม่มาก แต่การที่คนเกิดความรู้สึกกลัวบริษัท BBB อื่นๆ ที่ออกหุ้นกู้ บางบริษัทขายได้ไม่เต็มจำนวน

ทั้งนี้อยากเตือนนักลงทุนว่า อย่าตื่นตระหนกกับข้อมูลหุ้นกู้ที่จะครบกำหนดในปีหน้า 1 ล้านล้านบาท อาจมีความคลาดเคลื่อน แต่ยอมรับว่า ตลาดหุ้นกู้ไฮยีลด์มีปัญหา จากที่มีบางบริษัทที่เป็นแกะดำมาใช้ช่องในตลาดทุน ทำให้ตลาดเกิดปัญหา  แต่ทางสมาคมฯยังเชื่อว่า โอกาสของการลงทุนหุ้นกู้ ก็ยังมีในบริษัทที่ดี ให้เลือกลงทุนได้อีกมาก ในจังหวะที่ตลาดปีหน้าตราสารหนี้ยังเป็นทางเลือกที่ดีในจังหวะที่อัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับที่จูงใจ และน่าสนใจมากขึ้นกว่าช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

      โดยแนะนำว่า นักลงทุนต้องเลือกลงทุนดีๆขณะเดียวกันการเลือกลงทุนตอนนี้ เพื่อความปลอดภัย เน้นการลงทุนในบริษัทที่เราเชื่อมั่นจริงๆ ผลการดำเนินงานต้องมีประวัติที่ยาวนนาน มีกำไรสะสมจำนวนมาก อย่างไรก็ตามนักลงทุนต้องศึกษาข้อมูลด้วยตัวเองให้มั่นใจ เลือกลงทุนในบริษัทที่เชื่อมั่น เน้นบริษัทขนาดใหญ่เป็นหลัก ส่วนบริษัทที่ยังไม่ค่อยแน่ใจ อาจปรับลดการลงทุนลงบ้าง

“งบการเงินเป็นบทเรียนที่สอนเราเช่นกัน นักลงทุนต้องดูทั้งกำไร เงินทุนหมุนเวียนทั้งจากการดำเนินงานและการลงทุน อย่างเคสของเจเคเอ็น แคชโฟลว์ผลการดำเนินงานเป็นบวก แต่แคชโฟลว์ผลการลงทุน ติดลบ ทำให้ขาดสภาพคล่อง”

  อริยา มองว่า แนวโน้มการออกหุ้นกู้ในปีหน้ายังเติบโตได้ใกล้เคียงปีนี้ โดยยอดออกหุ้นกู้ปีนี้ ยังเชื่อมั่นว่าจะเป็นไปตามเป้าหมาย 1 ล้านล้านบาท จากปัจจุบันมีมูลค่า 9.4 แสนล้านบาท  เพราะบริษัทขนาดใหญ่ที่ออกหุ้นกู้ ไม่ได้รับผลกระทบมากในปีนี้แต่ตลาดอาจะชอลอลงได้บ้าง เพราะเราต้องปรับเกณฑ์การออกหุ้นกู้ไฮยีลด์ให้เข้มงวดขึ้น เพื่อป้องกันนักลงทุน สร้างความเชื่อมั่น ไม่อยากให้ตลาดทุนถูกใช้เป็น ช่องทางของคนที่ไม่ประสงค์ดีเพื่อความมั่นคงของตลาดลงทุน

พร้อมกับปีหน้าที่ต้องจับตายังเป็น “หุ้นกู้กลุ่มไฮยีลด์” หากยังไม่สามารถเรียกคืนความเชื่อมั่นของนักลงทุนกลับมาได้อาจจะมีผลกระทบ แต่เท่าที่เห็นนักลงทุน มีการเปรียบเทียบเป็นรายบริษัท ซึ่งบริษัทไฮยีลด์ที่มีกลุ่มผู้ถือหุ้นเข้มแข็งมาก งบการเงินดีมาก และเชื่อว่าไม่ได้แต่งงบการเงิน ก็ยังได้รับการตอบรับดีจากนักลงทุน แต่กลุ่มที่งบการเงินไม่ดี ปีหน้าอาจจะเหนื่อยต่อไป

ส่วนบริษัทขนาดใหญ่ที่มีผลการดำเนินงานดีจะไม่กระทบ แต่จะกระทบต่อความเชื่อมั่นกลุ่มบริษัทขนาดกลางๆ ที่ออกหุ้นกู้ในปีหน้า อาจขายยาก เพราะในปีนี้เซ็นทริเม้นท์การลงทุนได้รับผลกระทบ จากสตาร์ก หุ้นกู้เรตติ้งกลางๆ ไปถึงไฮยิลด์ขายได้ราว 60-90% จากในอดีตขายได้หมดทั้งจำนวน แต่บางบริษัทที่มีเตรียมการมาดีจริงๆ ก็ยังมีวงเงินสำรองอยู่เพียงพอมาใช้แทนได้

ในส่วนหุ้นกู้อินเวสต์เมนต์ เกรด เราไม่น่าเป็นห่วง ยังไม่มีประเด็น ยังสามารถออกหุ้นใหม่ทดแทนหุ้นกู้เดิมที่ครบกำหนดได้ (โรโอเวอร์) และบริษัทผู้ออกหุ้นกู้กลุ่มนี้ ส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ ไม่ค่อยมีปัญหา มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับที่ดี

ถึงแม้ว่าในช่วงที่ผ่านมานี้ จะมีหุ้นกู้อินเวสต์เมนต์ เกรด ที่มีเรตติ้ง BBB บางตัว อาจโรโอเวอร์ได้เพียง 90% บ้าง แต่พบว่าบริษัทกลุ่มนี้ยังมีช่องทางการเงินอื่นๆ รองรับได้ เช่น เงินกู้แบงก์ หรือเงินเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้น

"นักลงทุนยังมีความเชื่อมั่นหุ้นกู้อินเวสต์เมนต์ เกรด ที่มีเรตติ้ง BBB บางตัวอยู่ เพราะเป็นธุรกิจระดับเจ้าสัวที่มีผลการดำเนินงาน ยังดีต่อเนื่องยาวนาน มีวงเงินสำรองจากธนาคารอยู่มาก และมีสินทรัพย์อื่นๆอีกจำนวนมาก