'หุ้นไทย'วันนี้(22 พ.ค.)อ่อนตัว 1,510 / 1,500 จุด ติดตาม MOU รัฐบาลก้าวไกล

'หุ้นไทย'วันนี้(22 พ.ค.)อ่อนตัว 1,510 / 1,500 จุด ติดตาม MOU รัฐบาลก้าวไกล

โบรกคาด "หุ้นไทย" วันนี้ (22 พ.ค.2566)หลังการเจรจาเพดานหนี้ของสหรัฐยังไม่มีความคืบหน้าซึ่งอาจทำให้สหรัฐผิดนัดชำระหนี้ในวันที่ 1 มิ.ย. นอกจากนี้แรงขายจาก Fund flow ต่างชาติที่กังวลต่อนโยบายพรรคก้าวไกล และวันนี้ 22 พ.ค. ติดตามการเซ็น MOU จัดตั้งรัฐบาล

นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กรุงศรี ประเมินดัชนี "หุ้นไทย" วันนี้ (22 พ.ค.2566) อ่อนตัว 1,510 / 1,500 จุด หลังการเจรจาเพดานหนี้ของสหรัฐยังไม่มีความคืบหน้าซึ่งอาจทำให้สหรัฐผิดนัดชำระหนี้ในวันที่ 1 มิ.ย. นอกจากนี้แรงขายจาก Fund flow ต่างชาติที่กังวลต่อนโยบายพรรคก้าวไกล เช่น การปรับลดค่า Ft การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ยังคงเป็นแรงกดดันภาวะตลาด ดังนั้นจึงแนะนำรอซื้อช่วงอ่อนตัวแบบ Selective buy วันนี้ 22 พ.ค. ติดตามการเซ็น MOU จัดตั้งรัฐบาลของพรรคก้าวไกล 

 

กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ 

  • BBL KTB TTB KBANK SCB แนวโน้มกำไร 2Q23 ยังคงเติบโต
  • SAWAD MTC KTC AEONTS อานิสงส์เงินฟ้อไทยชะลอตัวลง
  • BDMS BEM INTUCH ADVANC กลุ่ม Defensive ช่วงดัชนีผันผวน

ประเด็นสำคัญวันนี้ที่ต้องติดตาม

  • (+/-) 8 พรรคการเมืองแถลงรายละเอียด MoU ร่วมจัดตั้งรัฐบาล: ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 22 พ.ค. นี้ เรามองว่าการเปิดเผยรายละเอียดและเซ็นต์ข้อตกลงร่วมกันจะทำให้ภาพการจัดตั้งรัฐบาลมีความชัดเจนมากขึ้น และหากกรอบ MoU ดังกล่าวไม่มีการระบุถึงมาตรา 112 คาดว่าจะทำให้บรรยากาศทางการเมืองผ่อนคลายขึ้นเป็นบวกต่อภาวะการลงทุนในสัปดาห์นี้
  • (-) ส่งออกไทยเดือน เม.ย. คาดหดตัวตามทิศทางการนำเข้าจีนที่ติดลบ: ก.พาณิชย์มีกำหนดรายงานตัวเลข ส่งออก/นำเข้า ของไทยเดือน เม.ย. ในวันที่ 26 พ.ค. BB Consensus คาดหดตัว 2%yoy  หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 เป็นผลจาก ศก. ของประเทศคู่ค้ายังไม่ฟื้นโดยเฉพาะจีนซึ่งเดือน เม.ย. มียอดนำเข้าหดตัว 7.9%yoy จาก มี.ค. -1.4%yo
  • (+/-) FED Minutes คณะกรรมส่วนใหญ่อาจจะหนุนให้ขึ้นดอกเบี้ยแต่ไม่น่ากังวล:  หากอิงจากการแสดงความเห็นของเจ้าหน้าที่เฟดหลายท่านในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมายังให้น้ำหนักไปในโทนขึ้นดอกเบี้ย อย่างไรก็ตามเราไม่ได้กังวลกับประเด็นนี้เพราะหากดูจากมุมมองของประธานเฟดล่าสุดมีท่าทีกังวลต่อวิกฤติภาคธนาคารในสหรัฐมากขึ้น ขณะที่เงินเฟ้อสหรัฐที่เริ่มลดลงน่าจะกดดันให้เจ้าหน้าที่เฟดชะลอขึ้นดอกเบี้ยในเดือน มิ.ย. มากกว่า