Bank Sector ราคาหุ้นได้สะท้อนโหมดการทำธุรกิจแบบระมัดระวังไปแล้ว

Bank Sector ราคาหุ้นได้สะท้อนโหมดการทำธุรกิจแบบระมัดระวังไปแล้ว

สรุปผลประกอบการ 3Q65 และอัพเดตแนวโน้มกลุ่มธนาคาร

ผลประกอบการ 3Q65 - รายได้จากธุรกิจหลักยังอ่อนแอ

กำไรสุทธิรวมของกลุ่มธนาคารเพิ่มขึ้น 3% และ 28% YoY ใน 3Q65 และเพิ่มขึ้น 13% YoY ในงวด 9M65 โดยปัจจัยสำคัญได้แก่ 1) margin ที่เพิ่มขึ้นทำให้ NII เพิ่มขึ้น 5% QoQ และ 12% YoY ใน 3Q65 และเพิ่มขึ้น 9% YoY ในงวด 9M65 2) รายได้ค่าธรรมเนียมทรงตัวอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สอง 3) credit cost ลดลงเล็กน้อย 4) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นในระดับปานกลาง ทั้งนี้ ในขณะที่กำไรโตในระดับปานกลาง แต่สินเชื่อขยายตัวเพียงเล็กน้อยเพราะมีการชำระคืนหนี้สินเชื่อธุรกิจ และหลายธนาคารมีผลขาดทุน FVTPL (จากการลงทุนในหุ้น)

 

ธนาคารต่าง ๆ นำรายได้ส่วนเกินจาก margin ที่เพิ่มขึ้นไปหักเป็นค่าใช้จ่ายพิเศษ

ในขณะที่ margin ของทุกธนาคารดีขึ้น ของ BBL เพิ่มมากที่สุดถึง 24bps QoQ และ YoY เนื่องจากสินเชื่อระหว่างประเทศขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อกลุ่มนี้เมขึ้นมากกว่าอัตราดอกเบี้ยในประเทศ รองลงมาคือ TTB TISCO และ SCB ซึ่ง NIM เพิ่มขึ้นจากการขยายสินเชื่อรายย่อยที่ yield สูง อย่างไรก็ตาม ธนาคารต่าง ๆ นำรายได้พิเศษจาก margin ที่เพิ่มขึ้นไปหักเป็นค่าใช้จ่ายพิเศษ โดย BBL ตั้งสำรองหนี้เสียพิเศษเพื่อเพิ่มส่วนรองรับหนี้เสีย ในขณะที่ SCB นำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายพิเศษในการแปลงเป็น SCBX ส่วน TISCO นำไปหักล้างกับผลขาดทุนพิเศษจาก FVTPL

 

 

 

บริหารจัดการให้ NPL ลดลงจากการ write-off หนี้เสีย

NPL เกิดใหม่ในภาพรวมเพิ่มขึ้นใน 3Q65 จากสินเชื่อกลุ่ม SME และ H/P ดังจะเห็นได้จาก NPL ของสินเชื่อ H/P ของ KKP BAY และ TTB ซึ่งมีการปล่อยกู้สินเชื่อ H/P สูง นอกจากนี้ NPL ของกลุ่ม SME ของทุกธนาคารยังสูงขึ้นด้วย ทำให้ KBANK และ SCB ต้อง write-off หนี้เสียกลุ่มนี้อย่างหนัก ในขณะที่แนวโน้มยังคงผันผวนต่อเนื่องใน 4Q65 เนื่องจากสภาวะน้ำท่วมอย่างหนัก อย่างไรก็ตาม NPL ของสินเชื่อธุรกิจยังนิ่งกว่า และธนาคารต่าง ๆ สามารถทำรายได้ได้มากขึ้น ดังนั้นประเด็นทางด้านคุณภาพสินทรัพย์จึงยังอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้

ธนาคารเปลี่ยนท่าทีเป็นระมัดระวังกับภาวะเศรษฐกิจมากขึ้น แต่ความเสี่ยงต่อประมาณการกำไรยังตํ่า SCB และ KBANK หันมาระมัดระวังมากขึ้นกับแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจ เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศเผชิญความท้าทายมากขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจโลกขาลง โดยเฉพาะ KBANK ซึ่งปรับมาเน้นทางด้านคุณภาพสินทรัพย์ และเพิ่มส่วนรองรับหนี้เสีย ซึ่งอาจจะทำให้คชจ.สำรองฯ(credit cost) เพิ่มขึ้นใน 4Q65 อย่างไรก็ตาม กำไรสุทธิรวมของกลุ่มธนาคารในงวด 9M65 คิดเป็นประมาณ 80% ของประมาณการกำไรเต็มปี กำไรของทั้งปียังอยู่ภายใต้ประมาณการณ์ แม้ว่าจะมีคชจ.พิเศษเพิ่มขึ้น

 

Risks

NPLs เพิ่มขึ้น และกันสำรองเพิ่มขึ้น, รายได้ค่าธรรมเนียมลดลง, ผลขาดทุน FVTPL จากการลงทุน.