Bank Sector การฟื้นตัวไม่ราบรื่น แต่ยังพอบริหารจัดการได้

Bank Sector การฟื้นตัวไม่ราบรื่น แต่ยังพอบริหารจัดการได้

เศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวขึ้นจากการฟื้นตัวรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งจะส่งผลดีต่อกลุ่มธนาคารในแง่ของการบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์ในวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น

โดย กนง. มีโอกาสจะทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 bps ในการประชุมเดือนกันยายน และอาจจะขึ้นอีก 25 bps ในการประชุมเดือนพฤศจิกายน ซึ่งการปรับขึ้นดอกเบี้ยในจังหวะปานกลางแบบนี้จะช่วยธนาคารในการบริหารจัดการต้นทุนประกันเงินฝากที่จะขยับกลับขึ้นไปอยู่ระดับปกติที่ 0.46% หลังจากช่วงที่ลดอัตราประกันเงินฝากลงครึ่งหนึ่งเหลือ 0.23% สิ้นสุดลงในปลายปีนี้ ทั้งนี้ธนาคารส่วนใหญ่เตรียมพร้อมในการบริหารคชจ.ส่วนนี้ โดยธนาคารได้ปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้กับเงินกู้สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ และเงินกู้ในตลาดเงินไปแล้ว ซึ่งเป็นเหตุให้มาร์จิ้น เพิ่มขึ้นใน 2Q65

 

การฟื้นตัวไม่ราบรื่น แต่ยังพอบริหารจัดการได้

การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายจะทำให้ธนาคารต่าง ๆ ต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความเปราะบางได้หากมีการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเร็วเกินไปที่จะเป็นผลลบกับลูกหนี้และธนาคาร ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 25bps ในช่วงที่เหลือของปีนี้ (ขึ้นดอกเบี้ยรวม 50 bps ในปี 2565) ธนาคารต่าง ๆ น่าจะสามารถบริหารจัดการต้นทุนการประกันเงินฝากที่เพิ่มขึ้นได้ง่าย โดยไม่กระทบกับ NIM แต่หากมีการขึ้นดอกเบี้ยอีก 50 bps (ขึ้นดอกเบี้ยรวม 75 bps ในปี 2565) และยังเร่งขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องอีกในปีหน้า เราคาดว่าจะทำให้การฟื้นตัวของธนาคารไม่ราบรื่น แต่น่าจะยังอยู่
ในระดับที่บริหารจัดการได้

 

 

 

คุณภาพสินทรัพย์ของ KTB และ BBL อยู่ในเกณฑ์ดี

หลังจากโครงการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ประสบปัญหาจาก COVID สิ้นสุดลงเมื่อปลายปี 2564 ธนาคารส่วนใหญ่ยังสามารถรักษาระดับ NPL ให้ทรงตัวอยู่ได้ อย่างไรก็ตาม ระดับ NPL ในปัจจุบันอาจจะยังไม่ได้สะท้อนสถานการณ์หนี้เสียที่แท้จริง เพราะรายได้ดอกเบี้ยค้างรับยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สะท้อนว่ายังมีหนี้ผิดนัดชำระจำนวนมากยังอยู่บัญชีจของธนาคาร และหนี้นี้ยังไม่ถูกบันทึกเป็นสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (figure 2) ทั้งนี้ KKP มีสัดส่วนดอกเบี้ยค้างรับ/สินเชื่อสูงที่สุดที่
ประมาณ 2.8% รองลงมาคือ TISCO (0.8%) KTB (0.8%) และ KBANK (0.6%) อย่างไรก็ตาม สัดส่วน LLR/สินเชื่อของ KTB และ BBL สูงที่สุดในกลุ่ม (figure 2)

Bank Sector การฟื้นตัวไม่ราบรื่น แต่ยังพอบริหารจัดการได้

 

 

KBANK และ KKP ถือเป็นธนาคารที่จะมีอัตราการเติบโตสูงตามภาวะเศรษฐกิจ

ธนาคารอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่การดำเนินการแบบหลังวิกฤติ COVID ท่ามกลางความท้าทายของดอกเบี้ยขาขึ้น ทั้งนี้ จากแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป และราคาหุ้นที่ไม่แพง เราจึงมองว่าราคาหุ้นมีโอกาสปรับตัวลงแบบจำกัด โดยในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ เราชอบ KTB ในแง่คุณภาพสินทรัพย์ที่ดี และเลือก KBANK จากความสามารถหารายได้เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ในขณะที่เลือก KKP จากการฟื้นตัวของรายได้ที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน และผลขาดทุนจากการขายรถที่ยึดมาลดลง

 

Risk

NPL ที่เพิ่มขึ้นทำใาใช้จ่ายกันสำรองเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอย่างมาก