'อินโดรามา' เปิดโฉมใหม่ 360 แกลเลอรี แสดงศักภาพธุรกิจยั่งยืน
อินโดรามา เวนเจอร์ส (ไอวีแอล) เป็นบริษัทในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่าปิโตรเคมีครอบคลุมการดำเนินงานด้านการผลิต 117 แห่ง ใน 31 ประเทศ
ล่าสุดปรับโฉมใหม่ 360 แกลเลอรี นิทรรศการแบบอินเตอร์แอคทีฟที่สะท้อนเรื่องราวเส้นทาง ความมุ่งมั่นของบริษัทต่อความยั่งยืน และความสำเร็จ ตั้งในอาคารโอเชี่ยนทาว์เวอร์ 2 บนชั้น 30 ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ของไอวีแอล
อาราธนา โลเฮีย ชาร์มา รองประทาน บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า 360 แกลเลอรีสะท้อนถึงความมุ่งมั่นที่มีต่อความยั่งยืน ในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ผ่านความร่วมมือและนวัตกรรม แกลเลอรีแห่งนี้เป็นประตูสู่วิสัยทัศน์ในอนาคตซึ่งเคมีภัณฑ์จะยังคงมีบทบาทที่ยั่งยืนและสำคัญในการพัฒนาธุรกิจควบคู่ไปกับการปกป้องสิ่งแวดล้อม
โดย 360 แกลเลอรี ถูกแบ่งออกเป็น 4 โซน ซึ่งแต่ละโซนจะนำเสนอแง่มุมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของอินโดรามาเวนเจอร์ส ดังนี้
โซน A: The Journey รำลึกถึงประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 30 ปี ของอินโดรามา เวนเจอร์ส โดยแสดงให้เห็นถึงเหตุการณ์สำคัญและความสำเร็จที่ช่วยหล่อหลอมความเป็นผู้นำระดับโลกด้านเคมีภัณฑ์ที่ยั่งยืน ผู้เยี่ยมชมยังจะได้เห็นคำมั่นสัญญาของแบรนด์ “Indispensable Chemistry” หรือเคมีภัณฑ์ที่ขาดไม่ได้ ซึ่งตอกย้ำถึงความสำคัญของผลิตภัณฑ์จำเป็นที่หลากหลายของอินโดรามา เวนเจอร์ส ที่เข้าถึงชีวิตผู้คนนับพันล้านทุกวัน
โซน B: Business Impact โซนนี้นำเสนอถึงการบูรณาการห่วงโช่คุณค่าที่มีความหลากหลาย และผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์หลากหลายประเภท อาทิ เม็ดพลาสติก PET บริสุทธิ์ และเม็ดพลาสติก PET รีไซเคิล โซลูชั่นบรรจุภัณฑ์ เส้นใยโพลีเอสเตอร์และสารลดแรงตึงผิว ซึ่งผลิตภายใต้ 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ กลุ่มธุรกิจ Combined PET กลุ่มธุรกิจ Fibers และกลุ่มธุรกิจ Indovinya
โซน C: Sustainability in Action โซนนี้นำเสนอกลยุทธ์บริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกและความยั่งยืน 6 ด้าน ของอินโดรามาเวนเจอร์ส ที่เน้นย้ำถึงการดำเนินงานอย่างโดดเด่นของบริษัทฯ ในการปกป้องโลก และส่งเสริมความร่วมมือในด้านความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่า
โซน D: Giving Back นำเสนอโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมของอินโดรามา เวนเจอร์ส เช่น โครงการเชิงนวัตกรรม RECO ที่แปลงเส้นด้ายรีไซเคิลให้กลายเป็นสินค้าแฟชั่นที่ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน
ดร. แอนโทนี วาตานาเบ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความยั่งยืน บริษัทอินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริมว่า ความร่วมมือของบริษัทในการขับเคลื่อนความยั่งยืนและเศรษฐกิจหมุนเวียน มีตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบอย่างรับผิดชอบไปจนถึงการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลในการจัดการห่วงโช่อุปทานอย่างยั่งยืน โดยทำงานร่วมกับองค์กรภาคสาธารณะและเอกชน องค์กรภาคประชาสังคม และสถาบันการศึกษาและวิจัย เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน
ในเรื่องของ TOGETHER FOR SUSTAINABILITY เป็นความร่วมมือกับองค์กรระดับสากล ได้แก่ สภาอุตสาหกรรมเคมีแห่งยุโรป (CEFIC) สมาคมอุตสาหกรรมเคมี (VCI) และสหพันอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและเคมีแห่งประเทศจีน (CPCIF) ความร่วมมือกับ EcoVadis เพื่อเพิ่มการตรวจสอบห่วงโซ่อุปทานในการสร้างการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ซึ่งมีการดำเนินการดังนี้
1. โอกาสทางเครือข่ายและการเรียนรู้ (Network & Learning Opportunities) เครือข่ายแบ่งปันความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดผ่านสถาบัน ออนไลน์ เอกสารวิชาการ และโครงการนำร่องเข้าร่วม TFS workstream และสมัชชาต่างๆ เพื่อผลักดันวาระความยั่งยืน
2. ความโปร่งใส และการพัฒนา (Transparency & Improvement) เปรียบเทียบประสิทธิภาพของซัพพลายเออร์ระบุโอกาสในการปรับปรุงห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน
3. ประสิทธิภาพ (Efficiency) การประเมินและข้อมูลตรวจสอบที่แบ่งปันระหว่างสมาชิก ประหยัดเวลาและทรัพยากรโดยหลีกเลี่ยงการร้องขอซ้ำซ้อน
4. โอกาสทางธุรกิจ (Business Opportunities) เสริมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว พัฒนาโอกาสทางธุรกิจ
5. คุณภาพ (Quality) ประเมินการจัดการ, EHS, แรงงาน, สิทธิมนุษยชน และธรรมากิบาล (ทั้งออนไลน์และตรวจสอบสถานที่) และจัดทำแผนแก้ไขสำหรับซัพพลายเออร์ทั้งหมดที่จำเป็นต้องปรับปรุง
รวมถึงให้ความสำคัญต่อการรับรองมาตรฐาน ISCC+ ไม่ว่าจะเป็น การตรวจสอบย้อนกลับตลอดห่วงโซ่ อุปทาน ไม่มีการตัดไม้ทำลายป่า มีข้อเรียกร้องที่ชัดเจนและผ่านการตรวจสอบโดยบุคคลที่สาม และคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพและพื้นที่ที่มีปริมาณกักเก็บคาร์บอนสูง เป็นการพัฒนาสินค้าที่มีคาร์บอนต่ำที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีความยั่งยืนมากขึ้น
นอกจากนี้การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน (Sustainable Supply Chain Management)การมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการปฏิบัติด้านความยั่งยืนและรับรองมาตรฐานสากลในห่วงโซ่อุปทาน ได้แก่
1.คัดเลือก (Select) คัดเลือกซัพพลายเออร์วัตถุดิบสำคัญจากกลุ่มที่ มีสัดส่วนการใช้จ่ายสูงสุด80% ใช้ประโยชน์จาก คลังข้อมูลผ่านเครือข่ายTogether for Sustainability (TfS) โดยเป็นสมาชิกตั้งแต่ปี 2566
2.สร้างการมีส่วนร่วม (Engage) ประเมินซัพพลายเออร์ผ่านแบบสอบถาม ออนไลน์ด้าน ESG ของ EcoVadis ecovadis การตรวจสอบในสถานที่โดยผู้ตรวจสอบที่มีชื่อเสียง
3.ทบทวน (Review) วิเคราะห์และปรับปรุงระดับความพร้อมด้าน ความยั่งยืนของฐานซัพพลายเออร์ โดยอ้างอิงจากผลการตอบแบบสอบถาม
4.การตรวจสอบร่วมมือกัน (Collaborate) สนับสนุนซัพพลายเออร์ในการปรับปรุงผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน โดยการระบุประเด็นสำคัญที่เป็นปัญหาร่วมกันแบ่งปันผลการดำเนินงานของ ซัพพลายเออร์กับเครือข่าย TFS เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในห่วงโซ่อุปทานเคมีภัณฑ์ และยกระดับชื่อเสียงด้านความยั่งยืนของซัพพลายเออร์
โดย 360 แกลเลอรี เป็นความร่วมมือในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในด้านความยั่งยืน ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้เกิดการดำเนินการที่มีความหมายในทุกกระบวนการ วิธีที่ผสานความยั่งยืนเข้ามาใช้ในการดำเนินธุรกิจทั่วโลก และการร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลากหลายฝ่ายจะก่อให้เกิดผลกระทบที่ยั่งยืนรวมถึงในปีที่ผ่านมามีแนวโน้วธุรกิจ มีการฟื้นตัวที่ดี มีการฟื้นตัวที่ดีขึ้นในภาคธุรกิจที่มากขึ้นทั้งการผลิตสินค้าจากต้นน้ำและการผลิตจากสินค้ารีไซเคิล