ห้องปฏิบัติการตรวจสอบย้อนกลับ ลดฝุ่น PM2.5 สร้างอากาศสะอาด
“การเผาในภาคเกษตร” เป็นหนึ่งในแหล่งกำเนิดฝุ่นพิษPM 2.5 ที่ทำให้ “อากาศ” ซึ่งถือเป็นความต้องการขั้นพื้นฐานทางกายภาพเพื่อความอยู่รอดของทุกคน ทว่าเมื่ออากาศเต็มไปด้วยมลพิษ ทั้งฝุ่นละอองขนาดเล็ก ก๊าซอันตราย ย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งคนและสัตว์
KEY
POINTS
- ซีพี-ซีพีเอฟ นำระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (Corn Traceability) มาใช้ เพราะระบบตรวจสอบย้อนกลับ เป็นเครื่องมือและทางออกแก้ปัญหาการบุกรุกป่าและการเผาแปลง ที่เป็นหนึ่งสาเหตุฝุ่น PM2.5
- สนับสนุนคู่ค้าธุรกิจ 600 ราย ภายใต้โครงการ "Partner to Green คู่ค้าข้าวโพดพันธมิตร พิชิตหมอกควัน" ให้ช่วยกันกำกับดูแลเกษตรกร พร้อมพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันในการจัดหาข้าวโพดที่รับผิดชอบ ตรวจสอบย้อนกลับได้
- ส่งเสริมให้ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันทั้งภาครัฐ เอกชน คู่แข่งขันทางการค้าในอุตสาหกรรม ให้ความรู้และเน้นการสื่อสารเกี่ยวกับการตรวจสอบย้อนกลับ
“การเผาในภาคเกษตร” เป็นหนึ่งในแหล่งกำเนิดฝุ่นพิษPM 2.5 ที่ทำให้ “อากาศ” ซึ่งถือเป็นความต้องการขั้นพื้นฐานทางกายภาพเพื่อความอยู่รอดของทุกคน ทว่าเมื่ออากาศเต็มไปด้วยมลพิษ ทั้งฝุ่นละอองขนาดเล็ก ก๊าซอันตราย ย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งคนและสัตว์
“บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ”ให้ความสำคัญในการสร้างห่วงโซ่การผลิตอาหารที่ยั่งยืน พร้อมทั้งสนับสนุนการแก้ปัญหาหมอกควัน ฝุ่นPM 2.5 และปัญหาไฟป่า โดยได้มีการสร้างความร่วมมือกับเกษตรกร คู่ค้าทางธุรกิจ และหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนในการแก้ปัญหาดังกล่าว
พร้อมทั้งมีการนำเทคโนโลยีระบบตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งเพาะปลูก โดยเฉพาะการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลมาใช้ และสร้างหลักประกันการจัดหาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ปราศจากการบุกรุกป่าและไม่เผา โดยสามารถตรวจสอบถึงแหล่งปลูกที่มีเอกสารสิทธิได้ 100 % และลดการเผาทางการเกษตรได้มากขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
CP-CPF ส่งอาหารจากใจสู้ภัยน้ำท่วมใต้ หนุนโรงครัวช่วยประชาชนเต็มกำลัง
ซีพีเอฟ คว้ารางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ปี 2567 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4
“ตรวจสอบย้อนกลับ”ลดฝุ่นPM2.5
“ฐิติ ลุจินตานนท์” ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหาร บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าการสร้างความยั่งยืนในห่วงโซ่การผลิตอาหาร และการแก้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน บริษัทฯ ได้มีการนำระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (Corn Traceability) ขึ้นมาใช้ในการจัดหาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในกิจการประเทศไทยตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน เพราะเชื่อมั่นว่าระบบตรวจสอบย้อนกลับ เป็นเครื่องมือและทางออกในการแก้ปัญหาการบุกรุกป่าและการเผาแปลง ที่เป็นหนึ่งในสาเหตุของฝุ่น PM2.5
“นวัตกรรมตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นการจัดหาวัตถุดิบหลักทางการเกษตรอย่างรับผิดชอบ สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ว่าจากแหล่งปลูกที่ถูกกฎหมาย ไม่ตัดไม้ทำลายป่า และไม่เผา สนับสนุนการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม และปฏิบัติตามนโยบายเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) คือ การไม่รับซื้อ และไม่นำเข้าผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากพื้นที่รุกป่าและพื้นที่ที่มาจากการเผา ซึ่งการนำเทคโนโลยีตรวจสอบย้อนกลับมาใช้ในพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือของประเทศไทย เพื่อหยุดฝุ่นควันและมลพิษทางอากาศ”ฐิติ กล่าว
ต้นแบบห้องปฎิบัติการตรวจสอบย้อนกลับ
เริ่มแรกของการนำเทคโนโลยีตรวจสอบย้อนกลับมาใช้ “ซีพีเอฟ” ได้มีการจัดอบรมให้ความรู้กับเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดบนพื้นที่มีเอกสารสิทธิ์มีแนวปฏิบัติในการเพาะปลูกที่ได้มาตรฐาน ต่อมา ได้มีการพัฒนาใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดบนเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain Traceability) ที่เพิ่มความโปร่งใส ความเชื่อมั่น และแก้ไขข้อมูลไม่ได้ โดยแสดงผล Dashboard เป็นโปรแกรมที่ออกแบบให้ภาพถ่ายดาวเทียมจุดความร้อน mapping กับพิกัดแปลงปลูกของเกษตรกรโดยอัตโนมัติ และด้วยเทคโนโลยี Blockchain ติดตามทุกธุรกรรมการซื้อขาย ยืนยันความโปร่งใสของข้อมูล
เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) ผู้จัดหาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ยั่งยืน ซีพีเอฟ ใช้ห้องปฏิบัติการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability Operations Room) เชื่อมภาพถ่ายดาวเทียม 3 ดวง กับ แจ้งพิกัดจีพีเอสระบุตำแหน่งแปลงปลูก ประมวลและแสดงผลด้วย Power BI ติดตามการเผาแปลงในพื้นที่ปลูกข้าวโพดในห่วงโซ่อุปทานซีพีแบบเรียลไทม์ รายงานสถานะรายวัน เมื่อพบจุดเผาเจ้าหน้าที่ลงพื้นพูดคุยกับเกษตรกรทันที
“ซีพีเอฟ มีการตั้งเป้าหมายอย่างชัดเจนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากห่วงโซ่อุปทานข้าวโพดได้ 25% ภายในปี 2030 ซึ่งพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในห่วงโซ่อุปทานครอบคลุมพื้นที่ปลูก กว่า 2 ล้านไร่ และเกษตรกรกว่า 45,000-50,000 ราย ลงทะเบียนในระบบตรวจสอบย้อนกลับของบริษัทฯ พบว่า มีจุดที่เผาแปลงข้าวโพดอยู่เพียง 0.03% ซึ่งการแจ้งจุดความร้อน และติดตามการเผาแปลงแบบเรียลไทม์ แบบรายวันทำให้มีข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ แม่นยำในการกำกับดูแลทางซัพพลายเชน ฉะนั้น ห้องปฏิบัติการตรวจสอบย้อนกลับนี้ถือเป็นต้นแบบในการแก้ปัญหาฝุ่น การสร้างอากาศสะอาดให้เกิดขึ้นได้” ฐิติ กล่าว
หนุนทุกภาคส่วนใช้ตรวจสอบย้อนกลับ
นอกจากนั้น ยังมีมาตรการส่งเสริมให้เกษตรกรไม่เผาแปลงข้าวโพด โดยหากพบว่าเกษตรกรเผาแปลงข้าวโพดครั้งแรกจะเป็นการให้คำแนะนำ การตักเตือนพูดคุยให้หยุดเผา และหากพบครั้งที่ 2 จะมีมาตรการหยุดรับซื้อ 1 ปี หากพบเผาซ้ำจะหยุดซื้อไปเรื่อยๆ จนเกษตรกรเลิกเผา รวมถึงสนับสนุนให้คู่ค้าธุรกิจ ประมาณ 600 ราย ภายใต้โครงการ Partner to Green คู่ค้าข้าวโพดพันธมิตร พิชิตหมอกควัน ให้ช่วยกันกำกับดูแลเกษตรกรร่วมด้วย พร้อมพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับคู่ค้าพันธมิตรในการจัดหาข้าวโพดที่รับผิดชอบ ตรวจสอบย้อนกลับได้
“ฐิติ” กล่าวด้วยว่าการส่งเสริมให้เกษตรกรเข้าสู่มาตรฐานสากล เตรียมตัวเข้าสู่ระบบการตรวจสอบย้อนกลับ มีการบันทึกกิจกรรมด้านการเพาะปลูกทั้งหมด ถือเป็นการเปลี่ยนผ่าน เป็นการเปลี่ยนแปลงในภาคอุตสาหกรรม ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันผลักดัน ทั้งภาครัฐ เอกชนคู่แข่งขันทางการค้าในอุตสาหกรรม ให้ความรู้และเน้นการสื่อสารเกี่ยวกับการตรวจสอบย้อนกลับ ซึ่งเร็วๆ นี้ อาจจะถูกกำหนดเป็นกฎหมายภายใต้พ.ร.บ.อากาศสะอาด พ.ศ...
"บริษัทฯ ยินดีให้ภาครัฐสามารถนำแอปพลิเคชั่น ที่มีชื่อว่า “For Farm” ไปใช้ได้ฟรี เพื่อส่งเสริมเกษตรกรเข้าสู่มาตรฐานสากลจะต้องมีการบันทึกกิจกรรมด้านการเพาะปลูกทั้งหมด ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมรับมือให้สามารถแข่งขันในกติกาสากลของโลกได้ในอนาคต" ฐิติ กล่าว