'เอลนีโญ-ลานีญา' กดดันสภาพภูมิอากาศ 'แปรปรวน' กระทบหนักเศรษฐกิจภาคเกษตร

'เอลนีโญ-ลานีญา' กดดันสภาพภูมิอากาศ 'แปรปรวน' กระทบหนักเศรษฐกิจภาคเกษตร

นับตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นมา ประเทศไทยต้องเผชิญกับสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน อย่าง สถานการณ์ภัยแล้ง เป็นผลมาจาก ปรากฏการณ์เอลนีโญ ส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้นกว่าค่าปกติ 0.5 องศา ขึ้นไป ตั้งแต่ช่วงปลายไตรมาสที่ 2 ปี 2566 จนถึงช่วงต้นไตรมาสที่ 2 ปี 2567

 

ข้อมูลจาก สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) คาดการณ์ว่า ปรากฏการณ์เอนโซ่จะพบในช่วงกลางไตรมาสที่สองของปี 2567 มีแนวโน้มที่สภาพภูมิอากาศจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และในช่วงต้นไตรมาสที่สามของปี 2567 ถึงต้นไตรมาสแรกของปี 2568 ประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับปรากฏการณ์ลานีญา อย่างต่อเนื่อง โดยมีฝนตกหนักในพื้นที่หลายจังหวัด น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่า ไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งในหลายพื้นที่ อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ข้างต้นเป็นการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วซึ่งไม่ได้พบได้บ่อยครั้ง

\'เอลนีโญ-ลานีญา\' กดดันสภาพภูมิอากาศ \'แปรปรวน\' กระทบหนักเศรษฐกิจภาคเกษตร

นอกจากนี้ ยังพบว่าปริมาณน้ำฝนลดลงและส่งผลให้ปริมาณน้ำในเขื่อนที่ปรับตัวลดลงต่ำกว่าค่าปกติ ดังจะเห็นได้จากปริมาณน้ำ ในเขื่อนทั่วประเทศ ณ สิ้นไตรมาสแรกปี 2567 มีปริมาตรรวม 43,354 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 61.12 % ของความจุน้ำใช้การ ลดลง จาก 45,489 ล้านลูกบาศก์เมตรในปีก่อน และเพิ่มขึ้นจาก 39,019 ล้านลูกบาศก์เมตรในปี 2558 โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ สถานการณ์ สภาพภูมิอากาศที่มีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้น ทั้งอุณหภูมิที่สูงขึ้นกว่าค่าปกติ 

\'เอลนีโญ-ลานีญา\' กดดันสภาพภูมิอากาศ \'แปรปรวน\' กระทบหนักเศรษฐกิจภาคเกษตร

\'เอลนีโญ-ลานีญา\' กดดันสภาพภูมิอากาศ \'แปรปรวน\' กระทบหนักเศรษฐกิจภาคเกษตร

ทั้งนี้ยังมีสถานการณ์ฝนตกน้อย ส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตสินค้า เกษตรสำคัญ ๆ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2567 ให้ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 และลดลงเมื่อเทียบกับช่วงที่ เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญรุนแรงในปี 2558 ได้แก่

  1. ข้าวเปลือก สัดส่วน 14.85% ลดลง 6.0 % (YoY) และลดลง 29.8 % เมื่อเทียบกับช่วงที่เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญที่รุนแรง ในปี 2558
  2. อ้อย สัดส่วน 6.25%  ผลผลิตปรับตัวลดลง  12.2 %  (YoY) และลดลง17.2 % เมื่อเทียบกับปี 2558
  3. มันสำปะหลัง สัดส่วน 5.80%  ผลผลิตปรับตัวลดลง 9.0 % (YoY) และลดลง 25.5 %  เมื่อเทียบกับปี 2558 ซึ่งส่งผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตรในไตรมาสแรกของปี 2567 ปรับตัวลดลง  3.5% และลดลง 9.5% เมื่อเทียบกับปี 2558

และคาดว่าแนวโน้มการเกิดปรากฏการณ์ลานีญาซึ่งทำให้เกิดฝนตกหนักฉับพลัน จะส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อผลผลิตภาคเกษตรโดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี

\'เอลนีโญ-ลานีญา\' กดดันสภาพภูมิอากาศ \'แปรปรวน\' กระทบหนักเศรษฐกิจภาคเกษตร

ดังนั้น ภายใต้การเผชิญกับสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนเพิ่มขึ้น ภาครัฐจึงควรให้ความสำคัญในเฝ้าระวัง ติดตาม และการวางแผนประเมิน สถานการณ์บริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างใกล้ชิด และมีประสิทธิภาพเพื่อรองรับภัยพิบัติทางธรรมชาติทุกรูปแบบ พร้อมทั้งการยกระดับ ประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติต่าง ๆ เช่น การผันน้ำ การระบายน้ำ และการกระจายแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อภาคเกษตร รวมไปถึงยกระดับความรู้ ความสามารถ เกี่ยวกับสถานการณ์ของความแปรปรวน ด้านสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้เกษตรกรมีความเข้าใจ และเข้าถึงหลักการกระบวนการใช้น้ำในการเพาะปลูกอย่างถูกต้อง

 


 

ทั้งนี้ ควรส่งเสริม มาตรการด้านการจัดการน้ำควบคู่กับด้านพันธุ์พืช โดยในระยะเริ่มต้นด้วยการให้เกษตรกรกระจายความเสี่ยงด้วยการปลูกพืชที่หลากหลาย และพืชทนทานในทุกสภาพภูมิอากาศทั้งภัยแล้งและน้ำท่วม

ขณะที่มาตรการในระยะถัดไปควรมุ่งเน้นส่งเสริมการปรับปรุงพันธุ์พืชชนิดอื่น ๆ ที่ทนต่อสภาพอากาศที่อาจจะแปรปรวนมากขึ้นในอนาคต เศรษฐกิจของภาคเกษตร และเศรษฐกิจในภาพรวมได้น้อยลง ซึ่งจะส่งผลให้ความแปรปรวนทางสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อมูลค่าทางในภาพรวมได้น้อยลง