นโยบายใหม่จากรัฐ รักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

นโยบายใหม่จากรัฐ รักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันส่งผลกระทบเป็นวงกว้างไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม การมีนโยบายและกฎหมายจากภาครัฐคงเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนได้อย่างยั่งยืน

KEY

POINTS

  • แผนปฏิบัติการด้านการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 -2573 ในการจัดการในภาคพลังงาน ภาคการขนส่ง การจัดการของเสีย ด้านอุตสาหกรรมภาคภาคการเกษตร
  • ในอนาคตจะมีการเร่ง NDC Action Plan 2021-2030 และเร่งจัดทำ พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงพัฒนาศักยภาพในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพิ่มมากขึ้น
  • การขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจกในระดับพื้นที่มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันส่งผลกระทบเป็นวงกว้างไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม การมีนโยบายและกฎหมายจากภาครัฐคงเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนได้อย่างยั่งยืน

พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กล่าวในงาน เวทีผู้นำ “Climate Action Leaders Forum รุ่น 3” หรือ CAL Forum #3 ว่า COP 28 และทิศทางนโยบายแผนสู่ Net Zero Emissions ทั่วโลกให้ความสนใจ เป็นเรื่องของเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม โดยที่มาเริ่มจากกรอบอนุสัญญา UNFCCC มีผลบังคับใช้ พ.ศ. 2537 ด้วยรักษาระดับความเข้มข้นของ GHG เพื่อไม่ให้กระทบต่อการผลิตอาหารและการพัฒนาที่ยั่งยืน ใช้กับ Annex | Parties : ประเทศพัฒนาแล้ว และ Non-Annex | Parties : ประเทศกำลังพัฒนาซึ่งประเทศไทยอยู่ในกลุ่มนี้ 

ต่อมามี Kyoto Protocol มีผลบังคับใช้ พ.ศ. 2548 ใช้กับประเทศพัฒนาแล้วมีพันธกรณีที่ 1 ในการลดก๊าซฯ 5% ภายในปี พ.ศ. 2555 เทียบกับปี พ.ศ. 2533  พันธกรณีที่ 2 ในการลดก๊าซฯ 18% ภายในปี พ.ศ. 2563 เทียบกับปี พ.ศ. 2533  แล้วต่อด้วย  Paris Agreement มีผลบังคับใช้ พ.ศ. 2559   ควบคุมการเพิ่มอุณหภูมิโลกไม่เกิน 1.5 - 2 องศาเซลเซียสเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัว ให้มีเงินทุนไหลเวียนสู่การพัฒนาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก

ซึ้งสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการด้านการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 -2573 ในด้านต่างๆ แบ่งเป็น 1.ภาคพลังงาน อนุรักษ์/เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าและพัฒนาพลังงานทดแทน 2.ภาคการขนส่ง ส่งเสริมการใช้ EV พัฒนาระบบขนส่งในเมืองและส่งเสริมพลังงานทางเลือกให้มากขึ้น 3.การจัดการของเสีย จัดการน้ำเสียชุมชน-อุตสาหกรรมรวมถึงจัดการขยะชุมชน 4.ด้านอุตสาหกรรม มีการทดแทนปูนเม็ด ทดแทน-ปรับเปลี่ยนสารทำความเย็น 5.ภาคการเกษตร มีจัดการของเสียปศุสัตว์ ลดการใช้ปุ๋ยเคมีและการทำนาเปียกสลับแห้ง

 

การลดก๊าซเรือนกระจกในระดับพื้น

รวมถึงมีการขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจกในระดับพื้นที่มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ และโครงการพัฒนาศักยภาพสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด โดยมีการดำเนินงานดังนี้

1.จัดทำรายงานข้อมูลก๊าซเรือนกระจก แผนการลดก๊าซเรือนกระจกระดับจังหวัด/แผนปฏิบัติการระดับพื้นที่

2.พัฒนาศักยภาพบุคลากร  ในการจัดทำแผนการลดก๊าซฯ ระดับจังหวัด-แผนปฏิบัติการปรับตัวฯในระดับพื้นที่

3.พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการรายงานข้อมูลระดับจังหวัด

4.จัดทำแผนงานระดับจังหวัดด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อย่าง แผนการลดก๊าซฯ ระดับจังหวัดและแผนปฏิบัติการปรับตัวฯ ในระดับพื้นที่

 

ซึ่งแผนในอนาคตจะมีการเร่ง NDC Action Plan 2021-2030 และเร่งจัดทำ พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงพัฒนาศักยภาพในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน อย่าง Blended Finance  , Grants , Article 6.2 และแรงจุงใจทางด้านภาษี ทั้งนี้ได้มีการพัฒนาศูนย์ข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ DCCE Data Center: Big Data อีกด้วย 

วีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู  ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ว่าภาครวมการใช้พลังงานขั้นต้นของไทยในปี 2566 มีการใช้ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันเพิ่มขึ้น สวนทางกับการใช้ถ่านหิน ลิกไนต์ และไฟฟ้าพลังงานน้ำ/ไฟฟ้านำเข้า มีการใช้ที่ลดน้อยลง รวมถึงการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคครัวเรือน เพิ่มขึ้น 7.2% ภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น 8.3% และภาคอื่นๆ 12.5% ซึ่งสวนทางกับภาคอุตสาหกรรม ลดลง 2.9% 

ทิศทางนโยบายแผนพลังงานฉบับใหม่

ในปัจจุบัน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ได้มีทิศทางนโยบายแผนพลังงานฉบับใหม่ของประเทศไทยมีความถ้าทายในการดำเนินงาน มีแผนพลังงานชาติใหม่ที่รับมือการใช้พลังงานในอนาคตซึ่งแบ่งเป็นส่วนสำคัญ ดังนี้

1. ภาคการผลิตและบริการ อย่าง ประตูการค้าการลงทุนและโลจิสติกสำคัญของโลก การแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง ฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่มีมูลค่าสูง การท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยังยืน เกษตรและเกษตรแปรรูป อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 

2.โอกาสและความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม อย่าง SMES ที่เข้มแข็ง ศักยภาพสูง แข่งขันได้ พื้นที่และเมืองอัจจริยะ ความยากจนข้ามรุ่นและความคุ้มครองทางสังคม 

3.ความยังยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่าง เศรษฐหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ การลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

4.ปัจจัยผลักดันการพลิกโฉมประเทศ ที่พร้อมจะผลิตกำลังคนที่มีสมรรถนะสูง และภาครัฐที่ทันสมัยมีประสิทธิภาพตอบโจทย์ประชาชน

ทั้งนี้ ยังมีกรอบแผนพลังงานชาติ (National Energy Plan: NEP) ปี พ.ศ. 2567 – 2580 ดังนี้ 1.ใช้พลังงานหมุนเวียน มากกว่า 50% ร่วมกับแผนระบบกักเก็บพลังงาน ส่งเสริมการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนระดับ GridScale  ชุมชนและผู้บริโภค 2. EV 30@30 นโยบายโครงสร้างพื้นฐานการส่งเสริม การผลิตและการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า 3.ใช้ไฟฟ้ามากกว่า 30% นวัตกรรมด้านนโยบายและเทคโนโลยีส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงาน 

ปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ว่า มุมมองต่อการพัฒนากฎหมาย Climate Change ต้องมีความร่วมมือจากคนในประเทศ ความเข้าอกเข้าใจ  จึงจะประสบความสำเร็จในทำกฎหมายได้  แต่การทำกฎหมายของไทยยังมีช่องโหว่เรื่องของความเข้าใจ นอกเหนือจากที่ตัวเองรับผิดชอบ อย่างหน่วยงานอื่นหรือหน่วยงานข้างเคียง ยังขาดการแปลงสารและรับสารที่ยังไม่ชัดเจน

เพราะฉะนั้น ต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวอย่างต่อเนื่อง เหมือนต่างประเทศ ซึ่งต้องการกลไกที่มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่แค่ลอกกฎหมายเก่ารวมถึงต่างประเทศเพราะต่างประเทศมีบริบทเป็นของตัวเอง รวมถึงจำเป็นต้องมีนโยบายที่เข้มแข็ง และต้องมีการติดตามและประเมินผลอย่างชัดเจน