CAL FORUM# 3 มุ่งจัดการทิศทาง นโยบาย กฎหมาย และการจัดการภาครัฐสู่ความยั่งยืน

CAL FORUM# 3  มุ่งจัดการทิศทาง นโยบาย กฎหมาย และการจัดการภาครัฐสู่ความยั่งยืน

เวที CAL Forum รุ่น 3 สู่เป้าหมาย Net zero ควบคู่การกำหนดทิศทาง นโยบาย กฎหมาย และการจัดการภาครัฐ ในการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

ดร. พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กล่าวในงาน เวทีผู้นำ “Climate Action Leaders Forum รุ่น 3” หรือ CAL Forum #3 ว่า COP 28 และทิศทางนโยบายแผนสู่ Net Zero Emissions ทั่วโลกให้ความสนใจ เป็นเรื่องของเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม โดยที่มาเริ่มจากกรอบอนุสัญญา UNFCCC มีผลบังคับใช้ 1994 ด้วยรักษาระดับความเข้มข้นของ GHG เพื่อไม่ให้กระทบต่อการผลิตอาหารและการพัฒนาที่ยั่งยืน ใช้กับ Annex |Parties: ประเทศพัฒนาแล้ว และ Non-Annex |Parties: ประเทศกำลังพัฒนาซึ่งประเทศไทยอยู่ในกลุ่มนี้ 

ต่อมามี Kyoto Protocol มีผลบังคับใช้ 2005 ใช้กับประเทศพัฒนาแล้วมีพันธกรณีที่ 1 ในการลดก๊าซฯ 5% ภายในปี 2012 เทียบกับปี 1990 พันธกรณีที่ 2 ในการลดก๊าซฯ 18% ภายในปี 2020 เทียบกับปี 1990 แล้วต่อด้วย  Paris Agreement มีผลบังคับใช้ 2016   ควบคุมการเพิ่มอุณหภูมิโลกไม่เกิน 1.5 - 2 องศาเซลเซียสเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัว ให้มีเงินทุนไหลเวียนสู่การพัฒนาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

CAL FORUM# 3  มุ่งจัดการทิศทาง นโยบาย กฎหมาย และการจัดการภาครัฐสู่ความยั่งยืน

นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ว่า มุมมองต่อการพัฒนากฎหมาย Climate Change ต้องมีความร่วมมือจากคนในประเทศ ความเข้าอกเข้าใจ  จึงจะประสบความสำเร็จในทำกฎหมายได้  แต่การทำกฎหมายของไทยยังมีช่องโหว่เรื่องของความเข้าใจ นอกเหนือจากที่ตัวเองรับผิดชอบ อย่างหน่วยงานอื่นหรือหน่วยงานข้างเคียง ยังขาดการแปลงสารและรับสารที่ยังไม่ชัดเจน

เพราะฉะนั้น ต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวอย่างต่อเนื่อง เหมือนต่างประเทศ ซึ่งต้องการกลไกที่มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่แค่ลอกกฎหมายเก่ารวมถึงต่างประเทศเพราะต่างประเทศมีบริบทเป็นของตัวเอง รวมถึงจำเป็นต้องมีนโยบายที่เข้มแข็ง และต้องมีการติดตามและประเมินผลอย่างชัดเจน

 

ดร. วีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู  ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ว่า ทิศทางนโยบาย แผนพลังงานฉบับใหม่ของประเทศไทยมีความถ้าทายในการดำเนินงาน มีแผนพลังงานชาติใหม่แบ่งเป็น ส่วนสำคัญ ดังนี้

1. ภาคการผลิตและบริการ อย่าง ประตูการค้าการลงทุนและโลจิสติกสำคัญของโลก การแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง ฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่มีมูลค่าสูง การท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยังยืน เกษตรและเกษตรแปรรูป อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 

2. โอกาสและความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม อย่าง SMES ที่เข้มแข็ง ศักยภาพสูง แข่งขันได้ พื้นที่และเมืองอัจจริยะ ความยากจนข้ามรุ่นและความคุ้มครองทางสังคม 

3. ความยังยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่าง เศรษฐหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ การลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ทั้งนี้ยังมีปัจจัยผลักดันการพลิกโฉมประเทศ ที่พร้อมจะผลิตกำลังคนที่มีสมรรถนะสูง และภาครัฐที่ทันสมัยมีประสิทธิภาพตอบโจทย์ประชาชน

CAL FORUM# 3  มุ่งจัดการทิศทาง นโยบาย กฎหมาย และการจัดการภาครัฐสู่ความยั่งยืน