กฟผ.เดินหน้าธุรกิจสู่ธุรกิจสีเขียว ดูแลสิ่งแวดล้อม

กฟผ.เดินหน้าธุรกิจสู่ธุรกิจสีเขียว ดูแลสิ่งแวดล้อม

กฟผ.ต่อยอดความมั่นคงด้านพลังงาน นำเทคโนโลยีพัฒนาธุรกิจด้านพลังงาน กางแผน Triple S มุ่งสู่พลังงานสีเขียว พร้อมทำ 3 ธุรกิจใหม่หารายได้

นางรังสินี ประกิจ ผู้อำนวยการฝ้ายพัฒนาธุรกิจเกี่ยวเนื่อง การไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (กฟผ.)กล่าวในการสัมมนา PostToday Thailand Economic Drive 2024 “ฝ่ามรสุมเศรษฐกิจ 2567”หัวข้อ “NEW BUSINESS กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ว่า กฟผ.ยังคงมุ่งมั่นการเป็นรากฐานด้านความมั่นคงด้านพลังงาน โดยการรักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของประเทศถือเป็นภารกิจหลักของกฟผ.

ทั้งนี้ แม้อุตสาหกรรมของกฟผ. จะเป็นรูปแบบเดิม แต่กฟผ. ไม่ได้มีแค่บริษัทเดียว แต่ปัจจุบันมีทั้งหมด 7 บริษัท โดยมีการปรับเปลี่ยน หรือมุ่งเน้นไปสู่พลังงานทดแทนมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องบอกว่ามีความเขียวทั้งในพอร์ต และการบริหารงาน ไม่ว่าจะเป็นยานยนต์ไฟฟ้า หรืออีวี (EV) ที่เข้ามา กฟผ. เองก็เข้าไปมีส่วนร่วม เช่น การลงทุนสร้างสถานีชาร์จอีวี ที่องค์กรอื่นยังไม่กล้าลงทุน

กฟผ. เรายังมุ่งมั่นในการเป็นรากฐานด้านพลังงาน ซึ่งกฟผ.ไม่ได้มีแค่หน่วยงานเดียว ซึ่งแต่ละหน่วยงานย่อยทำหน้าที่ที่หลากหลายตั้งแต่ Power Generation, LNG, Green Fuel, Renewable Energy, Transmission & Smart Grid, EV ,Innovation&Startup ซึ่งในเรื่อง EV Energy เป็นส่วนหนึ่งที่กฟผ.เริ่มดำเนินการมาหลายปี ตั้งแต่ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้ายังมีความกังวลเรื่องสถานีชาร์จ ขณะที่ภาคธุรกิจก็ยังไม่มั่นใจมากนักที่จะลงทุนติดตั้งสถานีชาร์จ ซึ่งกฟผ.เปรียบเสมือนฟันเฟืองส่วนหนึ่งในยุคแรกๆที่กล้าลงทุนและช่วยขับเคลื่อนให้การใช้รถไฟฟ้ามีสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้น

เป้าหมายป้าหมายของ กฟผ. ก็คือในปี 2593 ยังตั้งเป้าในการสร้างสมดุลระหว่างต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศ ด้วยแผน Triple S ประกอบด้วย

1.Sources Transformation เพิ่มสัดส่วนการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนโดยเฉพาะโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับเขื่อนพลังน้ำและระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ การพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าให้มีความทันสมัย (Grid modernization) และการนำเทคโนโลยีทันสมัยและพลังงานทางเลือกมาใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าในอนาคต

2.Sink Co-Creation เพิ่มปริมาณการดูดซับกักเก็บคาร์บอน อาทิ โครงการปลูกป่าล้านไร่อย่างมีส่วนร่วม การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture Utilization and Storage : CCUS) เพื่อกักเก็บคาร์บอนปริมาณ 3.5 – 7 ล้านตัน ในปี

3.Support Measures Mechanism สนับสนุนโครงการชดเชยและหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นรูปธรรม เช่น ส่งเสริมการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ ให้คำปรึกษาด้านพลังงาน ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า โครงการห้องเรียนสีเขียวกว่า 400 โรงเรียนทั่วประเทศ

นางรังสินี กล่าวว่า ทั้งนี้กฟผ.ได้ทำธุรกิจใหม่ 3 ธุรกิจเพื่อหารายได้เป็นทุนและส่งรายได้เข้ารัฐ ประกอบด้วยO&M Business และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น ให้บริการเดินเรื่องและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าอย่างครบวงจร ทั้งการบำรุงรักษาไฟฟ้า รักษาเครื่องกล ซ่อม ผลิตทสอบเครื่องกลและบริหารอะไหล่ เป็นต้น

ธุรกิจ EV Business Smart Energy โดยศักยภาพและความครอบคลุมของเสาไฟฟ้าแรงสูงของกฟผ.ที่กระจายไปทั่วประเทศทำให้สามารถให้บริการด้านการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมได้อย่างมั่นคงและปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

และธุรกิจวัตถุพลอยได้จากการผลิตไฟฟ้า โดยนำวัตถุพลอยได้จากการผลิตไฟฟ้ากลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น เถ้าลอยลิกไนต์ เถ้าก้นเตาลิกไนต์และยิปซัมสังเคราะห์ โดยถูกนำไปใช้เป็นวัตุดิบในอุตสาหกรรมต่างๆเช่น อุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต คอนกรีตและวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น