ความสมดุลระหว่างพลังงานสะอาด กับความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ

ความสมดุลระหว่างพลังงานสะอาด กับความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ

หลักการพื้นฐานสำหรับสมดุลระหว่างพลังงานที่สะอาดและความมั่นคงของพลังงานของประเทศเกี่ยวข้องกับแนวคิดพื้นฐานของอุปสงค์และอุปทาน มักประเมินมูลค่าของทรัพยากรไว้น้อยกว่ามูลค่าจริงๆ ส่งผลให้มีการผลิตพลังงานมากเกินไป

Key points

  • Bankable  เป็น โครงการที่มีข้อตกลงที่กล่าวถึงการผลิตมากเกินไป ข้อตกลงนี้มักระบุว่าหากมีการผลิตมากเกินไป รัฐบาลจะซื้อพลังงานส่วนเกินนั้น
  • กลยุทธ์เพื่อบรรลุเป้าหมายพลังงานที่ครอบคลุมและยั่งยืน  เลือกใช้แหล่งพลังงานที่หลากหลาย การลงทุนในแหล่งพลังงานที่สะอาดและหลากหลาย
  • การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ โครงสร้างพื้นฐานของการผลิตพลังงานสะอาดจำเป็นจะต้องมีความทนทานและปลอดภัย
  • รัฐบาลมีบทบาทสำคัญในการทำให้โครงการมีความยั่งยืน ได้โดยการเตรียมรองรับการผลิตพลังงานส่วนเกิน ซึ่งจะช่วยให้โครงการมีความเป็นไปได้

การปรับการผลิตพลังงานให้มีปริมาณพอดีกับอุปสงค์ในตลาดเป็นเรื่องที่จำเป็นโดยเฉพาะสำหรับระบบแบบ Off-grid การผลิตมากเกินไป จะทำให้พลังงานที่ผลิตเกินมาไม่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ ดังนั้นก่อนเริ่มใช้ระบบ Off-grid จึงควรศึกษาอย่างถี่ถ้วนเพื่อกำหนดปริมาณพลังงานที่จำเป็นต่อการใช้งาน

อาลี ฮุม มักกี ซีอีโอกลุ่มพลังงานคิลิมันจาโร ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า ในแวดวงของโครงการพลังงานจะมีศัพท์หนึ่งคำคือ “Bankable” ซึ่งเป็นคำที่ใช้อธิบายโครงการที่มีข้อตกลงที่กล่าวถึงการผลิตมากเกินไป ข้อตกลงนี้มักระบุว่าหากมีการผลิตมากเกินไป รัฐบาลจะซื้อพลังงานส่วนเกินนั้น หากไม่มีข้อตกลงดังกล่าว โครงการอาจจะไม่ถูกพิจารณาว่าเป็นโครงการลักษณะ Bankable เนื่องจากขาดผู้ซื้อสำหรับพลังงานส่วนเกินซึ่งส่งผลกระทบให้ความเป็นไปได้ของโครงการนั้นลดน้อยลง

นอกจากนี้ กลยุทธ์เพื่อบรรลุเป้าหมายพลังงานที่ครอบคลุมและยั่งยืน ดังนี้ เลือกใช้แหล่งพลังงานที่หลากหลาย การลงทุนในแหล่งพลังงานที่สะอาดและหลากหลาย อย่างพลังงานแสงอาทิตย์  พลังงานลม  พลังงานไฮโดร  และพลังงานนิวเคลียร์ เป็นสิ่งสำคัญที่จะลดการพึ่งพาการใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานเดียว ซึ่งมีความเสี่ยงต่อความขัดข้องที่อาจเกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทาน ความขาดแคลนทรัพยากร หรือ ข้อจำกัดทางเทคโนโลยี การเลือกใช้พลังงานจากหลากหลายแหล่งพลังงานจะช่วยลดความเสี่ยงในส่วนนี้ได้ และเพิ่มความทนทานของพลังงานโดยรวมได้

ในขณะเดียวกันการร่วมมือระหว่างประเทศ การทำงานร่วมกับประเทศอื่นในโครงการที่เกี่ยวข้องกับพลังงานช่วยให้มีการแบ่งปันเทคโนโลยี ทรัพยากร รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับแนวทางการจัดการพลังงานที่ดีที่สุด ซึ่งส่งผลให้มีการเสริมสร้างความมั่นคงและปลอดภัยทางด้านพลังงานในระดับโลก

การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ โครงสร้างพื้นฐานของการผลิตพลังงานสะอาดจำเป็นจะต้องมีความทนทานและปลอดภัย เพื่อปกป้องความมั่นคงของพลังงานของประเทศจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ เสถียรภาพและความปลอดภัยของโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาระดับอุปทานพลังงานที่ต่อเนื่องและมั่นคง

ความสมดุลระหว่างพลังงานสะอาด กับความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ

 บริบทของโครงการพลังงานต่างๆ นั้นการผลิตพลังงานออกมาในปริมาณที่มากเกินไปเป็นปัญหาที่น่ากังวลใจ โดยเฉพาะการระบุแหล่งพลังงาน โดยทั่วไป โครงการพลังงานจะถูกวัดด้วยหน่วยเมกะวัตต์ (MW) อย่าง การสร้างโครงการ 100 เมกะวัตต์ ที่ต้องลงทุน 100 ล้านเหรียญ แต่ความต้องการในท้องถิ่นจำเป็นต้องใช้พลังงาน (มีอุปสงค์ด้านพลังงาน) เพียง 10% จากโครงการ จะหมายความว่าเกิดการผลิตมากเกินไปถึง 90% สำหรับโครงการที่จะได้รับการพิจารณาว่าเป็นลักษณะ “Bankable” ได้นั้น จะต้องมีข้อตกลงเพื่อที่จะรองรับสถานการณ์ของพลังงานที่ผลิตมากเกินไป หากไม่มีการสัญญาจากรัฐบาลหรือผู้ซื้อที่จะซื้อพลังงานส่วนเกินนั้น สถาบันการเงินอาจจะไม่ให้ทุนโครงการ

ทั้งนี้รัฐบาลมีบทบาทสำคัญในการทำให้โครงการมีความยั่งยืน ได้โดยการเตรียมรองรับการผลิตพลังงานส่วนเกิน ซึ่งจะช่วยให้โครงการมีความเป็นไปได้และสอดคล้องกับหลักการของการผลิตพลังงานด้วยความรับผิดชอบ ในกรณีของการผลิตพลังงานออกมาในปริมาณที่มากเกินไป พลังงานที่มีมากเกินไปสามารถส่งออกไปยังประเทศอื่นได้ มีหลายตัวอย่างที่พลังงานถูกขายไปให้ต่างประเทศ โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกา บริษัทไฟฟ้าระดับประเทศ อย่าง ESCOM (Electricity Supply Corporation of Malawi Limited) อาจขายพลังงานส่วนเกินไปไปยังกริดของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งนับเป็นการกระตุ้นความร่วมมือทางพลังงานและการค้าระดับภูมิภาคอีกด้วย

ซึ่งกลุ่มพลังงาน คิลิมันจาโร รับรู้ถึงเป้าหมายของประเทศไทยที่มุ่งให้ 37% เป็นพลังงานหมุนเวียนภายในปี 2036 ซึ่งนับเป็นเป้าหมายใหญ่มากจากปริมาณของพลังงานหมุนเวียนที่อยู่ในระดับ 13% ในปัจจุบัน เมื่อมองถึงศักยภาพของประเทศไทย โดยเฉพาะในด้าน พลังงานความร้อนใต้พิภพ (geothermal) พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานไฮโดรเจน จึงเน้นแผนงานให้โฟกัสไปที่ตลาดคาร์บอน แทนที่จะริเริ่มโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ ที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาตลาดคาร์บอน รวมถึงการให้บริการที่ปรึกษาสำหรับตลาดคาร์บอนแบบ B2G โดยใช้ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญจากพันธมิตร โดยเป้าหมายที่จะให้บริการเป็นที่ปรึกษาโดยตรงให้กับรัฐบาล โดยใช้พันธบัตรและกรอบกฎหมายที่เป็นดิจิทัลเพื่อทำให้ตลาดคาร์บอนน่าสนใจต่อนักลงทุนสถาบัน แผนการคือการสร้างตลาดคาร์บอนระดับโลกจากอาบูดาบี โดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและบริการที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับคาร์บอนได้อย่างยั่งยืน

ความสมดุลระหว่างพลังงานสะอาด กับความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ