'กทพ.' จ่อเพิ่มทางด่วน 200 กม. หนุนลดการปล่อยคาร์บอนกว่า 4 แสนตัน

'กทพ.' จ่อเพิ่มทางด่วน 200 กม. หนุนลดการปล่อยคาร์บอนกว่า 4 แสนตัน

"กทพ." เล็งสร้างทางด่วนเพิ่มอีกกว่า 200 กม. ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนกว่า 4 แสนตัน มากกว่าการผลิตคาร์บอนกว่า 7 เท่า ย้ำ เทคโนโลยีบวกสมองมนุษย์ เลิกใช้ฟอสซิล ช่วยสร้างเมืองน่าอยู่

นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กล่าวในงาน “SUSTAINABILITY FORUM 2024”  ในหัวข้อ "Sustainable Urbanization : Better Cities and Communities" จัดโดย "กรุงเทพธุรกิจ" ว่า บริษัทฯ ได้ห้บริการมากว่า 50 ปี เปิดบริการระยะทาง 280 กิโลเมตร (กม.) ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 4 แสนตัน ในขณะที่มีการปลดปล่อยเพียง 6 หมื่นตัน ถือว่าช่วยลดคาร์บอนได้มากกว่า 7 เท่า 

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่บริษัทฯ ได้ดำเนินการถือว่ามาถูกทางแล้ว ด้วยถนนของกรุงเทพฯ มีสถานีเยอะทำให้การเดินทางช้า รถไฟฟ้าวิ่งได้ไม่เร็วอย่างที่คิดเพราะอาจจะต้องจอดบ่อย ประชาชนในกรุงเทพฯ จึงไม่นิยมมาอยู่ และย้ายไปอยู่ชาญเมือง ดังนั้น สิ่งที่บริษัทฯ ทำได้ คือ การขยายเครือข่ายออกไปนอกเมือง

สำหรับยุทธศาสตร์ 10 ปี คือ จะสร้างทางด่วนเพิ่มอีก 200 กิโลเมตร โดยปีหน้าจะขยายสู่ถนนลำลูกกา ถนนพระราม 3 ไปสู่ถนนพระราม 2 ถือว่ามีจำนวนประชาชนอยู่มาก ดังนั้น สิ่งที่บริษัทฯ ดำเนินการจะช่วยทำให้โลกเดือดและพังช้าลง แม้คนมองว่าการสร้างถนนจะเพิ่มรถให้วิ่งมากขึ้น ต้องเข้าใจว่ารถเครื่องสันดาปเมื่อจอดนิ่งจะผลิตคาร์บอนมากกว่ารถที่เคลื่อนที่ไปเรื่อย ๆ ถือว่าลดการปล่อยคาร์บอนได้ดีกว่า 

\'กทพ.\' จ่อเพิ่มทางด่วน 200 กม. หนุนลดการปล่อยคาร์บอนกว่า 4 แสนตัน

"สิ่งที่เราทำคือตอบโจทย์ได้ คือ ทำเมืองให้ซัสเทนฯ และดูแลเรื่องความยั่งยืน เราจะลดการผลิตคาร์บอน 30% จาก 25 โครงการ อาทิ โซลาร์เปลี่ยนไฟเป็นหลอดๅ LED ซึ่งช่วยประหยัดค่าไฟที่ต้องจ่ายได้ถึง 50% รวมถึงมาตรการอื่น ๆ เพื่อลดคาร์บอน รวมถึงใช้ระบบเทคโนโลยีอินโนเวชั่นต่าง ๆ จึงยืนยันได้ว่าเราดำเนินงานกับเป้าหมายที่ประเทศได้ไปสัญญาไว้ที่เวที COP27 และ COP28 แน่นอน 

ทั้งนี้ เมื่องที่น่าอยู่คือ เมืองที่ไม่มีการใช้ฟอสซิลแล้ว เพราะพลังงานในโลกนี้มหาศาล และด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ บวกความสามารถของมนุษย์ การเปิดกว้างรับสิ่งต่าง ๆ  ก็จะส่งผลให้สังคมไทยก้าวสู่เมืองน่าอยู่