'พลังงาน' คาด เวที COP28 ถกเข้ม เร่ง 'แผนพลังงานชาติ' รับกติกาโลก 

'พลังงาน' คาด เวที COP28 ถกเข้ม เร่ง 'แผนพลังงานชาติ' รับกติกาโลก 

"พลังงาน" จับตา เวที COP28 ถกเข้ม เร่งการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน แนะเอกชนปรับตัวรับกติกาโลก แม้จะต้องแลกกับต้นทุนที่สูงขึ้น พลิกวิกฤติสร้างธุรกิจใหม่  

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ในการปรับการเปลี่ยนเพื่อก้าวสู่ยุคการปรับเปลี่ยนพลังงานนั้น เนื่องจาก ปัจจุบันประเทศยังใช้เชื้อเพลิงหลักคือฟอสซิล และขณะนี้ ประเทศกำลังจะเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานในรูปแบบใหม่ที่คำนึงถึงความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม 

อย่างไรก็ตาม เราคงเคยได้ยินคำว่า โลกเดือด ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญ ในเรื่องของพลังงานนั้น สนพ. จึงต้องดำเนินการจัดทำกรอบแผนพลังงานชาติ (National Energy Plan) ปี 2023-2037 ซึ่งรวมทั้ง 5 แผนพลังงานไว้ด้วยกัน ประกอบด้วย

1.แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP)

2.แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP)

3.แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP)

4.แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan) และ

5. แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (Oil Plan)

"ถือเป็นความท้าทายของประเทศ จากเดิมที่ใช้พลังงานจากฟอสซิล เมื่อสิ่งแวดล้อมสำคัญ ความเข้มข้นของการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 28 (UNFCCC COP 28) ระหว่างวันที่ 30 พ.ย.-12 ธ.ค.2566 ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จะเข้มข้นมากขึ้น อดีตเน้นเรื่องความมั่นคงพลังงาน วันนี้จะต้องเปลี่ยนผ่านเป็นพลังงานสะอาด เพราะถูกบังคับโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ เรามีซัพพลายตลอดเวลาแต่ต้องมีต้นทุน"

ทั้งนี้ หากประเทศจะเปลี่ยนผ่านพลังงานสะอาดอย่างน้อย 59% ความมั่นคงด้านพลังาานอาจจะมีปัญหา จากการที่ต้นทุนจะสูง ประสิทธิภาพการผลิตจึงต้องใช้เวลา เพราะเชื้อเพลิงด้านพลังงานในประเทศไทยยังต้องคำนึงในเรื่องของราคา เพราะยังไม่สามารถเปิดเสรีเพื่อสร้างการแข่งขันได้เหมือนต่างประเทศ ดังนั้น เมื่อต้องเปลี่ยนเป็นพลังงานสะอาดต้นทุนจึงต้งสูง ถือเป็นความยากลำบาก ในความท้าทนยความเปลี่ยนแปลงจะเป็นโอกาส 

นอกจากนี้ ในด้านของเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ประเทศไทยก็สามารถก้าวสู่การเป็นผู้ผลิตได้ ส่วนในเรื่องของมาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (CBAM) ที่กำหนดโดยสหภาพยุโรป อาจทำให้ประเทศไทยต้องเร่งปรับตัวและสร้างให้เกิดธุรกิจใหม่อย่างรวดเร็ว ทั้งเทคโนโลยีไฮโดรเจน, เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ หรือ BESS (Battery Energy Storage System) และเทคโนโลยีการดักจับและการจัดเก็บคาร์บอน หรือ Carbon Capture and Storage (CCS) เป็นต้น 

นายวัฒนพงษ์ กล่าวว่า ประเทศไทยยังต้องพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ ซึ่งปัจจัยที่กระทบปัจจุบันคือการเปลี่ยนผ่านพลังงาน แม้จะมีการรับรู้มาตั้งแต่ปี 2564 แต่ก็ต้องล่าช้าลงไป เนื่องจากปัจจัยโควิด และสงครามทางการเมืองทั้งรัสเซีย-ยูเครน จนปัจจุบันมีสงครามในอิสราเอล รวมถึงปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ เป็นต้น   

ทั้งนี้ กระทรวงพลังงาน ได้พยายามเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนผ่านนโยบายต่างๆ อาทิน โยบาย 30@30 ถือเป็นแนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ของประเทศ  แม้ตัวเลขการใช้งานรถอีวีจะเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังต่ำกว่าเป้า อาจเป็นเพราะสถานีชาร์จยังไม่ทั่วถึง โดยปัจจุบัน ประเทศไทยมีไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในสัดส่วน 14% แต่ความต้องการตามกรอบแผนพลังงานชาติที่ 50% สามารถทำได้

"การเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาดทำได้ สิ่งที่จำเป็นสุด คือ การประหบัดพลังงาน จากแผนเดิม 30% ใหม่ 40% แต่ก็ยังน้อย ดังนั้นแผน PDP จะต้องเร่งเริ่มใช้ให้มากขึ้นจาก 14% ให้ถึง 50% ให้ได้ ดังนั้น ระบบสมาร์ทกริด การวางโครงสร้างพื้นฐานต้องมี เชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel) หรือ SAF อาจเป็นโอกาสเพื่อไม่ให้ธุรกิจเสียหายหริอผลกระทบต่อธุรกิจ"

นอกจากนี้ จากนโยบาย 30@30 รัฐบาลพยายามผลักดันให้เกิดการลงทุนแบตเตอรี่ในประเทศโดยดึงการลงทุนจากต่างประเทศ อีกตัวขับเคลื่อนที่สำคัญคือ เทคโนโลยีไฮโดรเจนจะคอมเมอร์เชียลในปี 2040 ซึ่งจะเป็นบลูไฮโดรเจน หรือ กรีนไฮโดรเจน ก็ได้ 

"การเปลี่ยนผ่านพลังงาน (Energy Transition) เราต้องมองภาคใหญ่ของประเทศ ดูแลทั้งภาคประชาชนและอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน มีหน้าที่เตรียม ยิ่งเป็นภาคที่ปล่อยคาร์บอนสูงถึง 70% จึงต้องหาพลังงานสะอาดมาช่วยลดปริมาณ ถือเป็นความท้าทาย สิ่งสำคัญคือราคา ภาคเอกชนโดยเฉพาะธุรกิจต้องปรับตัว รัฐจะค่อย ๆ ออกนโยบายมาสนับสนุน เพื่อเปลี่ยนตามโลก