'พิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิต' สู้โลกเดือด พื้นที่สีเขียวในเมืองสังคมคาร์บอนต่ำ

'พิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิต' สู้โลกเดือด  พื้นที่สีเขียวในเมืองสังคมคาร์บอนต่ำ

เมื่อโลกของเราก้าวข้าม 'โลกร้อน' สู่ 'โลกเดือด' จากการที่อุณหภูมิไต่ระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกประเทศทั่วโลกต่างให้ความสำคัญในการลดโลกร้อน  ไม่ว่าจะเป็น การเปลี่ยนไปสู่พลังงานสะอาดการขนส่ง ลดปริมาณขยะ และการอนุรักษ์ป่าไม้ เพื่อดูดซับก๊าซคาร์บอนในชั้นบรรยากาศ  

Keypoint:

  • นับวันปริมาณพื้นที่ป่าไม้ของไทยก็จะเริ่มน้อยลงเรื่อยๆ ซึ่งสาเหตุหลักๆ มาจากพฤติกรรมมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน การเผาป่า ปัญหาไฟป่า  หรือการบุกรุกทำลายป่า 
  • พิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิต ของจุฬาฯ จะเป็นอีกหนึ่งพื้นที่สีเขียว ผลักดันให้ไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านพฤกษศาสตร์ของคนเมืองในการช่วยดูแลสิ่งแวดล้อม ป่าไม้
  • ไทยมีพิพิธภัณฑ์พืชมากกว่า 15 แห่ง ในแต่ละจังหวัด ซึ่งพิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิต จุฬาฯ จะรวบรวมงานวิจัยและนวัตกรรมให้ทันรับมือกับสภาวะโลกเดือด 

ช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ปริมาณพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยจะยังคงอยู่ในช่วงร้อยละ 31-33 ตามรายงานจากสำนักจัดการที่ดินป่าไม้ กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งประเทศไทยให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมโดยได้กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580)

โดยวางเป้าหมายที่จะรักษาผืนป่าของไทยให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งประเทศ โดยมุ่งฟื้นฟูผืนป่าเศรษฐกิจและจัดการนิเวศป่าชุมชนที่มีอยู่ทั่วประเทศกว่า 10,000 แห่ง ทั้งที่อยู่นอกเขตและในเขตพื้นที่อนุรักษ์ บนพื้นที่มากกว่า 7,870,000 ไร่ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 7 ของพื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทย

ปี 2565 ประเทศไทยมีพื้นที่ที่มีสภาพป่าไม้เพียงร้อยละ 31.57 ของพื้นที่ประเทศไทย หรือคิดเป็น 102,135,974.96 ไร่ ซึ่งลดลดลงจากปี 2564 ประมาณร้อยละ 0.02 คิดเป็น 76,459.41 ไร่ โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้พื้นที่ป่าไม้ลดลง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Use Change) การเกิดจากปัญหาไฟป่า (Forest Fire) หรือการบุกรุกทำลายป่า เป็นต้น

\'พิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิต\' สู้โลกเดือด  พื้นที่สีเขียวในเมืองสังคมคาร์บอนต่ำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

6 โรคหัวใจที่ควรรู้ เช็กอาการเสี่ยง ก่อนอันตรายถึงชีวิต

Photo & Story ชุมชน - ป่าไม้ และศักยภาพการผลิตอาหาร

 

รู้จัก 'พิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิต' จุฬาฯ 

'พิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิต (Living Plant Museum)' ณ อาคารเรือนกระจก ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  อีกหนึ่งพิพิธภัณฑ์พืชของประเทศไทย ที่จะมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสถานการณ์ภาวะโลกเดือดในปัจจุบัน

ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า จุฬาฯได้ประกาศเจตนารมณ์   มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2040 และมีเป้าหมายให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2050 เราจึงต้องผลักดันให้ประชาคมจุฬาฯ มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อปัญหาสภาพภูมิอากาศที่กำลังแปรปรวน 

\'พิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิต\' สู้โลกเดือด  พื้นที่สีเขียวในเมืองสังคมคาร์บอนต่ำ

โดยหนึ่งในกลยุทธ์ที่จุฬาฯ ทำมาอย่างต่อเนื่อง นั่นคือ การนำงานวิจัยและนวัตกรรมจุฬาฯ มาสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมให้พร้อมเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เราให้ความสำคัญกับการพัฒนาพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองและฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ ซึ่งคณาจารย์และนักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ โดยภาควิชาพฤกษศาสตร์ และภาคีเครือข่ายของเรากำลังเร่งขับเคลื่อนบ่มเพาะองค์ความรู้ใหม่

รวมถึงงานวิจัยและนวัตกรรมให้ทันรับมือกับสภาวะโลกเดือดตามที่สหประชาชาติได้ประกาศไว้ ซึ่งได้รวบรวมองค์ความรู้ทางด้านนี้ไว้ในพิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิต หรือ Living Plant Museum ที่นับจากนี้ต่อไปจะเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนไทย เป็น Living Lab ให้เราได้รู้เท่าทันโลก เพื่อรับมือกับทุกสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น และหาทางออกที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ ให้กับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมโลกได้ต่อไป

\'พิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิต\' สู้โลกเดือด  พื้นที่สีเขียวในเมืองสังคมคาร์บอนต่ำ

 

สร้างพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต

รศ.ดร.สีหนาท ประสงค์สุข หัวหน้าภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า พิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิตแห่งนี้ ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตที่เราใช้จัดการเรียนการสอนให้กับนิสิตจุฬาฯ การวิจัยพืชในระบบควบคุมอุณหภูมิ (evaporative cooling system) และจัดแสดงนิทรรศการถาวรนําเสนอข้อมูลความหลากหลายและวิวัฒนาการของพืชในรูปแบบที่พืชยังมีชีวิต มีพรรณไม้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ไม่ตํ่ากว่า 200 ชนิด ภายในอาคารเรือนกระจก พื้นที่ 464 ตารางเมตร จัดแสดง 6 รูปแบบ ประกอบด้วย

  • นิทรรศการความหลากหลายของพืชในป่าดิบชื้นหรือป่าฝนเขตร้อน
  • นิทรรศการพืชทนแล้ง
  • นิทรรศการพืชน้ำ
  • นิทรรศการพืชกลุ่มเทอริโดไฟต์
  • นิทรรศการกลุ่มพืชเมล็ดเปลือย
  • นิทรรศการวิวัฒนาการของพืชดอก

โดยตั้งใจให้องค์ความรู้ใหม่และนวัตกรรมเกิดขึ้นที่นี่เพื่อตอบโจทย์ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม

\'พิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิต\' สู้โลกเดือด  พื้นที่สีเขียวในเมืองสังคมคาร์บอนต่ำ

นวัตกรรมกล้าไม้อัตรารอด เทคโนโลยีหัวเชื้อรา

ล่าสุดเรามีนวัตกรรมกล้าไม้อัตรารอดสูง พัฒนาขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีหัวเชื้อราไมคอร์ไรซา (Mycorrhizal Inoculum Technology) เป็นผลงานวิจัยของ 'ผศ.จิตรตรา เพียภูเขียว อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย' ที่ศึกษาด้านราไมคอร์ไรซามาอย่างต่อเนื่องกว่า 20 ปี

ผศ.จิตรตรา  กล่าวว่าการศึกษาดังกล่าวเริ่มจากวิจัยความหลากหลายของเห็ดราในพื้นที่ป่าน่าน นำมาต่อยอดผลิตหัวเชื้อราไมคอร์ไรซาผสมในดินปลูกกล้าไม้พื้นถิ่นวงศ์ยาง ช่วยเพิ่มอัตราการรอดให้ต้นกล้าเจริญเติบโตเป็นไม้ใหญ่ได้ในสภาพภูมิอากาศแปรปรวน โดยจุฬาฯ ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ชุมชนและขยายผลไปยังพื้นที่ป่าชุมชนจังหวัดสระบุรีกว่า 3,000 ไร่ และในพื้นที่อีก 7 จังหวัด

นอกจากนี้ เมื่อกล้าไม้อัตรารอดสูงเติบโตเป็นไม้ใหญ่แล้วยังทำให้เกิดเห็ดป่าที่รับประทานได้ผุดขึ้นอีกหลายชนิด           อาทิ เห็ดเผาะ เห็ดระโงก เห็ดไคล เห็ดน้ำหมาก ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจเป็นแรงจูงใจให้คนในชุมชนร่วมกันอนุรักษ์ป่าชุมชนไว้อย่างยั่งยืน

\'พิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิต\' สู้โลกเดือด  พื้นที่สีเขียวในเมืองสังคมคาร์บอนต่ำ

นอกจากพิธีเปิดนิทรรศการดังกล่าวแล้ว ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ยังจัดกิจกรรมการพัฒนาที่ยั่งยืน 'โครงการปลูกต้นกล้าสู้โลกเดือด' ด้วยการจัดเตรียมต้นกล้าไม้ยางนาจากผลงานวิจัยและพัฒนากล้าไม้ที่มีอัตราการรอดสูงด้วยเทคโนโลยีเชื้อไมคอร์ไรซ่า เพื่อนำไปปลูกในชุมชนจำนวน 107 ต้น

รวมทั้งยังจัดกิจกรรมปลูก 'ต้นราชพฤกษ์อวกาศ' ในโครงการ Asian Herb in Space (AHiS) โดยความร่วมมือระหว่างสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA) และหน่วยงานพันธมิตร เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มีความสำคัญยิ่ง

อย่างไรก็ตาม ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ชวนเปิดยุทธการ สู้โลกเดือด ให้โลกได้ไปต่อ โดยร่วมบริจาคสมทบทุนดำเนินงาน 'พิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิต' (Living Plant Museum) และสนับสนุนการเรียนการสอนของภาควิชาพฤกษศาสตร์ ตามกำลังศรัทธาโดยยอดบริจาคทุก 1,000 บาท จะได้รับ 'ต้นกล้าสู้โลกเดือด' 1 ต้น จากผลงานวิจัยและพัฒนากล้าไม้อัตรารอดสูงด้วย Mycorrhizal Inoculum Technology 

\'พิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิต\' สู้โลกเดือด  พื้นที่สีเขียวในเมืองสังคมคาร์บอนต่ำ

ทั้งนี้ ในประเทศไทยมีพิพิธภัณฑ์พืชที่ได้รับการขึ้นทะเบียนไว้ในฐานข้อมูล Index Herbarium จำนวน 15 แห่ง ยกตัวอย่าง เช่น พิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพ กรมวิชาการเกษตร (Bangkok Herbarium; BK) เป็นพิพิธภัณฑ์พืชแห่งแรกและเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย โดยตัวอย่างพรรณไม้ที่เก็บรักษาไว้ส่วนใหญ่จะเป็นของนายแพทย์ A.F.G. Kerr และนักวิจัยในสมัยนั้น มีการจัดเรียงตัวอย่างพรรณไม้ตามลำดับทางวิวัฒนาการของพืชจากน้อยกว่า

หอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (Bangkok Forestry Herbarium; BKF) เป็นพิพิธภัณฑ์พืชที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีการเก็บตัวอย่างพรรณไม้แห้งมากกว่า 1 แสนชิ้น ที่ได้จากการสำรวจพืชโดยนักอนุกรมวิธานพืชและมีเอกสารทางพฤกษศาสตร์จำนวนมาก มีบทบาทสำคัญในการจัดทำหนังสือพรรณพฤกษชาติของไทย (Flora of Thailand)

พิพิธภัณฑ์พืชเภสัชพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (Herbarium of Pharmaceutical Botany, Mahidol University; PBM) จัดตั้งอยู่ที่อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์พืชที่มีบทบาทสำคัญในการเก็บรักษาตัวอย่างพืชสมุนไพรที่ได้จากการสำรวจและการศึกษาวิจัยพืชสมุนไพรของประเทศไทย พิพิธภัณฑ์พืชสมุนไพรฯ มีการเก็บรักษาตัวอย่างพืชหลายประเภท ได้แก่ ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง (Herbarium Specimens) ตัวอย่างดอง (Spirit Collections) ตัวอย่างผล (Carpological Collections) ตัวอย่างเมล็ด (Seed Collections) และเครื่องยาสมุนไพร (Botanical Crude Drug) มากกว่า 5,000 ชิ้น เป็นต้น

\'พิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิต\' สู้โลกเดือด  พื้นที่สีเขียวในเมืองสังคมคาร์บอนต่ำ

อย่างไรก็ตาม 'นิทรรศการ พิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิต หรือ Living Plant Museum' เป็นนิทรรศการถาวรในอาคารเรือนกระจก (Glass house) ข้างอาคารมหามกุฏ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งเป็นสถานที่รวบรวมพรรณไม้สำคัญทางด้านพฤกษศาสตร์ และเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างคณาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพืชสาขาต่าง ๆ กับประชาชนที่มีประสบการณ์และใกล้ชิดธรรมชาติในแต่ละท้องที่ มีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายและส่งต่อองค์ความรู้ และความเข้าใจไปยังคนรุ่นใหม่หัวใจรักษ์โลก แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ

\'พิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิต\' สู้โลกเดือด  พื้นที่สีเขียวในเมืองสังคมคาร์บอนต่ำ \'พิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิต\' สู้โลกเดือด  พื้นที่สีเขียวในเมืองสังคมคาร์บอนต่ำ