ฝนตกใต้เขื่อน ทำต้นทุนน้ำต่ำ เหตุน่าห่วงปัญหา"เอลนีโญ่"

ฝนตกใต้เขื่อน ทำต้นทุนน้ำต่ำ เหตุน่าห่วงปัญหา"เอลนีโญ่"

สภาวะเอลนีโญที่คาดว่าจะแช่อยู่ในไทยอย่างน้อย 4 ปี ทำให้รัฐบาลวางมาตรการรับมือเป็นกรณีเร่งด่วนเพื่อลดมูลค่าความเสียหายที่คาดว่ามีถึง 6 แสน - 2 ล้านล้านบาท แต่ด้วยความแปรปรวนของภาวะโลกร้อน ประเทศไทยจึงมีสิทธิลุ้นว่าภาวะเอลนีโญ อาจจะลดลงเหลือ 60 % ในช่วงแล้งปี 2567

สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมการประเมินสถานการณ์น้ำ กอนช. ว่า ความรุนแรงของเอลนีโญ ทำให้ กอนช.ต้องติดตามสภาวะอากาศของไทยอย่างใกล้ชิด ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาได้รายงานว่าในขณะนี้ไทยยังอยู่ในสภาวะเอลนีโญกําลังอ่อน แต่จะเริ่มรุนแรงมากขึ้นตั้งแต่เดือนต.ค.- สิ้นปี โดยความรุนแรงอาจสูงถึง100 %

 

ฝนตกใต้เขื่อน ทำต้นทุนน้ำต่ำ เหตุน่าห่วงปัญหา\"เอลนีโญ่\" ฝนตกใต้เขื่อน ทำต้นทุนน้ำต่ำ เหตุน่าห่วงปัญหา\"เอลนีโญ่\"

ฝนตกใต้เขื่อน ทำต้นทุนน้ำต่ำ เหตุน่าห่วงปัญหา\"เอลนีโญ่\"

สำหรับสภาวะเอลนีโญกําลังอ่อน ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้มีปริมาณฝนสะสมทั้งประเทศ ต่ำกว่าค่าปกติ 14% โดยมีปริมาณฝนสะสมต่ำสุดในพื้นที่ภาคกลางจะต่ำกว่าค่าปกติถึง 31% ซึ่ง กอนช. จะมีการติดตามพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งอย่างใกล้ชิดเพื่อจะได้วางแผนบริหารจัดการน้ำตามสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที ในขณะที่ปริมาณน้ำใช้การทั้งประเทศในช่วงต้นฤดูแล้ง ณ วันที่ 1 พ.ย.2566 คาดการณ์ว่าจะมีจำนวน 24,372 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ซึ่งในภาพรวมปริมาณน้ำยังคงน้อยกว่าเมื่อปีที่แล้วอยู่ 11,481 ล้านลูกบาศก์เมตร ในขณะที่ฤดูฝนที่เหลือในเดือนต.ค. นั้น ต้องจับตาพายุจร ที่มีโอกาสเข้ามาในประเทศไทย แต่ฝนจะไม่ตกในเขตภา

คเหนือแล้ว ทำให้น้ำฝนเสี่ยงที่จะตกใต้เขื่อนในภาคกลาง ภาคตะวันออก และอีสานใต้ 

“แม้ปัจจุบันสภาวะเอลนีโญจะยังมีกำลังอ่อน ทำให้ยังมีฝนตกในหลายพื้นที่ และมีปริมาณน้ำไหลเข้าแหล่งน้ำต่าง ๆ เพิ่มขึ้น โดยมีน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา 3,081 ล้านลูกบาศก์เมตร และคาดว่าจะมีน้ำไหลเข้าเพิ่มในสัปดาห์นี้อีก 3,174 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับพื้นที่ ที่ประสบปัญหาอุทกภัยทั่วประเทศในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวน 24 จังหวัด ซึ่ง กอนช. ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดให้ความช่วยเหลือ และบริหารจัดการน้ำเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ไปแล้ว คงเหลืออีกเพียง 7 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก สุโขทัย อุดรธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี และปทุมธานี ซึ่งจะเร่งดำเนินการต่อไป “ 

 อย่างไรก็ตาม สภาวะเอลนีโญมีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้นในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูแล้ง ก่อนที่จะมีกําลังอ่อนลง และต่อเนื่องไปจนถึงต้นปี 2567 ตั้งแต่เดือนก.พ.- มิ.ย.  คาดว่าความรุนแรงของเอลนีโญมีแนวโน้มปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 60 % จึงมีโอกาสที่สภาพอากาศของไทยในช่วงกลางปี2567 จะเข้าสู่ภาวะปกติ แต่ทั้งนี้เนื่องจากเอลนีโญที่ลากยาวต่อเนื่อง มีความเป็นไปได้ที่ฝนปี 2567 จะตกล่าช้า ดังนั้นการบริหารจัดการน้ำในฤดูแล้งปี 2566/67 ที่จะเริ่มขึ้นตั้งแต่ วันที่ 1 พ.ย. 2566 – 30 เม.ย. 2567 นั้นจะต้องคำนึงถึงการใช้น้ำในช่วงต้นฤดูฝนด้วย

 

 โดย สทนช.ได้เร่งวางแผน และเตรียมความพร้อมการบริหารจัดการน้ำก่อนเข้าสู่ฤดูแล้งอย่างเข้มข้น ด้วยการถอดบทเรียนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/2566 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ ทุกภาคส่วน เพื่อนำมาใช้สำหรับปรับปรุงร่าง 9 มาตรการเตรียมการรองรับฤดูแล้งที่ปี 2566/67 ซึ่งคาดว่าจะนำเสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ช่วงเดือนต.ค.  จากนั้นจึงเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอความเห็นชอบ และนำมาขับเคลื่อนโดยบูรณาการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

สถานถานการณ์ที่ประเทศไทยยังคงต้องเผชิญกับสภาวะเอลนีโญอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การบริหารจัดการน้ำมีความละเอียดอ่อนมากกว่าสภาวะปกติ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน”

ทั้งนี้กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควบคุมการใช้น้ำ และลำเลียงน้ำของลุ่มน้ำเจ้าพระยาจากพื้นที่ตอนบนมายังพื้นที่ตอนล่างให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ในช่วงฤดูฝน ปี 2566 อย่างเคร่งครัด 

โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำข้างเคียง 18 จังหวัด พื้นที่กว่า 2.1 ล้านไร่ ที่มีการคาดการณ์พื้นที่จะเพาะปลูกข้าวนาปีต่อเนื่องต้องติดตาม และประเมินสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่ายิ่งเกษตรกรที่จะเพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้งด้วยการส่งเสริมปลูกพืชใช้น้ำน้อยทดแทนหรือส่งเสริมอาชีพทางเลือกทดแทน เช่น ส่งเสริมอาชีพปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเขียว การจ้างแรงงาน และสนับสนุนอาชีพเสริมหัตกรรม OTOP เป็นต้น

ขณะนี้ทุกคนยอมรับแล้วว่าภาวะโลกร้อนสร้างผลกระทบกับวิถีชีวิตแล้วจริงๆ แต่ต้องยอมรับด้วยว่าทุกภาคส่วนต้องมีการปรับตัวรับมือกับภัยที่จะเกิดขึ้นด้วย

 

 และในวันที่ 25 ต.ค.66 ซึ่งเป็นวันครบก่อนการดำเนินงานปีที่ 6 ของ สทนช. จึงได้มีการจัดงานเพื่อร่วมขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำของประเทศภายใต้สภาวะเอลนีโญ โดยมีการจัดกิจกรรมเสวนาวิชาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการ และภาคประชาชน เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการน้ำของประเทศภายใต้สภาวะเอลนีโญ อีกทั้งมีการจัดนิทรรศการของหน่วยงานต่างๆ เพื่อแสดงผลงาน และการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการน้ำ รวมกว่า 17 หน่วยงาน

 “และในโอกาสนี้ สทนช. ได้จัดประกวดคลิปสั้นความยาวไม่เกิน 2 นาที และคลิปใน TikTok ความยาวไม่เกิน 3 นาที ภายใต้หัวข้อ “รณรงค์ประหยัดน้ำเพื่อเตรียมพร้อมรองรับสภาวะเอลนีโญ” เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนร่วมมือกัน
ใช้น้ำอย่างประหยัด และรู้คุณค่า โดยผู้ชนะการประกวดจะได้รับเงินรางวัล พร้อมประกาศนียบัตร และจะมีการจัดพิธีมอบรางวัลให้แก่

ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศในแต่ละประเภท พร้อมจัดแสดงผลงานในวันงานครบรอบของ สทนช. สำหรับทุกท่านที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเพจ Facebook : สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และส่งผลงานได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 10 ต.ค. 66” 

 

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์