คราฟท์เบียร์ 'ตอซังข้าว' ลดโลกร้อน-ฟื้นสิ่งแวดล้อม

คราฟท์เบียร์ 'ตอซังข้าว' ลดโลกร้อน-ฟื้นสิ่งแวดล้อม

ปัญหาพื้นที่ทำนาเผาตอซังข้าวหลังจากเก็บเกี่ยวข้าว เพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกในครั้งต่อไป แต่ทุกครั้งที่มีการเผาตอซังข้าวจะนำมาสู่ปัญหาสิ่งแวดล้อม  เพราะปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนจากพื้นดินสู่บรรยากาศ สาเหตุภาวะโลกร้อน ฝุ่นละออง PM2.5 และจุดความร้อน Hotspot

Keypoint:

  • ไอเดียของครูกศน.ต.หนองน้ำใส อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทำคราฟท์เบียร์จากตอซังข้าว ลดปัญหาโลกร้อน พร้อมเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวบ้าน  ด้วยการนำ ศาสตร์พระราชา 'โคกหนองนาโมเดล' มาใช้ในชุมชน
  • คัดเลือกตอซังข้าวจากนาออร์แกนิก 100 % ที่เกี่ยวใหม่ ผ่านการตรวจค่าสารตกค้าง เพื่อให้ได้ความหอมๆ และรสชาติที่มีเอกลักษณ์ความชัดเจน เน้นความสดชื่น บอดี้ไม่หนัก
  • นำสิ่งที่ไร้ค่าสร้างปัญหาให้ชุมชน กลับมาเป็นรายได้ นำสิ่งที่เป็นปัญหามาสร้างความยั่งยืนให้ชุมชนไทย

เนื่องจากประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 65 ล้านไร่ หรือประมาณ 20% ของพื้นที่ทั้งประเทศ ได้ผลผลิตข้าว 24 ล้านตัน มีฟางข้าวเฉลี่ยประมาณปีละ 25.45 ล้านตัน และมีปริมาณตอซังข้าวที่ตกค้างอยู่ในนาข้าว 16.9 ล้านตันต่อปี จึงนับได้ว่ามีปริมาณฟางข้าวและตอซังข้าวมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับตอซังพืชชนิดอื่น

โดยมีปริมาณฟางข้าวและตอซังมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือจำนวน 13.7 และ 9.1 ล้านตันต่อปี รองลงมาคือภาคกลางและ ภาคตะวันออกมีจำนวนฟางข้าวและตอซัง 6.2 และ 4.1 ล้านตันต่อปี และในพื้นที่ปลูกข้าว 1 ไร่ มีปริมาณฟางข้าวและตอซัง โดยเฉลี่ยปีละ 650 กิโลกรัม

 ทว่าที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่มีพื้นที่ กว่า 90 % จะเป็นพื้นที่ทำนา ได้มีการนำตอซังข้าวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดย 'ครูเต้ย- ดาธิณี ตามเพิ่ม' ครู กศน.(การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย) ต.หนองน้ำใส อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นผู้ริ่เริ่มจากตอนแรกนำมาทำไข่เค็ม ไข่อำพัน ที่ใช้ตอซังข้าวมาพอก และทำผ้าทอจากเส้นใยธรรมชาติโดยใช้สีธรรมชาติจากตอซังข้าวมาต้ม ซึ่งช่วงต้มมันได้กลิ่นหอมมาก เหมือนเวลากินอิชิตัน โออิชิ ได้กลิ่นข้าวญี่ปุ่นหอมและล่าสุดได้ไอเดียทำคราฟท์เบียร์จากตอซังข้าว 

คราฟท์เบียร์ \'ตอซังข้าว\' ลดโลกร้อน-ฟื้นสิ่งแวดล้อม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ภาวะโลกร้อน – ขยะ ส่งผลต่อสัตว์ทะเลลดจำนวน

 

นวัตกรรมความคิด แก้สิ่งแวดล้อม

'ครูเต้ย'ได้น้อมนำภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาตำบลหนองน้ำใสพร้อมเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวบ้าน  ด้วยการนำ ศาสตร์พระราชา 'โคกหนองนาโมเดล' มาใช้ในชุมชน สามารถใช้นวัตกรรมทางความคิด หรือองค์ความรู้เข้าไปช่วยแก้ปัญหา หรือต่อยอดเป็นหลักสูตรเพื่อสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน

 โดย เมื่อครั้งเป็นครูกศน.ตำบลไผ่ล้อม อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธย คิดค้นไข่เค็มใบเตย ต่อมาเมื่อมาเป็นครูกศน.ตำบลหนองน้ำใส ได้จัดตั้งเป็นศูนย์ฝึกมีชีวิต ได้ริเริ่มโดยการนำผักตบชวาในพื้นที่มาต่อยอดสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านในชุมชน อาทิ ใช้รากทำเป็นปุ๋ย ต้นทำเส้นใย ใบทำจาน ต้นอ่อนทำอาหาร ไม่เพียงสร้างรายได้ให้ชุมชนแล้วยังช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

คราฟท์เบียร์ \'ตอซังข้าว\' ลดโลกร้อน-ฟื้นสิ่งแวดล้อม

 

สร้างอาชีพรายได้จากสิ่งของเหลือใช้

ชุมชนหนองน้ำใส มีการทอผ้าขาวม้าซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่แล้ว ราคาอยู่เมตรละ 100 บาท 'ครูเต้ย' จึงได้คิดค้นเส้นใยจากผักตบชวา จนนำมาสู่ผ้าผักตบชวา ราคาเมตรละ 500 บาท นำไปตัดชุดต้องใช้ตั้งแต่ 3 เมตรขึ้นไป ทำให้ชาวบ้านมีรายได้มากขึ้น จากทอผ้าขาวม้าขาย 3 เมตรได้เงิน 300 บาท แต่ถ้าทอผ้าผักตบชวาจะได้ 1,500 บาท ส่วนอื่นๆ ของผักตบชวาสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หมด เป็นการนำผักที่ใครมองว่าไร้ค่า เป็นขยะในแหล่งน้ำกลับมาเพิ่มมูลค่า

ขณะที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีการปลูกข้าวจำนวนมาก หลังฤดูเก็บเกี่ยว ชาวนาจะเผาตอซังข้าวเพื่อเตรียมผืนดินสำหรับปลูกข้าวใหม่ ซึ่งการเผาตอซังข้าวนำมาซึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งการสร้างปัญหาหมอกควัน ฝุ่นละออง PM 2.5 และทำให้ผิวดินไม่อยู่สภาพเดิม หลังจากได้มีโอกาสไปประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดอยุธยาเพื่อหาทางออกแก้ปัญหาการเผานา จึงมองหาทางนำตอซังข้าวมาใช้ให้เกิดประโยชน์

โดยเริ่มแรกนำมาทำไข่เค็ม ไข่อำพัน ที่ใช้ตอซังข้าวมาพอก และทำผ้าทอจากเส้นใยธรรมชาติโดยใช้สีธรรมชาติจากตอซังข้าวมาต้ม ซึ่งช่วงต้มมันได้กลิ่นหอมมาก เหมือนเวลากินอิชิตัน โออิชิ ได้กลิ่นข้าวญี่ปุ่นหอม และล่าสุดได้ไอเดียทำคราฟท์เบียร์จากตอซังข้าว

คราฟท์เบียร์ \'ตอซังข้าว\' ลดโลกร้อน-ฟื้นสิ่งแวดล้อม

คราฟท์เบียร์รักษ์โลกลดโลกร้อน

ครูเต้ย เล่าว่า การทำคราฟท์เบียร์จากตอซังข้าวนี้ กรมส่งเสริมการเกษตร ช่วยการันตีเรื่องดิน เรื่องข้าว แล้วคัดเลือกตอซังข้าวจากนาออร์แกนิก 100 % ที่เกี่ยวใหม่เท่านั้น และผ่านการตรวจค่าสารตกค้าง จากกรมส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ได้ความหอมๆ และรสชาติที่มีเอกลักษณ์ความชัดเจน เน้นความสดชื่น และบอดี้ไม่หนัก เพราะเมื่อทำเกี่ยวกับของกิน หรือเครื่องดื่ม ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคร่วมด้วยริเริ่มตั้งแต่ต้นปี 2566 โดยเป็นเครื่องดื่มไว้สำหรับรับรองผู้ที่ฝึกอบรม หรือเยี่ยมศูนย์ฝึกมีชีวิต

การทำคราฟท์เบียร์จะใช้วิธีการคั่วตอซังจนหอมและนำมาต้มเปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาล จนเกิดกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ภายใต้คอนเซปต์ นำสิ่งที่ไร้ค่าสร้างปัญหาให้ชุมชนมาเป็นรายได้ นำสิ่งที่เป็นปัญหามาสร้างความยั่งยืน สิ่งที่ยากที่สุดในการทำคือ การสื่อสารหรือการเล่าเรื่องอย่างเข้าใจ ทั้งที่การผลิตที่เป็นวิทยาศาสตร์ มีสูตรในการผลิต ทำมาจากธรรมชาติ เป็นการรักษ์โลก

คราฟท์เบียร์ \'ตอซังข้าว\' ลดโลกร้อน-ฟื้นสิ่งแวดล้อม

“ทุกกระบวนการตั้งแต่การทำ การผลิต การคิดซื้อแบรนด์ การทำแพคเกจจิ้ง ครูคิดเองทั้งหมด ใช้ชื่อตำบลที่แสดงให้เห็นชาวบ้าน ชาวนาในชุมชนพร้อมให้ความร่วมมือในการเก็บตอซังข้าว ซึ่งขาวบ้านจะได้รับเงินค่าตอบแทนไร่ละ 1,000 บาท และกลุ่มแม่บ้านก็มาช่วยกันต้มเบียร์เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวของตนเอง ที่สำคัญคนในชุมชนได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ทุกผลิตภัณฑ์ ไอเดียที่ครูนำเสนอแก่ชาวบ้านจะทำให้พวกเขาได้เห็นอย่างชัดเจนว่าทำได้จริง และทุกคนก็พร้อมจะร่วมมือ”ครูเต้ย กล่าว

คราฟท์เบียร์ \'ตอซังข้าว\' ลดโลกร้อน-ฟื้นสิ่งแวดล้อม คราฟท์เบียร์ \'ตอซังข้าว\' ลดโลกร้อน-ฟื้นสิ่งแวดล้อม คราฟท์เบียร์ \'ตอซังข้าว\' ลดโลกร้อน-ฟื้นสิ่งแวดล้อม