เอลนีโญคุมเกมห่วงโซ่ผลิตทางการเกษตร

เอลนีโญคุมเกมห่วงโซ่ผลิตทางการเกษตร

เอกชนชี้ภาวะเอลนีโญ ทำแนวโน้มการนำเข้าปุ๋ยเคมี สารกำจัดศัตรูพืชลดลง แถมมีราคาสูง ขณะผู้ผลิตพัฒนาสารเคมีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสอดรับภาคการตลาดที่เปลี่ยนไป

นายระพีภัทร จันทรศรีวงศ์  อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  เปิดเผยในการเสวนา เรื่อง “ทิศทางการนำเข้า ปุ๋ย เคมีเกษตร และปัจจัยผลิตทางการเกษตรไทย” ในงานนิทรรศการ “ทศวรรษ แห่งการพัฒนาวิชาการเกษตรไทยและการก้าวไปในทศวรรษที่ 6” โดยกรมวิชาการเกษตร ว่ากิจกรรมด้านการเกษตรของไทยเลี่ยงการใช้สารเคมีไม่ได้ แต่เกษตรกรต้องมีการใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสมเพื่อความปลอดภัยของอาหารและเกษตรกรเอง 

 

เอลนีโญคุมเกมห่วงโซ่ผลิตทางการเกษตร

อย่างไรก็ตามในตลาดสารเคมีทางการเกษตร นั้นยังพบว่ามีการจำหนายปุ๋ยปลอม สารกำจัดศัตรูพืชปลอม ซึ่งกรมวิชาการเกษตรมีสารวัตรเกษตรคอยตรวจสอบและสารวัตรเกษตรไซเบอร์คอยตรวจสอบตลาดออนไลน์ ด้วย  แต่ทั้งนี้เพื่อความมั่นใจว่าจะซื้อสารเคมีที่ได้มาตรฐาน ควรพิจารณาซื้อจากร้านค้าที่มีเครื่องหมาย Q   

เอลนีโญคุมเกมห่วงโซ่ผลิตทางการเกษตร

 

นายภัสชญฏณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ว่า ดินของไทยนับวันความเสื่อมโทรมก็จะมากขึ้น ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง เนื่องจากเกษตรกรใช้สารเคมีและสารกำจัดศัตรูพืชอย่างไม่เหมาะสม และเป็นเหตุให้เกษตรกรต้องใช้มากยิ่งขึ้น โดยหวังว่าจะเป็นการเติมเต็มให้กับดิน แต่ผลกระทบคือทำให้ความสมดุลของดินเปลี่ยนไป

ปัจจุบันเมื่อไทยเข้าสู่ภาวะเอลนีโญ ซึ่งเป็นตัวคุมเกมส์ของภาคการเกษตรทั้งหมดตั้งแต่ปริมาณน้ำ ผลผลิตต่อไร่  รวมไปถึงการใช้ปัจจัยการผลิต ซึ่งกรมวิชาการเกษตรพร้อมที่จะให้คำปรึกษาในทุกด้านเพื่อให้ภาคการเกษตรของไทยก้าวผ่านปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ไปได้ 

แต่ทั้งนี้การทำงานจะอยู่ภายใต้หลักวิชาการ กฎหมาย และการให้บริการที่สะดวกรวดเร็ว ซึ่งการขึ้นทะเบียนหลายด้านสามารถดำเนินการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์แล้ว

นางสาววรัญญา บุญวิวัฒน์ นายกสมาคมการค้าผู้ผลิตปุ๋ยไทย  กล่าวว่า แนวโน้มการใช้ปุ๋ยเคมีในปี 2566 ปรับตัวลดลง เนื่องจากไทยเข้าสู่ภาวะเอลนีโญ ที่จะทำให้ปริมาณน้ำน้อย การเพาะปลูกก็จะน้อยตาม แต่ทั้งนี้เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ฤดูกาลเพาะปลูก ทางภาคเอกชนได้นำเข้าปุ๋ยเคมีไว้แล้วโดยภาครัฐแนะนำให้มีการกักตุนไว้ล่วงหน้า เนื่องจากกังวลว่าจะเกิดการขาดแาดแคลน ไม่เพียงพอกับความต้องการ อย่างที่เคยเกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา  

แต่ทั้งนี้การกักตุนดังกล่าวได้สร้างต้นทุนที่สูงขึ้นโดยเฉพาะ ปุ๋ยฟอสเฟส ที่ราคาสูงมากไม่สามารถนำเข้าได้ อีกทั้งปุ๋ยยูเรีย (N ) มีราคาปรับขึ้นลงตลอดเวลา ทำให้ไทยมีสต๊อกช่วงราคาสูง และมีปัญหาต่อต้นทุนขายออก  เช่นเดียวกับปุ๋ยโปแทสเซียม(K)ที่ปัจจุบันได้้นำเข้าเตรียมพร้อมไว้แล้ว  

โดยปุ๋ยเคมีในปี 66 นี้ส่วนใหญ่นำเข้าจาก   คููเวต บูรไน ซาอุดีอาระเบีย และนำเข้าลดลงจากจีน อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย โดยราคาปุ๋ยขณะนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย คาดว่าเป็นอุปทานระยะสั้นๆ จากอินเดียที่ระดมซื้อเพื่อกักตุน สำหรับความต้องการใช้ปุ๋ยเคมีของไทยในปี 66

นายจารึก ศรีพุทธชาติ นายกสมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร  กล่าวว่า การทำธุรกิจเพื่อการส่งออก ซึ่งต้องทำเพื่อให้ได้ผลผลิตจำนวนมาก นั้นจำเป็นต้องใช้สารเคมีมาเป็นตัวช่วย ทั้งปุ๋ยและสารกำจัดแมลง  ซึ่งไทยยังผลิตไม่ได้ต้องนำเข้า แต่แนวโน้มลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะเอลนีโญ การต่อต้านจากกลุ่มเอ็นจีโอ   และนโยบายรัฐที่สนับสนับสนุนให้ทำเกษตรอินทรีย์ นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงกฎระเบียบเงื่อนไขการนำเข้ามากขึ้น เพื่อความปลอดภัยทางด้านอาหาร  ส่วนใหญ่าสารกำจัดศัตรูพืชไทยพึงพาการนำเข้าจากจีน  ถึง 70 %  แต่ธุรกิจสารกำจัดศรัตรูพืชในประเทศ  90 % มาจากอินเดีย

"สรุปคือธุรกิจปีนี้คาดว่าจะะแย่กว่าปีที่ผ่านมา  เพราะน้ำในเขื่อนไม่ถึง50%  ของความจุ  การปลูกข้าวนาปีต้องระวังเสี่ยงขาดน้ำและเกิดโรคระบาด ในขณะที่การยกเลิก พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต ทำให้การนำเข้าสารทดแทนคือ  

สารกลูโฟซิเนต  และ ไกลโฟเซตมีราคาสูงขึ้น  ยิ่งมีภาวะเอลนีโญเกิดธุรกิจสารเหล่านี้ยิ่งมีแนวโน้มลดลง จึงหวังว่ารัฐบาลใหม่ที่เข้ามาจะปรับปรุงนโยบายที่เหมาะสมกว่านี้"  

นางนงนุช ยกย่องสกุล นายสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย (TAITA) กล่าวว่า สารเคมีเป็นปัจจัยที่สร้างความมั่นคงด้านอาหาร ซึ่งประเทศที่มีการใช้มากที่สุด คือสหรัฐ บราซิล อาเจนตินา แต่การใช้สารเคมีต่อพื้นที่มากที่สุด คือ เนเธอร์แลนด์ เกาหลีใต้  ญี่ปุ่่น  ประมาณ 1.5 กิโลกรัม(กก.)ต่อไร่  มาเลเซีย อินโดนีเซีย ใช้ 500 กรัมต่อไร่  ออสเตรเลีย จีน 250 กรัมต่อไร่ ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของการใช้สารเคมี ส่วนไทยใช้ 150 กรัมต่อไร่

ทั้งนี้สหภาพยุโรปหรืออียู ได้ออกกฎระเบียบ  นโยบายกรีนดีล (European Green Deal) ต้องการสร้างสังคมที่ไร้มลพิษ และเพื่อจัดการกับสภาวะโลกร้อน โดยต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก  เป้าหมายคือ  

 “Net Zero” และมีความเกี่ยวข้องกับการใช้ปุ๋ยเคมีและสารต้านชีวภัณฑ์ลดลง  หากผู้ส่งออกไม่ปฏิบัติตาม จะมีีค่าใช้จ่ายในการค้าข้ามพรมแดน และหากมีการตรวจพบ สินค้าจะถูกยกเลิกทันที 

สืบเนื่องจากระเบียบดังกล่าว ปัจจุบัน กลุ่มอาเซียน ซึ่งเป็นผู้ส่งออกผัก ผลไม้ รายใหญ่ของโลกได้หารือและออกมาตรการเพื่อรณรงค์ลดการใช้สารเคมีและสนับสนุนให้ปลูกพืชโดยไม่ใช้สารมากขึ้น  ในขณะที่ทุกประเทศได้นำนวัตกรรม เทคโนโลยีทางการเกษตรมาใช้ โดยเฉพาะโดรน ที่จะทำให้การใช้สารเคมีท  มีความปลอดภัย   

นายสมศักดิ์ สมานวงศ์ นายกสมาคมอารักขาพืชไทย  กล่าวว่า ปัจจุบันผู้ผลิตสารเคมีพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ให้สอดคล้องกับภาคเกษตรสมัยใหม่ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการนำนวัตกรรม เทคโนโลยีมาใช้ ตามการเปลี่ยนไปของโลก และเพื่อลดการสูญเสียผลผลิตประมาณ 16-20 % ต่อไร่

“ แม้สารเคมีทางการเกษตรจะเป็นผู้ร้ายในสังคม แต่เป็นพระเอกของเกษตรกร เนื่องจากการใช้สารเคมีที่ถูกต้องจะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า ในอดีตที่ผ่านมาเป้าหมายการผลิตสารเคมีทางการเกษตรจะเพื่อความเพียงพอของอาหาร แต่ปัจจุบันจะเพิ่มความปลอดภัยเข้าไปด้วย ซึ่งจะเห็นได้จากหลายผลิตภัณฑ์ที่สารเคมีจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  ”