ตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง สู่ตลาดแรงงาน ยุคใหม่

ตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง    สู่ตลาดแรงงาน ยุคใหม่

ข้อมูลจากรายงาน Future of Jobs Report 2023 ระบุว่า การเปลี่ยนผ่านที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทาน และความคาดหวังของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ล้วนสร้างความต้องการงานใหม่ทั่วทั้งอุตสาหกรรม และภูมิภาค อย่างไรก็ตาม

 แรงผลักดันเชิงบวกเหล่านี้ถูกชดเชยด้วยความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น และวิกฤติค่าครองชีพ  

จากการสำรวจอนาคตการจ้างงานช่วงปลายปี 2565 และต้นปี 2566 เป็นการรวบรวมมุมมองของบริษัท 803 แห่ง ซึ่งมีพนักงานรวมกันมากกว่า 11.3 ล้านคน กลุ่มอุตสาหกรรม 27 กลุ่ม และ 45 กลุ่มเศรษฐกิจจากทุกภูมิภาคทั่วโลก การสำรวจครอบคลุมคำถามเกี่ยวกับแนวโน้มระดับมหภาค และแนวโน้มเทคโนโลยี ผลกระทบต่องาน ผลกระทบต่อทักษะ และกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงด้านแรงงานที่ธุรกิจต่างๆ

     รวมถึงคาดการณ์ผลกระทบต่อแนวโน้มระดับมหภาคเกี่ยวกับการจ้างงานภายในองค์กร แสดงให้เห็นว่านายจ้างคาดหวังว่าดิสรัปชั่นจะส่งผลเชิงบวกต่อการจ้างงาน ทั้งแง่การเติบโตเชิงปริมาณ และคุณภาพ โดยมีแนวโน้มการลงทุนที่เพิ่มสัดส่วนการให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสนับสนุน รวมถึงความพยายามยกระดับมาตรการตามหลัก ESG  :Environment Social Governance ด้วย

อย่างไรก็ตาม การดิสรัปชั่นที่เกิดขึ้นนี้ มีทั้งส่วนงานที่จะหายไป และงานที่เกิดขึ้นใหม่ซึ่งจะมีการชดเชยในทิศทางที่เป็นผลดีมากกว่า 

ตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง    สู่ตลาดแรงงาน ยุคใหม่

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์